หัหัวข้อวิจัยกฎหมาย

หัวข้อวิจัยกฎหมาย

ตัวอย่าง หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย  หัวข้อวิจัยกฎหมาย ระดับปริญญาเอก

ชื่อเรื่อง (Title) หรือหัวข้อวิจัยกฎหมาย ที่ดีควรประกอบด้วย คำหลักที่เป็นแก่นของการทำงานวิจัย ระบุวัตถุประสงค์หลัก และประเด็นวิจัยหลัก หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย หัวข้อวิจัยกฎหมาย วิทยานิพนธ์กฎหมาย  ซึ่งได้จากการรวบรวมหัวข้อวิจัยด้านกฎหมาย ระดับปริญญาเอก และปริญญาโท จากแหล่งวิชาการด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ ที่ได้มีการเผยแพร่หัวข้อวิจัยทางด้านกฎหมาย โดยมีการจแนกตามประเภทหรือหมวดหมู่ของกฎหมายไว้อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้

หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย  หัวข้อวิจัยกฎหมาย
หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย  หัวข้อวิจัยกฎหมาย

หัวข้อวิจัยด้านกฎหมาย หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ระดับปริญญาเอก ปริญญาโท จำแนกตามหมวดหมู่

หมวดกฎหมายมหาชน

1. ปัญหาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ
2. กฎหมายเพื่อการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยรัฐตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล
3. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล
4. กฎต้นแบบเพื่อการจัดตั้งสหภาพตำรวจ
5. กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและวิธีพิจารณาคดีสิทธิมนุษยชน
6. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการที่สาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
7. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
8. กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
9. กฎหมายต้นแบบเพื่อการใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ
10. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน
11. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดตั้งศาลศุลกากรและวิธีพิจารณาคดีศุลกากร
12. หลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
13. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
14. การใช้หลักนิติธรรมกับอำนาจทางปกครองของคณะรัฐมนตรี
15. การใช้หลักนิติธรรมกับอำนาจทางรัฐบาลของคณะรัฐมนตรี
16. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต้นแบบว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
17. การพัฒนากฎหมายเพื่อนำหลักธรรมาภิบาลปรับใช้ในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

หมวดกฎหมายท้องถิ่น
1. กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งตำรวจท้องถิ่น
2. การพัฒนากฎหมายสำหรับกระบวนการยุติธรรมในการเลือกตั้งท้องถิ่น
3. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียในท้องถิ่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเล
4. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการส่งเสริมชุมชนในการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อลดภาวะโลกร้อน
5. ประมวลเทศบัญญัติต้นแบบเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านมูลฝอย น้ำเสีย และตลาด
6. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
7. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
8. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียในท้องถิ่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเล
9. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่น
10. กฎต้นแบบว่าด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ
11. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการบังคับใช้เหตุรำคาญตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข

หมวดกฎหมายอาญา
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา
2. การพัฒนากฎหมายคนเข้าเมืองเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
3. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
4. การจัดทำกฎหมายเพื่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
5. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย
6. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยทนายความสาธารณะเพื่อการคุ้มครองสิทธิ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมคดีอาญา
7. กฎหมายต้นแบบเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาคเอกชน
8. กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งองค์กรรับรองพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
9. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐานในการปราบปรามการฟอกเงินและมาตรการลดผลกระทบจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
10. การพัฒนากฎหมายในกระบวนการยุติธรรมสงฆ์ไทย
11. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาทหาร

หมวดกฎหมายธุรกิจ
1. กฎหมายรองรับการนำลิขสิทธิ์สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกันในทางธุรกิจ
2. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจดำน้ำ

หมวดกฎหมายสิ่งแวดล้อม
1. กรอบกฎหมายว่าด้วยสิทธิแม่ธรณีหรือสิทธิของธรรมชาติ
2. การจัดทำกฎหมายวิธีพิจารณาสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่มต้นแบบ
3. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำ
4. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการพื้นที่กันชนเพื่อพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่า
5. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หมวดกฎหมายสังคม
1. กรอบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ CLMVT
2. กฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
3. กฎหมายต้นแบบเพื่อการคุ้มครองสิทธิคนพิการ
4. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์
5. การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย
6. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลาจากการสะสมเวลาเพื่อทำคุณประโยชน์แก่สังคมของผู้สูงอายุ                                                        7. การพัฒนากฎหมายเพื่อความเสมอภาคในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ
8. การพัฒนากฎหมายว่าด้วยรูปแบบการเกณฑ์ทหาร
9. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยสิทธิทางกฎหมายของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
10. การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ
11. การพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก
12. กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาเจ้าหน้าที่เทศกิจเป็นตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร

หากหัวข้อวิจัยกฎหมาย หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมายเหล่านี้ ตรงกับความสนใจ หรือใกล้เคียงกับเนื้อหาที่ผู้วิจัยสนใจ สามารถที่จะทำการสืบค้นวิทยานิพนธ์กฎหมาย ฉบับเต็มเหล่านี้ ได้จา่กแหล่งฐานข้อมูลด้านกฎหมายของคณะที่ทำการศึกษา ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนด้านกฎหมาย ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ จะสามารถดาวโหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มเหล่นี้ได้

รับทำวิจัยกฎหมาย

ตัวอย่าง หัวข้อวิจัยกฎหมาย หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่แล้ว

  1. มุมมองและข้อสังเกต เกี่ยวกับการให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ของประเทศไทยว่าด้วยความมั่นคงทางสังคม  http://www.lawjournal.ru.ac.th/journals/viewIndex/22
  2. ปัญหาทางกฎหมาย ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  3. มาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการตรวจสอบการมีคำสั่งไม่รับเรื่อง และมติข้อกล่าวหาไม่มีมูลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  4. การบันทึกวิดีโอเกี่ยวกับการกำหนดการเผื่อตายเป็นการทำพินัยกรรมหรือไม่ https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  5. มาตรการกฎหมาย ในการคุ้มครองผู้บริโภค : ศึกษากรณี ผู้ใช้บริการผู้ประกอบธุรกิจ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์  https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  6. ปัญหาทางกฎหมาย การขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จำเป็นต้องผูกขาดโดยเอกชน หรือบุคคลเพียงหนึ่งเดียว  https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  7. ปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับ การบังคับชำระหนี้ จากหุ้นไร้ใบหุ้น ซึ่งนำมาเป็นหลักประกันกับธนาคารพาณิชย์ https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  8. ปัญหา ทางกฎหมาย ในสัญญารับทุน การศึกษาของบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานของรัฐ https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  9. ปัญญหา การบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ.2560) กรณีศึกษา การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html
  10. ปัญหากฎหมาย ในการคุ้มครอง ความรับผิดของแพทย์จากการให้บริการสาธารณสุข  https://law.dpu.ac.th/lawpridi-conference/pastconference.html

ทั้งนี้ แม้ว่าหัวข้อวิจัยด้านกฎหมายต่างๆ ที่ได้มีการทำสำเร็จและมีการตีพิมพ์ เรียบร้อยไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่างานวิจัยทุกเล่ม รวมทั้งงานวิจัยด้านกฎหมายด้วย จะมีส่วนท้ายของงานวิจัยคือส่วนของข้อเสนอแนะว่าปัญหา ของการทำวิจัยเล่มนั้นเรื่องนั้น ยังขาดความสมบูรณ์ ในเรื่องไหนประเด็นใดบ้าง  และนักวิจัยในอนาคต ซึ่งหมายถึงเราในขณะนี้ สามารถหยิบยกประเด็นดังกล่าว เพื่อมาขยายหรือเอามาทำต่อให้มีความถุกต้องสมบูรณ์มากขึ้นได้มากน้องเพียงใด  กล่าวได้ว่า การเลือกหัวข้อวิจัยในเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และถือได้ว่า เป็นการต่อยอดประโยชน์ทางวิชาการของนักวิจัยท่านเดิมที่เห็นว่า ควรมีการศึกษาต่อ ซึ่งจะทำให้เป็นประโยชน์ต่อวิชาการ ด้านกฎหมาย หรือ นิติศาสตร์ ในวงกว้างได้ต่อไป และเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ในประเทศไทย

นอกจากนี้  การทำวิจัย กฎหมาย วิจัย คณะนิติศาสตร์ ย่อมไม่แตกต่างจากกระบวนการและขั้นตอน สำคัญๆ ของการทำวิจัย ในศาสตร์อื่นๆ มากนัก นั่นคือ ท้ายที่สุด เมื่อลงมือค้นคว้าข้อมูลสำคัญเบื้องต้น เพราะนำมาเป็นโครงสร้างการทำวิจัย ต้องสืบเสาะค้นหาข้อมูล ฐานข้อมูลในระบบ เพื่อตรวจสอบดูว่า วิจัยกฎหมาย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ ปัญหาพิเศษ ค้นคว้าอิสระ เกี่ยวกับกฎหมาย หรือนิติศาสตร์ ในหัวข้อนั้นๆ มีคนทำมาแล้วหรือไม่่ หากต้องการปรับเปลี่ยน หรือทำการศึกษาเพิ่มเติม ต้องชั่งน้ำหนักพิจารณาดูให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ว่ายังคงเป็นเรื่องที่ควรทำวิจัยต่อหรือไม่

อ้างอิง :

  1. เทคนิคการทำวิจัยกฎหมาย
  2. การกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย
  3. หัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว

  4. รายชื่อ วิทยานิพนธ์ กฎหมาย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
  5. รับสืบค้นกฎหมาย