การเขียนวิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology)

วิธีดำเนินการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย หรือ ระเบียบวิธีวิจัย ตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Research Methodology เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญของกระบวนการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ รวมถึงงานวิจัยประเภทต่างๆ ทั้งภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ(Independent Study :IS) ปัญหาพิเศษ หรือรายงานวิจัยต่างๆ  ผู้ทำวิจัยควรให้ความสำคัญสำหรับ การเขียนวิธีดำเนินการวิจัย

โดยทั่วไปวิธีดำเนินการวิจัยจะประกอบด้วยหัวข้อสำคัญคือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and Sample)  เครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำวิจัย (Instrument) กระบวนการสร้างเครื่องมือ การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ (มุ่งเน้นสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ) การเก็บรวบรวมข้อมูล  ไปจนถึงการใช้สถิติ/แบบจำลอง/ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสถิติและเศรษฐมิติต่างๆ

ทั้งนี้ นักวิจัยหรือผู้ทำวิจัยที่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานวิจัยโดยเฉพาะในส่วนของการเขียนวิธีดำเนินการวิจัย เช่น นิสิตและนักศึกษาที่เพิ่งเริ่มทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ มักประสบกับปัญหาความยุ่งยากหลายประการในการเขียนงานส่วนนี้   เช่น การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและการเลือกสูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง  การสร้างเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยที่ขาดคุณภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงกับตัวแปรตามที่ควรจะเป็น    รวมไปถึงการเลือกใช้สถิติ แบบจำลอง หรือแม้แต่โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปที่ไม่เหมาะสมกับประเภทของข้อมูล เป็นต้น

วิธีการวิจัย คือ การให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดําเนินงานการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทําอย่างไร เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือกิจกรรมอะไรบ้าง โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้คือ วิธีวิจัย แหล่งข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและการสร้างเครื่องมือ การทดสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์

องค์ประกอบและขั้นตอน การเขียนวิธีดำเนินการวิจัย มีดังนี้

3.1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยศึกษาหรือกลุ่มเป้าหมายที่นิสิต  นักศึกษาจะเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สุดแท้แต่งานวิจัยนั้นจะศึกษาอะไรในเรื่องใด  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในแต่ละเรื่องนั้น อาจจะมีกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม ระดับเดียวกันหรือหลายระดับก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของการวิจัย  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยจะมีผลอย่างมากต่อวิธีการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล

ดังนั้นการเลือก ประชากร กลุ่มตัวอย่างต้องชัดเจน การเขียนก็เช่นเดียวกัน ต้องระบุให้ชัดเจน ครอบคลุม ระบุประชากรและจำนวนประชากรให้ชัดเจน จำนวนกลุ่ม ตัวอย่างต้องกำหนดไว้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการ กล่าวถึงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีที่เหมาะสมและทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพในการปฏิบัติจริง ๆ พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน

การเขียนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีข้อพึงระวังคือ ข้อความที่เขียนในบทที่ 1 ว่าประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือใคร ที่ไหน อย่างไร จำนวนเท่าใด ในบทที่ 3 ก็เช่นเดียวกัน ต้องเขียนเหมือนกันทุกประการ บ่งบอกถึงความคงเส้นความในการเขียนวิทยานิพนธ์ด้วย  บทที่ 3 จะแตกต่างจากบทที่ 1 คือ จะเขียนบอกวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง

ทั้งนี้ ในบทที่ 1 จะไม่เขียนและแสดงรายละเอียด สำหรับปัญหาที่พบในเค้าวิทยานิพนธ์ คือ จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างไม่เหมือนกัน รวมทั้งข้อความการเขียนไม่เหมือนกัน เช่น บทที่ 1 บอกว่า มีจำนวน 86 คน บทที่ 3 บอกว่า มี จำนวน 89 คน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นข้อบกพร่องที่พบบ่อย ดังนั้นการแก้ไขคือ คัดลอกข้อความจากบทที่ 1 เลยแล้วมาเพิ่มเติมวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง พร้อมแสดงรายละเอียด เท่านี้ก็เสร็จ ส่วนหลักในการเขียนอธิบายประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ………(คือใคร)…….(ที่ไหน)……….(ปีไหน)

