การทำวิจัย

เทคนิคการทำวิจัย

เทคนิคการทำวิจัย แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิจัย เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิจัย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จและคุณภาพของงานวิจัย เนื่องจากเป็นการวางแผนหรือกลยุทธ์การทำวิจัย ที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับกระบวนการทำวิจัย  7เทคนิคการทำวิจัย เทคนิคการทำวิจัยทั้ง 7 ข้อ ไม่ได้เรียงลำดับตาม กระบวนการทำวิจัย แต่เป็น องค์ประกอบที่สำคัญของการทำวิจัยปริญญาเอก การเลือกชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ การเลือกหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่องวิจัยปริญญาเอก ชื่อเรื่องดุษฎีนิพนธ์ ควรกำหนดหัวข้อวิจัยในสาขาหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ศึกษา ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับฐานข้อมูลปริญญาเอก หรือฐานข้อมูลงานวิจัยที่ใช้ การใช้เทคนิคการทำวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Approach) การเลือกใช้แบบจำลองทางสถิติหรือเศรษฐมิติที่มีความซับซ้อนหรือเป็นการวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูง ยึดหลักอิทธิบาท4 กัดไม่ปล่อย  รายงานความคืบหน้า หรือเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ เทคนิค การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ และ จำเป็นที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1.การเลือกชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อวิจัย ควรเป็นเรื่องที่ทันสมัย และ น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบหรือก่อให้เกิดวิกฤติ ความเสียหายมหาศาล ทั้งต่อวิถีชีวิตตามปกติ ครอบครัว สถานศึกษา สังคม […]

เทคนิคการทำวิจัย Read More »

ทำไมต้องทำวิจัย

เหตุผล ความจำเป็น ทำไมต้องทำวิจัย การทำวิจัย คืออะไร ? ก่อนที่เราจะไปที่คำถามว่า ทำไมต้องทำวิจัย ? ควรต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การทำวิจัยคือกระบวนการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบโดยมีระบบระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและเที่ยงตรง ซึ่งปัญหานำวิจัยที่นำมาศึกษาหาคำตอบ จะต้องมีประโยชน์ต่องานทางด้านวิชาการ ทั้งนี้ การทำวิจัยโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น วิจัยของหน่วยงาน วิจัยในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ รายงานการวิจัยของหน่วยงาน เป็นต้น ทุกประเภทมีพื้นฐานการทำวิจัยที่เหมือนกัน อาจจะต่างกันตรงที่ขอบเขตการวิจัย หรือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ การวิจัย VS การทดลอง การวิจัย ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดลอง แต่หารทดลอง เป็นประเภทหนึ่งของการทำวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนทางวิทยาศาสตร์แบบหนึ่ง ใช้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ เพื่อศึกษาว่าเงื่อนไขหรือสถานการณ์นั้นๆ เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงตัวแปรดังกล่าวหรือไม่ โดยใช้วิธีการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างที่กิดขึ้น การทำวิจัย เริ่มต้นอย่างไร? นักศึกษาที่ต้องทำวิจัย หรือนักวิจัย ควรจะเริ่มต้นจาก การคิดหาปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ เรียกว่า “ปัญหานำวิจัย” ซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจและถนัด เพราะอาจจะต้องอยู่กับงานวิจัยนั้นๆ หลายเดือนหรือหลายปี แต่ถ้าไม่สามารถตั้งปัญหานำวิจัยได้ อาจจะใช้วิธีค้นคว้าจากเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ซึ่งจะทำให้รู้ถึงช่องว่างที่สามารถจะทำวิจัยได้ หรืออาจได้ไอเดียใหม่ๆ มาเป็นหัวข้องานวิจัยได้

ทำไมต้องทำวิจัย Read More »

