เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้ได้รับการตีพิมพ์วารสารวิชาการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
การเขียนบทความวิจัย เทคนิคการเขียนบทความวิจัย
สำหรับ การเขียนบทความ / การเขียนบทความวิจัย เป็นการทำงานวิชาการประเภทหนึ่ง และทวีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ นักวิชาการหรือนักวิจัยที่มีบทความที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยที่ได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น ISI และ SCOPUS จะทำให้มีโอกาสเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งทางวิชาการได้ไม่ยากนัก
การเขียนบทความวิจัย ถือได้ว่าเป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียวกับ การเขียนรายงานการวิจัย หรือ Research Report ซึ่งอาจมีความแตกต่างจาก การเขียนรายงานวิจัย ที่เด่นชัดคือความกระชับ แต่มีรูปแบบและเนื้อหาสาระของการนำเสนอที่ไม่แตกต่างกัน โดยส่วนที่แตกต่างกันสำคัญมี หลายประเด็นคือ บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่นักวิจัย เขียนขึ้นในรูปแบบของบทความวิชาการ เพื่อนำเสนอข้อค้นพบ หรือ หลักฐานะชิงประจักษ์
รวมไปถึงการนำเสนอนวัตกรรมที่จัดว่าเป็นผลงานได้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ ตลอดจนการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ หรือ conference ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวารสารวิจัยมีข้อจำกัดในด้านปริมาณของเนื้อหา หรือ ข้อจำกัดด้านจำนวนหน้า นอกจากนี้ในที่ประชุมมักจะมีเวลาที่จำกัด บทความวิจัยจึงต้องมีการบริหารเนื้อหาในการนำเสนอ หรือมีจำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัยนั่นเอง
การตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการ
การตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มีการรวบรวมจากคู่มือการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญมาก ดังต่อไปนี้
1.ควรเลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย ตลอดจนควรค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของผู้วิจัยที่จะติดต่อขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียนบทความ รวมถึงการจัดรูปแบบของการนำเสนอเนื้อหา เช่น รูปภาพ กราฟ ตารางต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ดังกล่าวจะสามารถได้รับการพิจารณาตอบรับของวารสารนั้นๆ
2. ควรเลือกวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ เจ้าของบทความวิจัย สามารถพิจารณาได้จากองค์กร ตลอดจนถึงสถาบันที่เป็นผู้จัดทำวารสารนั้นๆ สำหรับกรณีที่ต้องการนำบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ผู้สนใจตีพิมพ์สามารถตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากฐานข้อมูลของ สกอ. ดังต่อไปนี้
2.1 วารสารระดับนานาชาติ
2.1.1 ตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการระดับชาติ ได้จากฐานข้อมูล TCI สามารถค้นจาก www.kmutt.ac.th/jif/public_html/search.html
2.2.2 ควรตรวจสอบค่า Impact Factor และการตรวจสอบ ranking วารสารตามสาขา คลิกที่ Thai Journal Impact Factors
2.2 วารสารวิชาการระดับนานาชาติ
1) การตรวจสอบรายชื่อวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
ก. การตรวจสอบชื่อวารสารวิชาการ(Journal) สายสังคมศาสตร์ (Social Science) จากฐานข้อมูล SJR SCImago Journal & Country Rank
เมื่อต้องการสืบค้นจากฐานข้อมูล SJR www.scimagojr.com ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานข้อมูล Scopus
