การเขียนสมมติฐานการวิจัย

สมมติฐานการวิจัย  การเขียนสมมติฐานการวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัย สมมติฐานการวิจัย   หรือ การเขียนสมมติฐานการวิจัย เป็นการคาดคะเน คำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะต้องทดสอบว่าสมมติฐานนั้นเป็นจริงหรือไม่ การตั้งสมมติฐานจึงต้องตั้งในลักษณะที่สามารถทดสอบได้ สมมติฐานการวิจัยได้มาจากสภาพปัญหา ดังนั้นการเขียนสมมติฐานจึงต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และต้องเขียนเป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรให้ชัดเจน กล่าวคือ สมมติฐานการวิจัย จะมีการกำหนดตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องหรือยึดโยงกับตัวแปรต่างๆที่อยู่ หัวข้อวิจัย  ด้วย  ในกรณีที่หัวข้อวิจัยนั้นมีการระบุตัวแปรหรือคำหลัก (Keyword) ที่่ชัดเจนไว้ เช่น “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ (Organization Commitment) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะทำงานอยู่ในองค์กร”  ในที่นี้สมมติฐานจะเป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่าง “ความผูกพันต่อองค์การ” และ “ความต้งใจที่ะทำงานอยู่ในองค์กร” นั่นเอง การตั้งสมมติฐานในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการคาดคะเนหรือคาดเดาคำตอบของปัญหาการวิจัย การคาดเดาคำตอบมีประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการหาข้อมูล เพื่อตรวจสอบปัญหาการวิจัย เป็นการคาดเดา คำตอบอย่างมีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรตั้งสมมติฐานการวิจัยหลังจากที่ได้ศึกษาทฤษฎีเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง จนผู้วิจัยมีแนวความคิดเพียงพอที่จะคาดเดา โดย อาศัยเหตุผลเหล่านั้น ได้อย่างสมเหตุสมผล  กล่าวได้ว่า สมมติฐานในการวิจัยเป็นคำกล่าวที่ แสดงความถึงความสัมพันธ์ที่คาดการณ์หรือเดาระหว่างตัวแปรสองตัวขึ้นไป คำกล่าวนี้จะต้องแสดงทิศทางของความสัมพันธ์ว่าเป็นเช่นไรเช่นเป็นบวกหรือลบและเป็นคำกล่าวที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่ การเขียนสมมติฐานการวิจัย จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวและระบุตัวแปรให้ชัดเจน …

การเขียนสมมติฐานการวิจัย Read More »