เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก)
หลักเกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ผลงานวิจัยประเภทดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนักศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ย่อมมีความเข้มข้นของ เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่มีความเข้มงวดและม่งเน้นความเป็นเลิศของผลงานวิจัยที่สูงกว่า งานวิจัยระดับ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หรือในระดับมหาบัณฑิต ซึ่งสามารถสรุปเกณฑ์ในการพิจารณาผลงานดุษฎีนิพนธ์ ได้ดังนี้ เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มีดังต่อไปนี้ ระดับดีมาก (มีองค์ประกอบครบทั้ง4 ข้อดังนี้) 1. ผลงานวิจัยมีคุณภาพดี ให้ผลลัพธ์ ผลการศึกษา รวมไปถึงทฤษฎีที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือ เป็นผลงานวิจัยที่มีการบุกเบิกในทางวิชาการ ซึ่งมี นัยสำคัญเพียงพอที่สามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ เช่น ฐานข้อมูล Scopus/ISI หรือผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus/ISI ระดับ Q1/Q2 2. ผลงานวิจัยให้ผลสมบูรณ์และสามารถนำไปสู่หัวข้อวิจัยอื่นอีกได้ 3. เล่มดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่ผู้จัดทำนำมาประกอบการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ จะต้องมีการเขียนเรียบเรียง กลั่นกรองและมีการวิเคราะห์ในเชิงลึกจากความรู้ที่ผู้จัดทำ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาอย่างเข้มข้น รวมถึงสามารถใช้ภาษาเขียนในการนำเสนองานวิจัยของตนเองได้ดีมากโดยไม่มีการคัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น 4. ผู้จัดทำผลงานสามารถนำเสนองานวิจัยในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ได้อย่างน่าสนใจ ชัดเจน ถูกต้อง สามารถตอบข้อซักถามทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญของงานวิจัยและความรู้พื้นฐานได้อย่างถูกต้องครบถ้วน แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า […]
เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก) Read More »