ข. การตรวจสอบวารสารวิชาการสายวิทยาศาสตร์ ในฐานข้อมูล Scopus ฐานข้อมูล Scopus ส่วนใหญ่จะเป็นวารสารสายวิทยาศาสตร์ มีการจัดแบ่ง
หมวดวิชาออกเป็น 4 หมวด คือ Life Sciences, Physical Sciences, Health Sciences, and Social Sciences & Humanities ซึ่งแบ่งเป็นหมวดย่อยๆ
อีก 27 วิชาหลัก และมากกว่า 300 วิชารอง สำหรับสังคมศาสตร์ ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.elsevier.com/subjects/social-sciences/title/s
เมื่อเข้าไปในหมวดวิชาแล้วจะพบรายชื่อหนังสือและวารสารด้านสังคมศาสตร์ เรียงตามลำดับตัวอักษร A-Z
ค. การตรวจสอบวารสารวิชาการในฐานข้อมูลของ Thompson Reuters ซึ่งเป็น Web of Science ของ Thompson Reuters สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ จะพบข้อความ Master of Journal list บนหน้าเว็บด้านล่างจะพบข้อความ Journal lists for Researchable Databases ระบุฐานข้อมูลต่างๆ ที่เข้าไปสืบค้นรายชื่อวารสารวิชาการ เช่น Arts & Humanities Citation Index, Social Sciences Citation Index, Current Contents/Social & Behavior Science ฯลฯ
3. ควรเลือกวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง การพิจารณาคุณภาพของวารสาร สามารถพิจารณาได้จากดัชนีอ้างอิงของวารสารว่าอยู่ในฐานข้อมูลใด ซึ่งฐานข้อมูลที่นิยมในปัจจุบันคือ ฐานข้อมูลที่มีการคิดค่าดัชนีอ้างอิง (Impact Factor) หรือ Journal Impact Factor (JIF)ค่า Impact Factor ซึ่งเป็นดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร วัดจากจำวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารวิชาการนั้นได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี ข้อมูลของไทยคือดัชนีอ้างอิง Thailand Citation Index (TCI) ซึ่งดูแลโดยศูนย์อ้างอิงดัชนีวารสารไทย สำหรับฐานข้อมูลของต่างประเทศ ได้แก่ ดัชนีอ้างอิง SCImago ซึ่งอยู่ใน
ฐานข้อมูลของ Scopus ของบริษัท Elsevier และต้นตำรับคือดัชนีอ้างอิง ISI ซึ่งเป็นของบริษัทใหญ่ผู้ให้บริการด้านข้อมูล คือ Thomson Reuters การตรวจสอบค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.uk.sagepub.com/isiranking/default.sp
นอกจากนี้ บทความวิจัยเป็นเอกสารที่ถือได้ว่าต้องมีความเป็นปัจจุบันและมีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อยุคสมัย มากกว่ารายงานการวิจัย ทั้งนี้ เนื่องจากในระหว่างการดำเนินการวิจัยนั้น นักวิจัยสามารถตัดทอนผลการวิจัยนำร่อง หรือผลงานวิจัยบางส่วนนำเสนอในรูปแบบของบทความที่นักวิจัยนำเสนอ ก่อนการรายงานการวิจัยได้ รวมไปถึงเป็นสารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย ที่มักต้องเผยแพร่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัยแล้วเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว คุณภาพของบทความวิจัย ค่อนข้างเป็นมาตรฐานมากกว่า รายงานการวิจัยโดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะ ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระและรูปแบบให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสารหรือคณะกรรมการจัดประชุมสำหรับเนื้อหาความรู้ที่นำมาเขียนบทความวิจัย จะมีรูปแบบ ของการเขียนบทความอยู่ 2 รูปแบบคือ บทความที่เขียนขึ้น ก่อนเริ่มต้นการทำวิจัย หรือ ยังอยู่ระหว่างการทำวิจัย บทความที่เขียนขึ้น หลังจากทำวิจัยเสร็จแล้ว การตีพิมพ์บทความวิชาการ จะต้องคัดเลือกวารสารที่เหมาะสมเรื่องและสาขาวิชาที่วารสารนั้นถนัดเป็นสำคัญ