…………(จำนวนเท่าใด)……………………………. (อาจจะแสดงตารางจำนวนประชากรประกอบ)

  1. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ………(คือใคร)…….(ที่ไหน)……….(ปีไหน)

…………(จำนวนเท่าใด)………………….ซึ่งได้มาโดย…………………(ระบุวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง)…………..มีรายละเอียดการเลือกดังนี้(นิสิต นักศึกษา สามารถแสดงเป็นตารางหรือเป็นแผนภูมิแลดงวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างทั้งนี้ขึ้นอยู่วิธีการนั้น)  ดังตัวอย่างการเขียน

  1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  13,104  คน

  1. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี  ปีการศึกษา  2549  จำนวน  500 คน  ซึ่งได้ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  (Multi – stage Random Sampling) มีวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและขั้นตอนการสุ่ม ดังนี้……..

    3.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญของการวิจัย เพราะจะเป็นสิ่งที่นิสิต  นักศึกษาได้เชื่อมกรอบแนวคิดของการวิจัยและแนวคิดต่าง ๆ ของตนกับความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือตัวข้อมูลที่จะนำมาสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ดังนั้นการทำวิทยานิพนธ์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลถือว่าเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมาก

ในหัวข้อย่อยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเค้าโครงวิทยานิพนธ์เป็นการเขียนอธิบายว่าในหัวข้อเรื่องที่ศึกษานั้นมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีกี่ชนิด ประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งการกำหนดเขียนนั้นให้เขียนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยเท่านั้น  ส่วนเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยไม่ต้องนำมาเขียนไว้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น แบ่งออเป็น 3 กรณี คือ 1) เครื่องมือที่มีผู้อื่นสร้างไว้เรียบร้อยแล้ว  นิสิต นักศึกษายืมมาใช้ ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นของใคร สร้าง พ.ศ. ใด  2) เครื่องมือที่นิสิต  นักศึกษาสร้างขึ้นมาเอง  3) กรณีที่วิทยานิพนธ์ทำเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาเครื่องมือ  ต้องเขียนแผนภาพประกอบรายละเอียดและทดลองไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง  สำหรับการเขียนอธิบายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียดไม่ซับซ้อน มี 2 ลักษณะ คือ

กรณีที่  1  มีเครื่องมือชนิดเดียวเท่านั้นและมีแบบเดียว  มีลักษณะการเขียนดังนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบ…………………….ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง   จำนวน …ฉบับ คือ ………………………………… แบ่งเป็น …………………ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ……………………………(ส่วนมากเป็นสถานภาพของผู้ตอบ) มีลักษณะเป็น ………………………..

ตอนที่ 2 …………………………………..ซึ่งมีลักษณะเป็น …………………………………

กรณีที่ 2 มีเครื่องมือหลายชนิดและมีหลายแบบ มีลักษณะการเขียน ดังนี้

กรณีลักษณะนี้นั้น ควรเขียนเรียงลำดับบอกรายละเอียดของเครื่องมือแต่ละชนิดเท่านั้นตัวอย่างเช่น

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย … ชนิด ดังนี้

  1. แบบ…..(ระบุชนิดเครื่องมือ)……..จำนวน .. ฉบับ  แบ่งออกเป็น … ตอน คือ  …….(บอกชื่อแต่ละตอนเท่านั้นว่าเป็นแบบไหน มีกี่ระดับ อะไรบ้าง)……….
  2. แบบ…..(ระบุชนิดเครื่องมือ)……..จำนวน .. ฉบับ  แบ่งออกเป็น .. ตอน คือ  …….(บอกชื่อแต่ละตอนเท่านั้นว่าเป็นแบบไหน มีกี่ระดับ อะไรบ้าง)……….
  3. แบบ…..(ระบุชนิดเครื่องมือ)……..จำนวน .. ฉบับ  แบ่งออกเป็น .. ตอน คือ  …….(บอกชื่อแต่ละตอนเท่านั้นว่าเป็นแบบไหน มีกี่ระดับ อะไรบ้าง)……….

