การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS

แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS

การทำวิจัยทุกประเภท จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือสำคัญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการทำวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่นักวิจัยต้องมีตัวช่วย นั่นคือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งปัจจุบัน มีหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรมSPSS โปรแกรม STATA  EVIEW  AMOS และ LISREL  อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS ถือได้ว่าเป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของนักวิจัย นิสิตนักศึกษาทั่วโลก  

SPSS คืออะไร

SPSS  ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Science คือ โปรแกรมที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติให้ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ หรือกราฟต่างๆ สามารถบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูลตามความต้องการ ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ เรียกว่า เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ให้สามารถอ่านและทำความเข้าใจหรือนำไปต่อยอดได้ง่ายมากขึ้น

รับวิเคราะห์ข้อมูล SPSS
รับวิเคราะห์ข้อมูล SPSS  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS

การใช้โปรแกรม SPSS

โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย หรือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จำเป็นที่ผู้ใช้หรือนักวิจัยจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสถิติ เช่นเดียวกัน สำหรับการใช้งานโปรแกรม SPSS  ผู้ใช้หรือนักวิจัย จำเป็นต้องรู้การวิเคราะห์สถิติ   เนื่องการใช้โปรแกรมได้ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายสำหรับคนที่เข้าใจในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นอยู่แล้ว   ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลของโปรแกรม SPSS จะสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การวิเคราะห์ข้อมูลSPSS สำหรับสถิติขั้นพื้นฐาน หรือ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) 

โปรแกรม SPSS  ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทุกประเภท ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทั่วไป เช่น การจัดทำรายรับรายจ่ายของร้านอาหารหรือร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม การจัดทำบัญชี ค่าใช้จ่ายของบุคคล หรือของครัวเรือน รวมไปถึงของบริษัท องค์กรธุรกิจต่างๆ รวมไปถึง การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อสิ่งต่างๆ และการวิเคราะห์ทัศนคติ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การใช้โปรแกรม SPSS  ผู้ใช้ควรที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานด้านสถิติพอสมควร เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น  โดยการใช้งานโปรแกรม SPSS สามารถจัดการและนำเสนอข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ หรือการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะต่างๆ อย่างการสร้างแฟ้มข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสะดวกมากขึ้นได้ด้วย

2.การใช้โปรแกรมSPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

การใช้งานโปรแกรม SPSS  มีรูปแบบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ซึ่งโดยทั่วไปถือได้ว่า เป็นเรื่องที่นักวิจัยและนักวิชาการจำนวนมากปฏิเสธ เพราะมีรูปแบบของสูตร สัญลักษณ์และตัวแปรต่างๆ จำนวนมาก  อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลSPSS เป็นการนำเอาเทคนิคทางสถิติเข้ามาร่วมใช้ด้วย โดยมีทั้งการวิเคราะห์แบบเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าฐานนิยม ค่าแสดงตำแหน่งของข้อมูลอย่างควอไทล์ หรือการนำเสนอในรูปแบบกราฟ การแจกแจงความถี่ในรูปแบบของตาราง ฯลฯ ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติ เช่น การใช้ Factor Analysis, Discriminant Analysis เป็นต้น

3. การจัดการข้อมูล และผลลัพธ์

ความสามารถของการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS  นอกจาก จะมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ เชิงพรรณนา และ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแล้ว  โปรแกรม SPSS ยังมีความสามารถในการจัดเก็บหรือดำเนินการกับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ นอกจากการ copy paste หรือ delete แล้วยังสามารถเปลี่ยนรูปข้อมูล เลือกข้อมูล และส่งผลลัพธ์ที่ได้รับการดำเนินการแล้วไปอยู่ในรูปแบบ Text, รูปแบบ Graphic หรือรูปแบบ HTML ได้ด้วย

ความสามารถของโปรแกรม SPSS for Windows

        1. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล

ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นความสามารถที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติดังต่อไปนี้

1.1 การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้น (Descriptive Statistics) สามารถคำนวณค่าสถิติพื้นฐานทั่วไป เช่นค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode) พิสัย (Range) ความแปรปรวน (Variance) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ฯลฯ

1.2  การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) สามารถแจกแจงค่าของตัวแปรตามจำนวนที่นับได้ทั้งแบบทางเดียวและแบบหลายทาง (Crosstabs) พร้อมทั้งแสดงค่าสถิติที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) ฐานนิยม (Mode) พิสัย (Range) ความแปรปรวน (Variance) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentiles) กราฟแท่งหรือค่าสถิติที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบทางสถิติ เช่น Chi-Squares, Phi

1.3 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean Groups Comparison) สามารถเปรียบเทียบและทดสอบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่ม ตัวอย่างโดยค่าสถิติ t (Student’s t) และสำหรับหลายกลุ่มตัวอย่างโดยค่าสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ทั้งแบบทางเดียวและแบบหลายทาง

 1.4  การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Correlation) สามารถคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแบบต่างๆเช่น Pearson, Kendall, Spearman

1.5 การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) สามารถหาความสัมพันธ์เพื่อการพยากรณ์แบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression Analysis) ทั้งหมด 1 ตัวแปรอิสระและตัวแปรอิสระมากกว่า ตัว และสามารถดูรูปแบบความสัมพันธ์ ในลักษณะอื่นที่ไม่ใช่เส้นตรง เช่น Linear, Quadratic, Logarithmic ฯลฯ

1.6 การทดสอบแบบนอนพาราเมตริก (Nonparametric Text) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของนอนพาราเมตริกสำหรับการทดสอบแบบต่างๆ เช่น Sign Text, Wilcox on, Friedman, Kolmokorov-Smirnov ฯลฯ

1.7 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายคำตอบ (Multiple Response Analysis) สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่มีตัวเลือกมาให้และผู้ตอบสามารถตอบได้มากว่า คำตอบ

ความสามารถในการทำงานด้านอื่นๆ ของโปรแกรมSPSS

ในการใช้งานโปรแกรม SPSS นอกจากจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติแล้วผู้ใช้อาจจะมีการดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การสร้างตัวแปรเพิ่ม เรียงลำดับข้อมูล คัดเลือกข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

 1. การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูล (Data Transformation) โดยการเปลี่ยนคำใหม่ จัดค่าใหม่ หรือสร้างตัวแปรใหม่ด้วยฟังก์ชันพิเศษต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่มีในโปรแกรม SPSS

2. การจัดกลุ่มตัวแปร (Define Set of Variable) โดยการเลือกตัวแปรหรือจัดกลุ่มตัวแปรไว้เป็นชุดต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์เป็นชุดๆในภายหลัง

 3. การเลือกข้อมูล (Select Case) โดยการกำหนดเงื่อนไขต่างๆหรือการเลือกข้อมูลแบบสุ่มตัวอย่าง

4. การสร้างข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Create Time Series) โดยการสร้างข้อมูลที่เกิดขึ้นตามเวลา เช่น วัน เดือน ไตรมาศ ฯลฯ สำหรับการวิเคราะห์แบบอนุกรมเวลา

 5. การดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะอื่นๆโดยการเรียงลำดับข้อมูล การให้น้ำหนักหรือความสำคัญแก่ชุดข้อมูล การสลับที่ข้อมูลระหว่างแถวและคอลัมน์

 6. การจัดการกับข้อมูล โดยการรวมแฟ้มข้อมูลตั้งแต่ แฟ้ม เช่น รวมตัวแปร รวมชุดข้อมูล

รับทำ thesis
รับทำ thesis

อ้างอิง

  1. รับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยSPSS
  2. รับวิเคราะห์ข้อมูลโปรแกรมSPSS