สถิติกับงานวิจัย

ความสำคัญของสถิติกับการทำวิจัย  สถิติกับวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์  สถิติกับงานวิจัย  สถิติ หรือ สถิติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำวิจัยในทุกสาขา  รวมไปถึงเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับ การทำวิทยานิพนธ์  การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ตลอดจน การทำสารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ ทุกสาขาด้วยเช่นกัน สถิติ เป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่ง สำหรับ การทำวิจัย   กล่าวได้ว่า สถิติกับงานวิจัย เป็นของคู่กัน แม้ว่าสถิติจะยุ่งยาก สับสน หรือมีความซับซ้อน เพียงใด แต่เพื่อให้งานวิจัยที่ทำเกิดความถูกต้อง เที่ยงตรง เชื่อถือได้และยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับงานวิจัยนั้น นักวิจัย นักศึกษาที่ทำ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ จึงต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจ สถิติกับงานวิจัย อย่างถูกต้อง จึงจะทำให้งานวิจัยถูกต้อง น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ สถิติ หรือ สถิติศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญ   สถิติกับงานวิจัย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำวิจัยทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเลข หรือข้อมูล  ตั้งแต่การดำเนินชีวิตไปจนถึงการปฏิบัติงาน ดังนั้นหลักการและขั้นตอนการดำเนินงานทางด้านสถิติ จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน   รวมไปถึงแขนงสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น บริหารธุรกิจ  วิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ 

สถิติกับงานวิจัย Read More »

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิทยาินพนธ์ การทำวิจัยปริญญาโท และผลงานวิชาการ ให้สำเร็จทันเวลา การทำเอกสารทางวิชาการมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท  เป็นไปตามรูปแบบและลักษณะของการจัดแบ่งผลงานทางวิชาการของแต่ละแห่ง  แต่หากทำการแบ่งประเภทของการเขียนผลงานวิชาการ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์  รายงาน และ บทความเอกสารทางวิชาการ ซึ่งแต่ละประเภท จะมี เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์  เคล็ดลับการทำวิจัย ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบางประการ “การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์  ผู้ทำงานจะต้องทราบว่าเรากำลังทำงานในสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ตรวจงาน/กรรมการ มองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์งานชิ้นนั้น” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่สามารถระบุ “แก่นแท้” ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ผู้ทำ จะต้องตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำวิทยานิพนธ์  การทำดุษฎีนิพนธ์ รวมไปถึง การทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักการดังกล่าวนี้เช่นกัน  นั่นคือ  เราต้องแสดงด้วยการเขียนหรือทำงานวิจัยทั้งฉบับนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นั้นๆ อย่างแท้จริง  ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ  และได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท และกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

เทคนิคการจ้างทำวิจัย

บริหารรับทำวิจัย  ให้คำปรึกษาการทำวิจัย  การทำวิทยานิพนธ์  การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS  EVIEW  STATA  AMOS  LISREL  โดยนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญการทำวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อติดปัญหา  ทำวิจัย วิทยานิพนธ์  ดุษฎีนิพนธ์ ทั้งทำงานไม่ทัน  ฐานข้อมูลใช้ไม่เป็น  งานวิจัยภาษาอังกฤษต้องแปลเป็นไทย  นานาปัญหา ทำให้นักจำนวนหนึ่ง เริ่มคิดว่าอาจต้องมี การ  จ้างทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สำหรับเนื้อหาบางส่วนที่ติดขัด ต้องพิจารณาอะไรบ้าง เทคนิคการจ้างทำวิจัย ต้องพิจารณาปัจจัย อะไรบ้าง? บริการประเภท รับทำงานวิจัย จ้างทำวิจัย ทั้งวิจัยตลาด วิจัยองค์กร  หรือทีมที่รับทำวิทยานิพนธ์  มีลักษณะเหมือนสินค้าและบริการอื่นๆ คือ การมุ่งเน้นสร้างการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่่ดึงดูดลูกค้าและผู้ที่สนใจ สำหรับการ จ้างทำวิจัย หรือทีมรับทำงานวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ไม่เหมือนกับบริการทั่วไป  เราอยากนวดแผนไทย ทำกายภาพบำบัด ตัดผม เสริมสวย  ใช้บริการแล้วไม่ถูกใจ ไม่ดี ไม่ประทับใจ อย่างมากเราแค่ไม่กลับไปใช้อีกหรือ word of mouth

เทคนิคการจ้างทำวิจัย Read More »