Mendeley เครื่องมือวิจัยปริญญาเอก

เครื่องมือสำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก Mendeley

เครื่องมือหรืออาวุธลับที่สำคัญของการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ และการทำวิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์ ไม่ใช่มีแค่เพียงแหล่งหรือฐานข้อมูลงานวิจัยอ้างอิงที่สำคัญในต่างประเทศและในประเทศเท่านั้น Mendeley เป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพที่จะทำให้การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ และการทำดุษฎีนิพนธ์ ง่ายและสำเร็จได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น  :  Mendeley  เครื่องมือวิจัยปริญญาเอก

บ่อยครั้งที่ปัญหาเกิดขึ้นสำหรับการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์รวมมทั้งดุษฎีพนธ์ นอกเหนือจากปัญหาการสืบค้นและการเข้าถึงฐานข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการทำวิจัยแล้ว  ปัญหาหนึ่งที่ตามมาและเกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้วิจัยทำวิจัยด้วยความเร่งรีบและมีเวลาน้อยคือปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บ เรียบเรียงและการจัดทำรายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรมสำหรับการทำวิจัย

เนื่องจากมีการจัดเก็บไว้อย่างไม่เป็นระเบียบและระบบ ทำให้ต้องเสียเวลาในการจัดทำเนื้อหาส่วนนี้โดยไม่จำเป็น  ซึ่งหากมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ทำวิจัย สามารถจัดเก็บและเรียบเรียง รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรมไว้อย่างเป็นระบบ และ สามารถสืบค้นย้อนกลับเพื่อดูเนื้อหาต่างๆได้ด้วย ย่อมเป็นประโยชน์อย่างมากต่อกระบวนการทำวิจัยและผู้ทำวิจัย

เทคนิคการทำวิจัย การทำวิจัยปริญญาเอก เทคนิค การทำวิทยานิพนธ์ คู่มือการทำวิจัย เทคนิคการทำดุษฎีนิพนธ์
เทคนิคการทำวิจัย การทำวิจัยปริญญาเอก เทคนิค การทำวิทยานิพนธ์ คู่มือการทำวิจัย เทคนิคการทำดุษฎีนิพนธ์

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือหรือแอพพลิเคชั่นฟรีโดยเป็นการใช้งานออนไลน์จาก ELSEVIER ที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยส่เงสริมและสนับสนุนนักการทำวิจัยทุกรูปแบบ ทั้งวิจัยหน่วยงาน วิจัยองค์กร  การทำวิทยานิพนธ์และการทำดุษฎีนิพนธ์ในระดับปริญญาเอก  เป็นเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัยที่สำคัญ  และยังเป็นแอพพลิเคชั่นหรือเครื่องมือที่เปิดให้นักวิจัยและผู้สนใจใช้ได้ฟรีโอนไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยมีวิธีการใช้และดาวโหลด Mendeley  ดังนี้

1. การสมัครสมาชิกกับ Mendeley ไปที่ URL www.mendeley.com  คลิ๊ก Create a free account  ซึ่งในขั้นตอนการสมัครสมาชิกซึ่งเป็นขั้นตอนแรกนี้  ระบบจะมีการสอบถาม ข้อมูลส่วนของผู้ใช้ เหมือนการใช้แอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติอื่นๆทั่วไป   โดยให้เลือก สาขาวิชาที่สนใจในการทำวิจัย ซึ่งการระบุสาขาวิชาตรงส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะระบบ จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการคัดเลือกกลุ่มข้อมูล นักวิจัย บทความ ข่าวสาร ที่จะมาแสดงผลเสนอแนะให้เห็นในลำดับถัดไป

2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย เมื่อ Log in ผู้ใช้จะพบเครื่องมือที่มีไว้ช่วยทำงานวิจัย ดังนี้

2.1 Feed แถบเครื่องมือที่ไว้แสดงข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามา หรือข้อมูลที่มีในระบบ โดยระบบจะคัดกรอง แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับผู้ใช้ มานำเสนอให้ผู้ใช้ได้เห็น

2.2 Library เป็นแถบเครื่องมือสำหรับเพิ่มหรือเก็บสะสมไฟล์ เอกสาร บทความ งานวิจัย ฯลฯ พร้อมทั้งรวมรวบลิงค์ที่ใช้เชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่างๆ โดยระบบจะเก็บสะสมข้อมูลไว้ เสมือนว่า เป็นห้องสมุดส่วนบุคคล  ซึ่งผู้ใช้จะสามารถ เพิ่มไฟล์เอกสาร ที่ต้องการเก็บได้ ด้วยการใช้ปุ่มเพิ่มหรือ Add หรือ Drag & Drop  อีกทั้ง ยังสามารถเพิ่มไฟล์เอกสารเข้า My Library ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย รวดเร็ว ผ่าน เว็บ browser ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น ด้วยการติดตั้ง plug in  Mendeley Web Import ซึ่งเมื่อ ผู้ใช้งานทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏไดคอน Mendeley สีแดง ที่ มุมขวาบน browser เมื่อพบบทที่ความต้องการ ทำให้ผู้ใช้ สามารถคลิ๊กที่ปุ่มนี้เพียงครั้งเดียว ระบบจะทำการ add ไฟล์บทความ เข้า My Library ของผู้ใช้ให้อัตโนมัติ

