การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมEVIEW

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS การทำวิจัยทุกประเภท จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือสำคัญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการทำวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่นักวิจัยต้องมีตัวช่วย นั่นคือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งปัจจุบัน มีหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรมSPSS โปรแกรม STATA  EVIEW  AMOS และ LISREL  อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS ถือได้ว่าเป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของนักวิจัย นิสิตนักศึกษาทั่วโลก   SPSS คืออะไร SPSS  ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Science คือ โปรแกรมที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติให้ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ หรือกราฟต่างๆ สามารถบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูลตามความต้องการ ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ เรียกว่า เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ให้สามารถอ่านและทำความเข้าใจหรือนำไปต่อยอดได้ง่ายมากขึ้น การใช้โปรแกรม SPSS โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย หรือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จำเป็นที่ผู้ใช้หรือนักวิจัยจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสถิติ […]

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS Read More »

การใช้โปรแกรมEVIEW ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลอนุกรมเวลา

การใช้โปรแกรมEVIEW ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลอนุกรมเวลา แม้ว่าโปรแกรม EViews จะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series  Data) แต่นักวิจัยยังสามารถใช้ EViews สำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ไม่ใช่ลักษณะของข้อมูลอนุกรมเวลาได้เช่นกัน  โดยเฉพาะข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถาม และมีลักษณะการกำหนดคำตอบของข้อคำถามเป็นแบบ Rating Scale เช่น น้อยที่สุด(1) น้อย(2) ปานกลาง(3) มาก(4) และมากที่สุด(5)  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมEVIEW สามารถทำได้เช่นกัน การใช้โปรแกรม EViews สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบบ Rating Scale และมีการเชื่อมโยงกับปัจจัยหรือตัวแปรอื่นซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ ที่ใช้ในกรอบแนวคิดสำหรับ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านั้นได้ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองโพรบิตและโลจิต (Probit and Logit Model) ซึ่งทั้งสองแบบจำลองนี้จะต้องมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขสำคัญสำหรับการใช้โปรแกรม EViews ดังนี้ ตัวแปรตาม(Dependent  Variable) ต้องเป็น Binary Response ส่วนตัวแปรอิสระสามารถเป็น Dummy Variable หรือ Interval /Ratio Scale   ค่าคาดหวัง (ค่าเฉลี่ย)

การใช้โปรแกรมEVIEW ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลอนุกรมเวลา Read More »