การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ การทำค้นคว้าอิสระ หรือการทำปัญหาพิเศษ ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเชิงลึกขององค์กร ด้วยวิธี Root Cause Analysis
เทคนิคการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กร หรือ ประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคืที่เรียกว่า “Root Cause analysis” หรือเรียกย่อๆว่า RCA การทำวิจัยเกี่ยวกับผลการดำเนินงานบริษัท
การทำวิจัยเกี่ยวกับผลการดำเนินงานบริษัท ด้วยเทคนิค Root Cause Analysis นี้ บางครั้งในวงการวิจัยมักจะเรียกว่า ” แผนภูมิก้างปลา” เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา เทคนิคนี้ถือได้ว่าเป็นแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานขององค์กรและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ประสิทธิภาพองค์กร ได้เป็นอย่างดี สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็กและขนาดใหญ่ องค์กรภาครัฐและองค์กรธุรกิจ รวมทั้ง สามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ เช่น WHY WHY analysis หรือ 5 WHY เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ที่มีความละเอียด ลึกซึ้ง และครบถ้วนมากยิ่งขึ้นได้ด้วย
การทำวิจัยเกี่ยวกับผลการดำเนินงานบริษัท ด้วย Root –Cause Analysis ที่สำคัญคือ
- ช่วยให้สามารถมองเห็นปัญหา ได้ทั้งแนวดิ่ง และ แนวราบ ทำให้ได้ ข้อสรุป หรือ ผลการวิเคราะห์ ที่ครบถ้วนรและหลากหลาย โดยเฉพาะ หากมีการระดมสมอง จากบุคคลที่เกี่ยวข้องในฝ่ายต่างๆ จำนวนมากจะยิ่งทำให้สามารถนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรได้มากยิ่งขึ้น
- การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Root –Cause Analysis แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ และความสำคัญที่เกี่ยวข้องของสาเหตุเหล่านั้น
- เป็นเทคนิคที่เริ่มต้นการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีพลัง เนื่องจากทำให้ผู้แก้ปัญหาเน้นไปที่ปัญหาก่อน
- ช่วยให้การคิดแก้ไขปัญหาได้เป็นระบบมากขึ้น เนื่องจากเห็นปัญหาชัดเจน
- เครื่องมือนี้ใช้ในการระบุ แจกแจง แยกแยะ สาเหตุของปัญหา ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว หรือ อาจจะกำลังจะเกิดขึ้น เป็นเทคนิคที่อ.เก๋ มักจะแนะนำว่า ควรจะระดมสมองเป็นกลุ่มๆ ไม่ต้องกลุ่มใหญ่มาก สัก 4-6 คน จะทำให้ได้ไอเดีย และมองเห็นปัญหาได้รอบด้าน และหลากหลายมุมมากกว่า
การทำวิจัยด้วยการใช้เทคนิค Root –Cause Analysis สามารถทำได้ทั้งการทำงานวิจัยด้านการบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์อื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น ไม่จำกัดอยู่เฉพาะงานวิจัยสายบริหารธุรกิจ และเป็นเทคนิคที่สามารถให้ข้อสรุปหรือผลการวิจัยที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและวิธีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการทำวิจัยในรูปแบบเดิมๆ
ตัวอย่างงานวิจัยระดับวิทยานิพนธ์และงานวิจัยองค์กรของรัฐที่เกี่ยวกับ Root-Cause Analysis ซึ่งผู้ทำวิจัยและกำลังทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ สามารถดูแนวทางการทำวิจัยและทำวิทยานิพนธ์จากงานวิจัยตัวอย่างเหล่านี้ซึ่งมีการนำเทคนิค Root –Cause Analysis มาใช้ในการทำงานวิจัย และมีการตีพิมพ์ในมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศของไทย
1.การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านห่วงโซ่อุปทานของโรงงานบรรจุผลิตภัณฑ์พลาสติก
2. การวิเคราะห์หาสาเหตุของการประสบอันตรายขั้นหยุดงานเกิน 3 วัน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์
ตนไมแหงความลมเหลว: กรณีศึกษา 17 โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ
3.การปรับปรุงการปฏิบัติงานบริษัทกรณีศึกษาการรับเข้าและจ่ายออกบริเวณคลังสินค้า
4.การลดความสุญเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยางรถยนต์แผนกดันยาง
5. การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
ปัจจุบัน การทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์ ที่ใช้เทคนิค Root-Cause Analysis ถือได้ว่า ยังมีจำนวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับ แนวทาง การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน หรือ ประสิทธิผลองค์กร ซึ่งเกี่ยวกับ หัวข้อวิจัยเหล่านี้ ส่วนใหญ่ ยังมุ่งเน้นการวิเคระาห์ในรูปแบบของการใช้เทคนิคการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่เป็นแบบปลายปิด หรือ เทคนิคการวิเคราะห์ สถานการณ์ภายนอก และ ภายใน (SWOT) TOWS MATRIX ไปจนถึง FIVE FORCE ANALYSIS ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ ส่วนใหญ่ ใช้สำหรับ การวิเคราะห์ ผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจเอกชน มากกว่า องค์กรของรัฐ อย่างไรก็ตาม สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ ใช้ร่วมกันกับเทคนิค การวิเคราะห์แบบ Root – Cause Analysis ได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้ผลการวิจัยที่ได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ ครอบคลุมประเด็น ปลีกย่อยต่างๆได้ละเอียดลึกซึ้่งมากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ด้วยวิธี Root-Cause Analysis สามารถทำได้ทั้งในการทำวิจัย สายบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์กลยุทธ์และการจัดการ เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์โครงการ เศรษฐศาสตร์การเงิน รัฐศาสตร์ รัฐประสาสนศาสตร์ การจัดการภาครัฐ การจัดการภาคเอกชน หรือแม้แต่ สายงานวิจัย เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา การบริหารองค์กรทุกประเภท สามารถนำแนวคิด เทคนิค วิธีการ หลักเกณฑ์ หลักการ เกี่ยวกับ Root-Cause Analysis ใช้สำหรับการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน องค์กรที่สนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