วิทยานิพนธ์กฎหมาย

วิทยานิพนธ์กฎหมาย

วิทยานิพนธ์กฎหมาย หรือ การวิจัยทางนิติศาสตร์ คือ การค้นคว้าสอบสวนและเสนอผลของงานทางนิติศาสตร์ โดยเน้น การวิจัยเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำพิพากษา เอกสารทางประวัติศาสตร์ทางกฎหมาย หรือปรากฏการณ์ทางกฎหมาย เป็นต้น

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อวิจัยการศึกษา
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อวิจัยการศึกษา

หัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย วิทยานิพนธ์นิติศาสตร  ที่สำเร็จการศึกษาและได้รับการตีพิมพ์แล้ว จำแนกตามหมวดหมู่

หัวข้อวิทยานิพนธ์ด้านกฎหมาย ที่ผู้เขียนได้นำมารวบรวมไว้สำหรับเป็นแนวทางสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ด้านกฎหมาย และ วิจัยด้านกฎหมาย นิติศาสตร์ จำแนกตามหมวดหมู่สำคัญ มีดังนี้

หมวดกฎหมายมหาชน

1. ปัญหาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ
2. กฎหมายเพื่อการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยรัฐตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล
3. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล
4. กฎต้นแบบเพื่อการจัดตั้งสหภาพตำรวจ
5. กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและวิธีพิจารณาคดีสิทธิมนุษยชน
6. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการที่สาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
7. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
8. กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
9. กฎหมายต้นแบบเพื่อการใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ
10. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน
11. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดตั้งศาลศุลกากรและวิธีพิจารณาคดีศุลกากร
12. หลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนากฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
13. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
14. การใช้หลักนิติธรรมกับอำนาจทางปกครองของคณะรัฐมนตรี
15. การใช้หลักนิติธรรมกับอำนาจทางรัฐบาลของคณะรัฐมนตรี
16. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต้นแบบว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
17. การพัฒนากฎหมายเพื่อนำหลักธรรมาภิบาลปรับใช้ในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

หมวดกฎหมายท้องถิ่น

1. กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งตำรวจท้องถิ่น
2. การพัฒนากฎหมายสำหรับกระบวนการยุติธรรมในการเลือกตั้งท้องถิ่น
3. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียในท้องถิ่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเล
4. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการส่งเสริมชุมชนในการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อลดภาวะโลกร้อน
5. ประมวลเทศบัญญัติต้นแบบเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านมูลฝอย น้ำเสีย และตลาด
6. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
7. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
8. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการจัดการขยะและน้ำเสียในท้องถิ่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทางทะเล
9. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่น
10. กฎต้นแบบว่าด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ
11. ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการบังคับใช้เหตุรำคาญตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข

หมวดกฎหมายอาญา

1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา
2. การพัฒนากฎหมายคนเข้าเมืองเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
3. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
4. การจัดทำกฎหมายเพื่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
5. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย
6. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยทนายความสาธารณะเพื่อการคุ้มครองสิทธิ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมคดีอาญา
7. กฎหมายต้นแบบเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาคเอกชน
8. กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งองค์กรรับรองพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์
9. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐานในการปราบปรามการฟอกเงินและมาตรการลดผลกระทบจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
10. การพัฒนากฎหมายในกระบวนการยุติธรรมสงฆ์ไทย
11. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาทหาร

หมวดกฎหมายธุรกิจ

1. กฎหมายรองรับการนำลิขสิทธิ์สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าเป็นหลักประกันในทางธุรกิจ
2. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจดำน้ำ

หมวดกฎหมายสิ่งแวดล้อม

1. กรอบกฎหมายว่าด้วยสิทธิแม่ธรณีหรือสิทธิของธรรมชาติ
2. การจัดทำกฎหมายวิธีพิจารณาสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่มต้นแบบ
3. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแม่น้ำ
4. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการพื้นที่กันชนเพื่อพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่า
5. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หมวดกฎหมายสังคม

1. กรอบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ CLMVT
2. กฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
3. กฎหมายต้นแบบเพื่อการคุ้มครองสิทธิคนพิการ
4. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์
5. การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย
6. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลาจากการสะสมเวลาเพื่อทำคุณประโยชน์แก่สังคมของผู้สูงอายุ                                                        7. การพัฒนากฎหมายเพื่อความเสมอภาคในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ
8. การพัฒนากฎหมายว่าด้วยรูปแบบการเกณฑ์ทหาร
9. กฎหมายต้นแบบว่าด้วยสิทธิทางกฎหมายของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
10. การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการจัดการเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ
11. การพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก
12. กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาเจ้าหน้าที่เทศกิจเป็นตำรวจเทศกิจกรุงเทพมหานคร