ส่วนประกอบสำคัญหรือ ส่วนประกอบหลัก ของบทความวิจัย ประกอบด้วย
การเขียนบทความวิจัย โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลักสำคัญดังต่อไปนี้
– ชื่อเรื่อง
– ชื่อผู้แต่ง
– บทคัดย่อ (abstract) ประกอบด้วย บทคัดย่อ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
– คำสำคัญ
– บทนำ หรือ กล่าวนำ (introduction)
– วิธีการศึกษา หรือ Methodology
– ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
– อภิปรายผล
– บทสรุป และข้อเสนอแนะ (conclusion)
– ส่วนอ้างอิง / ภาคผนวก Bibliography References / Appendix
1. บทคัดย่อ เป็นเนื้อหาสาระส่วนที่นำเสนอ วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย รวมไปถึง ผลการวิจัย
โดยสรุป (รวมทั้งข้อเสนอแนะในการวิจัย) เพื่อให้ผู้อ่านบทความ ได้เห็นภาพรวมงานวิจัยทั้งฉบับ และเป็นข้อความที่มีคำสำคัญทั้งหมดในบทความวิจัย และ เป็นข้อความสั้น กะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ มักมีการกำหนดความยาว
ของบทคัดย่อ (ภาษาไทยมักกำหนดเป็นจำนวนบรรทัด ขณะที่ภาษาอังกฤษมักกำหนดเป็นจำนวนคำและมักกำหนดให้มีคำสำคัญ (Keywords) ไว้ด้วยเช่นกัน
2. ส่วนนำ ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
2.1 ส่วนแรก เป็นการบรรยาย ให้ผู้อ่านได้ทราบว่า บทความวิจัยนี้พัฒนามาจาก ผลงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้ อย่างไรบ้าง และนำมาสปัญหาวิจัยอย่างไร (ความเป็นมาและความสำคัญ ของปัญหาการวิจัย)
2.2 ส่วนที่สอง กล่าวถึง ปัญหาวิจัย และ วัตถุประสงค์การวิจัย
2.3 ส่วนที่สาม คือ รายงานเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง กับการวิจัยเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎี และ งานวิจัยที่สำคัญที่นำไปสู่การสร้าง กรอบแนวคิดสำหรับการวิจัย หรือ Conceptual Framework รวมทั้ง สมมติฐานการวิจัยด้วย
2.4 ส่วนที่สี่ เป็นรายงาน ระบุเหตุผล พร้อมเอกสารอ้างอิงในการเลือก วิธีดำเนินการวิจัยที่ใช้ในบทความวิจัยนี้เพื่อเตรียมผู้อ่าน ให้สามารถเชื่อมโยงความคิดกับ เนื้อหาสาระในส่วนต่อไป
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือส่วนสำหรับบรรยายว่าจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้ง การตีความ มีการนำเสนอ ตาราง และ รูปภาพประกอบเท่าที่จำเป็น ซึ่ง ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญในตาราง หรือ ภาพประกอบต้องมีการบรรยาย สำหรับส่วนที่เป็นข้อความด้วย ไม่ใช่แค่การนำเสนอตาราง หรือนำเสนอรูปภาพ โดยไม่มีคำอธิบาย
4. การอภิปราย/การสรุปผล เป็นการบรรยายสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย ประกอบการอธิบายว่า ข้อค้นพบมีความขัดแย้ง/สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยและผลงานวิจัยในอดีตอย่างไร พร้อมทั้ง เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น
5. ข้อจำกัด/ข้อบกพร่อง ข้อดีเด่น ซึ่ง สามารถนำไปสู่ ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติและ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป
6. ส่วนอ้างอิง/ภาคผนวก ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วยบรรณานุกรม และเชิงอรรถ ส่วนที่เป็นภาคผนวก ส่วนที่ผู้วิจัยน าเสนอสาระที่ผู้อ่านควรได้รับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นำเสนอในบทความ เช่น ตัวอย่างเครื่องมือวิจัย เป็นต้น
รับเขียนบทความวิจัย รับส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ รับตีพิมพ์บทความ วารสารวิชาการในประเทศและต่างประเทศทุกสาขา
อ้างอิง