2.3 Suggest เครือ่งมือนี้เป็นเครื่องมือที่ระบบมีไว้เพื่อเสนอแนะ ข้อมูล ข่าวสาร บทความ  ที่ทำให้นักจิจัย สามารถใช้งานได้ตามความเหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน   โดยมีการจัดกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้เคียงกันในด้านความสนใจและเนื้อหางานวิจัย

2.4 Group แถบเครื่องมือนี้เป็นแถบเครื่องมือที่เชื่อมโยงนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกในเครือข่าย Mendeley เข้าหากัน โดยระบบจะคัดสรรกลุ่มให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

2.5 Datasets แถบเครื่องมือที่รวบรวม datasets จากนักวิจัย และ แหล่งฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นแหล่งหรือฐานข้อมูลที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์จำนวนมากและมีหลากหลายรูปแบบ มาให้ผู้ใช้เลือกใช้ในการทำวิจัย หรือต่อยอดงานวิจัย

2.6 Careers แถบเครื่องมือที่รวบรวม ตำแหน่งงาน จากทั่วโลก มาจัดกลุ่ม ตามสายอาชีพ และ สามารถสืบค้นได้ตาม กลุ่มงาน ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน ตามที่ผู้ใช้สนใจ

2.7 Funding แถบเครื่องมือที่รวบรวมแหล่งเงินทุนจากองค์กรและสถาบันชั้นนำทั่วโลก มาให้นักวิจัยได้ค้นหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับงานวิจัยที่ทำอยู่ ซึ่งสามารถ สืบค้นในลักษณะ cross data กันได้หลายค่า เช่น ประเภทของทุน หน่วยงานที่ให้เงิน จำนวนเงิน ระยะเวลา ประเทศ

3. การสืบค้นเอกสารในเครือข่าย Mendeley เมื่อคลิ๊ก ที่แถบเครื่องมือ Search ที่มีไว้สำหรับค้นหาไฟล์เอกสาร บทความ งานวิจัย ที่มีผู้ใช้เก็บเข้ามาไว้บนเครือข่าย Mendeley โดย สามารถ สืบค้นข้อมูลได้จากสามกลุ่ม คือ Paper, People, Groups

เมื่อเลื่อนลงมาด้านล่างสุดของเอกสาร จะพบเครื่องมือที่ช่วยสร้าง citation style หลายรูปแบบซึ่งที่เป็นที่นิยม ไว้ให้ผู้ใช้เลือกตามต้องการ ทั้งนี้ ผลลัพธ์รูปแบบ citation ที่ได้นั้น  ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ ของข้อมูลที่ระบุไว้ในแต่ละ paper ที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลต้นทาง

นอกจากนี้  Mendeley ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำวิจัยกลุ่ม  หรือ งานวิจัยที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน มากกว่า 2 คนขึ้นไป มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เนื่องจาก นักวิจัยแต่ละคนในทีม  จะสามารถสืบค้น ย้อนกลับ เพื่อหาว่าการเขียนงานแต่ละย่อหน้า แต่ละบท มีงานวิจัยอ้างอิงหรือไม่ อย่างไร สามารถย้อนไปหางานวิจัยดังกล่าว รวมทั้ง แนวคิด ทฤษฎี บทความวิจัย รายงานการวิจัย และข้อมูลทุกประเภท ที่มีการจัดเก็บ ไว้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ใน Mendeley

จากประโยชน์มากมายดังกล่าวข้างต้น  นักวิจัย ควรเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจ  เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นนี้   โดยจะสามารถ ช่วยทำให้การทำวิจัย มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นแน่นอน และการใช้งานไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถใช้งานได้ง่าย ไม่มีปัญหาและอุปสรรคแต่อย่างใด

Mendeley  เครื่องมือวิจัยปริญญาเอก
Mendeley  เครื่องมือวิจัยปริญญาเอก

Mendeley  ถือได้ว่า  เป็นเครื่องมือ ที่สำคัญ และมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำวิจัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์

เนื่องจากงานวิจัยปริญญาเอกเป็นงานวิจัยที่ต้องอาศัยความเพียรพยายาม  อาศัยระยะเวลา  ต้องมีการจัดลำดับ เรียบเรียง ข้อมูล งานวิจัย งานอ้างอิง แนวคิด ทฤษฎี โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ จัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ  สามารถสืบค้นย้อนกลับได้ง่าย ทำให้ไม่เกิดความจับจด และสับสน สำหรับนักวิจัย

นอกจากนี้  เครื่องมือนี้  ยังสามารถใช้ได้กับการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์  การทำรายงาน  การทำค้นคว้าอิสระ การทำปัญหาพิเศษ  ทุกประเภท ทุกระดับ  เพราะการใช้เครื่องมือนี้  จะช่วยทำให้การทำวิจัยมีระบบ และ ระเบียบมากยิ่งขึ้น  สามารถช่วยลดเวลาการทำวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