ประเด็นสำหรับการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษในสาขานิติศาสตร์

นักวิจัย นักศึกษาด้านกฎหมาย หรือแม้แต่ผู้ที่ม อาจพอสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

  1. การศึกษาปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นที่สนใจของสังคมหรือประชาชนในวงกว้าง

สำหรับข้อนี้  เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติหรือเป็นปกติวิสัยของนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือแม้แต่คนทั่วไปที่สนใจใคร่รู้และติดตามความเป็นมาเป็นไปและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นนักวิจัยและการทำวิจัย   ซึ่งเรามักจะไม่พลาดหัวข้อหรือประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้คนกลุ่มใหญ่จากข่าวสารและสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม

ซึ่งหากประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจเหล่านั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมาย พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด หรือตัวบทกฎหมายต่างๆ   นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ หรือปัญหาพิเศษ ในสาขากฎหมายหรือนิติศาสตร์ ย่อมสามารถหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นหัวข้อวิจัยได้ไม่ยากนัก และเป็นเรื่องที่มีความใหม่ ความทันสมัย และน่าสนใจ ซึ่งย่อมทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการอนุมัติหัวข้อนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น

  1. เรื่องราวหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผู้วิจัยเอง หรือกับบุคคลใกล้ชิด เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน

ยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัด เช่น กรณีที่ผู้วิจัยกำลังเผชิญปัญหา เกี่ยวกับ การได้รับผลกระทบจาก สัญญาเช่าที่ดินที่ไม่เป็นธรรม หรือ สัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นปัญหา ช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่ควรมีการปรับปรุง แก้ไข ให้เกิดความเป็นธรรม ต่อประชาชน หรือ ผู้เช่า

โดยอาจจะทำการศึกษาเอกสาร เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี ที่มาที่ไป ของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กับ สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันว่ามีหน่วยงานวิชาการหรือนักวิชาการด้านกฎหมาย ท่านใดที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ และมีแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง อย่างไร เพื่อนำมาเสนอเป็นโครงร่าง การเขียนที่มาและความสำคัญ และการกำหนดสมมติฐานการวิจัยที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ

  1. การเลือกหัวข้อวิจัยกฎหมาย งานวิจัยสายนิติศาสตร์จากประเด็นที่มีการพูดถึงหรือถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการหาข้อมูลทุกๆเรื่องในปัจจุบันสามารถหาได้จากสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้  ซึ่งมีทั้งเรื่องหรือข้อมูลที่เป็นจริง และ บางข้อมูล ก็เป็นเรื่องที่ไม่จริง หรือ จริงบ้างไม่จริงบ้าง  อย่างไรก็ตาม  ในฐานะนักวิจัย หรือ นักศึกษา ทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ด้านกฎหมาย ย่อมพอมีความรู้พื้นฐานมาบ้าง และสามารถใช้วิจารณญาณได้ว่า ประเด็นที่กำลังสนใจเหล่านั้น เป็นเรื่องที่มีมูล หรือ เป็นข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด และสมควรที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาต่อขยายในการทำวิจัยของเราต่อไปหรือไม่ อย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น ประเด็นร้อนแรงเรื่องที่สังคมถกเถียงกันเรื่องควรมีการเพิ่มโทษให้ผู้กระทำความผิดข้อหาข่มขืนถูกประหารชีวิต  ซึ่งมีข้อโต้แย้งจากคนจำนวนมาก กล่าวคือ มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและมีเหตุผลที่สนับสนุนในการไม่เห็นด้วยที่น่ารับฟัง และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาดและมีเหตุผล มีเนื้อหา มีความคิดที่น่ารับฟัง  ต่างๆ เหล่านี้เราสามารถนำมาขบคิดและนำมาต่อยอดในการมากำหนดเป็นหัวข้องานวิจัยกฎหมายที่น่าสนใจของเราได้

  1. การหาหัวข้อวิจัยกฎหมายจากการค้นคว้าหาข้อมูลเบื้องต้นจากสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ

การหาหัวข้อวิจัยกฎหมายจากการค้นคว้า หาข้อมูลเบื้องต้น จากผู้วิจัยสนใจนี้ กล่าวได้ว่า เป็นการทำงานวิจัยกฎหมาย ด้วยความสนใจ และด้วยความเพียรพยายาม ของตัวผู้วิจัยเองเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ พยายามสืบค้น ศึกษารวบรวม เนื้อหา ข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี และตัวบทกฎหมายในประเด็นที่ผู้วิจัยใช้วิจารณญาณด้วยตัวเองว่าประเด็นเหล่านั้น เป็นปัญหาทางกฎหมาย  ทั้งเป็นปัญหาที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ หรือมีกฎหมายประกาศเรียบร้อยแล้ว แต่กลับมีปัญหาในทางบังคับใช้ เป็นต้น

ซึ่งสามารถทำวิจัยได้ด้วยกระบวนการสืบค้นแนวคิด และตัวบทกฎหมายจากต่างประเทศ หรือแนวทาง การทำ วิจัย กฎหมาย ด้วยการวิเคราะห์ กฎหมาย เชิงเปรียบเทียบ (Comparative  Method)   ซึ่งเป็นที่นิยมของ กระบวนการทำ วิจัย กฎหมาย หรือวิจัย ในคณะนิติศาสตร์โดยทั่วไป และโดยความนิยมที่มักพบเห็นทั่วไปคือการเปรียบเทียบกฎหมายจาก 2 ระบบ คือ ระบบกฎหมายแบบ Common Law และ Civil  Law

และมีการเปรียบเทียบกฎหมาย และ การบังคับใช้ กฎหมาย จากประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของระบบกฎหมายหรือประเทศที่พัฒนาหรือมีความเจริญแล้ว เช่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา  กฎหมายอังกฤษ  กฎหมาย ฝรั่งเศส กฎหมาย ออสเตรเลีย กฎหมาย ญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อพิจารณาว่ากฎหมายในประเทศต่างๆเหล่านี้มีวิวัฒนาการและมีการประกาศบังคับใช้อย่างไร และมีปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ กับ กฎหมายของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  1. การเลือกหัวข้อวิจัยกฎหมายจาก วิจัยกฎหมาย วิทยานิพนธ์ กฎหมาย สารนิพนธ์กฎหมาย หรือค้นคว้าอิสระกฎหมาย หรืองานวิจัยของคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วนำมาต่อยอด

ในหัวข้อนี้ แม้ว่าหัวข้อวิจัยด้านกฎหมายนั้นๆจะมีนักวิจัยหรือมีงานวิจัยเล่มอื่นๆ หรือ เล่มก่อนหน้านั้น ได้ทำไปเรียบร้อยแล้ว  ,  อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่างานวิจัยทุกเล่ม รวมทั้งงานวิจัยด้านกฎหมายด้วย จะมีส่วนท้ายของงานวิจัยคือส่วนของข้อเสนอแนะว่าปัญหา ของการทำวิจัยเล่มนั้นเรื่องนั้น ยังขาดความสมบูรณ์ ในเรื่องไหนประเด็นใดบ้าง  และนักวิจัยในอนาคต

ซึ่งหมายถึงเราในขณะนี้ สามารถหยิบยกประเด็นดังกล่าว เพื่อมาขยายหรือเอามาทำต่อให้มีความถุกต้องสมบูรณ์มากขึ้นได้มากน้องเพียงใด  กล่าวได้ว่า การเลือกหัวข้อวิจัยในเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และถือได้ว่า เป็นการต่อยอดประโยชน์ทางวิชาการของนักวิจัยท่านเดิมที่เห็นว่า ควรมีการศึกษาต่อ ซึ่งจะทำให้เป็นประโยชน์ต่อวิชาการ ด้านกฎหมาย หรือ นิติศาสตร์ ในวงกว้างได้ต่อไป และเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ในประเทศไทย

รับทำวิจัยกฎหมาย  ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์กฎหมาย  และ สืบค้น กฎหมายต่างประเทศ ทั้งระบบ COMMON LAW และ CIVIL  LAW 

กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน กฎหมายธุรกิจ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ  และให้บริการ  รับเขียนบทความวิจัย และตีพิมพ์บทความวิจัย  ปรึกษาการทำวิจัย สถาบันการศึกษาในต่างประเทศทุกสาขา

 

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

 การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทำวิทยานิพนธ์ คู่มือการทำดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อวิทยานิพนธ์การจัดการ การจัดการทั่วไป
การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทำวิทยานิพนธ์ คู่มือการทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์กฎหมาย

อ้างอิง

  1. เทคนิคการทำวิจัยด้านกฎหมาย
  2. รับทำวิจัยกฎหมาย
  3. เทคนิคการทำวิจัย
  4. ตัวอย่างงานวิจัยสาขานิติศาสตร์