การใช้โปรแกรม SPSS

การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS

การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) ด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS การวิเคราะห์การถดถอย (Regression) เป็นวิธีการทางสถิติที่สำคัญประเภทหนึ่ง สามารถใช้สำหรับการตรวจสอบคุณลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent variable) และตัวแปรตาม (Dependent variable)  โดยผลจากการศึกษาจะให้นักวิจัยทราบถึง (1) ขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ ที่มีต่อตัวแปรตาม และ (2) แบบจําลองความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์การถดถอย มักเรียกตัวแปรอิสระว่า ตัวทํานาย (predictor) หรือตัวแปรกระตุ้น (stimulus variable) ส่วนตัวแปรตาม มักเรียกว่า ตัวแปรตอบสนอง (response variable) หรือตัวแปรเกณฑ์(criterion variable)  ซึ่ง การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถวิเคราะห์ได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปเขียนผลการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว การใช้โปรแกรมSPSS สำหรับการวิเคราะห์การถดถอย  มีขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1.นำเข้าข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ โดยทั่วไปนักวิจัยจะมีการจัดเรียง/จัดเก็บข้อมูลในโปรแกรม Excel ดังตัวอย่าง จากข้อมูลตัวอย่าง จะมีการกำหนดตัวแปรอิสระ คือ X1 จนถึง X10 และตัวแปรตามคือ […]

การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS Read More »

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ด้วยโปรแกรม SPSS

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยSPSS หลักการสำคัญ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยSPSS การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หรือ One-Way Anova  เป็นสถิติที่ใช้กันค่อนข้างมากและแพร่หลาย สามารถพบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวได้ทั้งงานวิจัยสังคมศาสตร์ การวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ วิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น  ดังนั้น นักวิจัยควรทำความเข้าใจหรือศึกษาเกี่ยวกับวิธีการ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยSPSS เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่อยู่ในงานวิจัยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยทั่วไปหากนักวิจัยต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่ม  จะใช้การทดสอบสมมติฐานแบบที (t-test) แต่ถ้าหากกลุ่มประชากรของเรามีมากกว่า 2 กลุ่มละ เช่น 3 หรือ 4 กลุ่มเราต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย  หรือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเรียกว่า เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance) ซึ่งในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีตัวแปรเดียว จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ซึ่งก็มีข้อตกลงเบื้องต้นว่า แต่ละกลุ่มมีการแจกแจงปกติ ความแปรปรวนของแต่ละประชากรเท่ากัน การทดสอบข้อ 1 นั้นเราก็ใช้การทดสอบคล้ายกับการทดสอบแบบที นั่นคือใช้ การทดสอบของโคลโมโกรอฟ-สมินนอฟ และ ซาปิโร-วิลค์ ส่วนการทดสอบข้อ 2 ว่าความแปรปรวนของแต่ละข้อมูลเท่ากันหรือไม่ เราจะใช้สถิติทดสอบคือ homogeneity of variance test

การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ด้วยโปรแกรม SPSS Read More »