ปัญหาการทำวิจัย

ปัญหาการทำวิจัย

ปัญหาการทำวิจัย  ปัญหาการทำวิจัย ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ จากประสบการณ์ในการเป็นผู้ช่วยและที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลอดระยะเวลา 15 ปี สามารถวิเคราะห์ ปัญหาการทำวิจัย ที่สำคัญและพบได้บ่อย มีหลายประเด็นดังนี้  1. การไล่เรียงที่มาและความสำคัญไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม และไม่นำไปสู่ความสำคัญและความจำเป็นในการทำวิจัยชิ้นนั้นๆ   2. หัวข้อวจัย หรือ ชื่อเรื่องการวิจัยไม่บ่งบอกถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือหาคำตอบ หรืออาจบอกไม่ครบถ้วน หรืออาจใช้ข้อความเยิ่นเย้อไม่กระชับ 3. วัตถุประสงค์การวิจัย ไม่ระบุหรือเชื่อมโยงกับหัวข้อวิจัย 4. สมมติฐานการวิจัยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์   5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวัตถุประสงค์การวิจัย  6. การสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดการวิจัย ไม่มีการเชื่อมโยงและอ้างถึงแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ถูกต้อง 7. การทบทวนวรรณกรรม (ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) น้อยเกินไป 8. การกำหนดประชากร (Population) และกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ไม่ถูกต้อง 9. การออกแบบเครื่องมือวิจัย เช่น แบบสอบถามสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ แบบสัมภาษณ์สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ไม่สอดคล้องกับการสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย 10. การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่เป็นไปตามหลักวิชาการทางสถิติ 11. การวิเคราะห์ข้อมูลไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย 12. การนำเสนอข้อมูลหรือผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา วัตถุประสงค์ และคำถามการวิจัย 13. การแปลผลและอ่านผลการวิจัยไม่ถูกต้อง  14. การอภิปรายผลการวิจัยไม่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ […]

ปัญหาการทำวิจัย Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์    1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น “ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….” หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท ……………………………………………………………………. สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น “การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….” หรือ “การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….” สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข Read More »