ตัวอย่างการเขียนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น  3 ตอน คือ

ตอนที่  1  แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check  List)

ตอนที่  2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด   ตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน  มีลักษณะแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า(Rating Scale)  5  อันดับ  คือ  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด

ตอนที่  3  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา  มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด (Open-ended form)

    3.3  การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สำหรับ การเขียนวิธีดำเนินการวิจัย

หัวข้อนี้  จะกล่าวถึงหลักการ ขั้นตอนการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือรวบรวมข้อมูล ว่านิสิต  นักศึกษาคาดว่าจะสร้างเครื่องมือแต่ละชนิดประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง มีหลักการใดบ้าง กำหนดว่าจะสร้างจำนวนเท่าใด ต้องการจริงเท่าใด มีลักษณะอย่างไร

เช่น สร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า(Rating  Scale) 5 ระดับ สร้างจำนวน 20 ข้อ  ต้องการจริง 15 ข้อ เป็นต้นและการหาคุณภาพเครื่องที่ใช้ในการวิจัยนั้น จะใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือกี่คน ทดลองกับใคร จำนวนเท่าใด  จะใช้สูตรใดในการหาค่าอำนาจจำแนก หาความยาก หาค่าความเชื่อมั่น และมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเครื่องมือที่ระดับใด

ในการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นขั้นตอนโครงร่างที่นิสิต นักศึกษาจะคาดว่าทำและปฏิบัติตามขั้นตอนที่เขียนไว้เท่านั้น  แต่หลังจากนิสิตทำแล้วซึ่งจะเขียนเป็นวิทยานิพนธ์นั้น นิสิตต้องปรับเปลี่ยนข้อความใหม่  ซึ่งพบข้อบกพร่องมากในวิทยานิพนธ์ กล่าวคือ นิสิต นักศึกษาไม่มีปรับเปลี่ยนยังคงใช้ข้อความเดิมที่เขียนไว้ในเค้าโครงวิทยานิพนธ์ แท้จริงและถูกต้องนั้น

เมื่อนิสิต  นักศึกษาทำการสร้างจริง ตรวจสอบและทดลองไปใช้จริงแล้ว ผลที่ได้จะแตกต่างกัน ดังนั้นข้อความก่อนทำกับหลังต้องการแตกต่างกัน ตรงที่ต้องมีการนำเสนอผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและการทดลองใช้ว่า ได้ผลอย่างไร มีการปรับปรุงอะไรบ้าง เข้าเกณฑ์กี่ข้อ นำไปใช้จริงกี่ข้อ  นิสิต นักต้องพึงระวังในการเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเค้าโครงวิทยานิพนธ์  สำหรับหลักการ  เกณฑ์การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้

3.3.1)   ก่อนลงมือเขียนขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  นิสิต ศึกษาควรศึกษารูปแบบการสร้างเครื่องมือชนิดนั้น ๆ ให้เข้าใจเพื่อความถูกต้องในการเขียน

3.3.2)   ในขั้นการศึกษาเอกสารและงานวิจัย นิสิต นักศึกษาควรระบุชื่อเอกสารที่ค้นคว้าให้ครบและชัดเจน ว่าเป็นของใคร ชื่อหนังสือ  พ.ศ. ที่พิมพ์ เช่น  ศึกษาเอกสารการสร้างแบบสอบถามจากหนังสือการวิจัยเบื้องต้นของบุญชม  ศรีสะอาด(2545 : 90-100)

3.3.3)  กรณีที่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ขั้นตอนการสร้างนิสิต นักศึกษา  ควรสร้างตารางวิเคราะห์รายละเอียด(เนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) และระบุจำนวนข้อที่สร้างขึ้นและต้องการจริงเท่าใด

3.3.4)  การเลือกผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงนั้น  นิสิต  นักศึกษาควรเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นอย่างแท้จริง  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงเครื่องมือ ดังนั้นการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้เครื่องมือมีคุณภาพด้วย ผู้เชี่ยวชาญควรมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล

3.3.5)  ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือ  นิสิต นักศึกษาต้องเขียนระบุตำแหน่งทางวิชาการ  ตำแหน่งหรือหน้าที่การงาน สถานที่ทำงาน  เช่น   รศ.ดร.  บุญชม ศรีสะอาด  อาจารย์ภาควิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล และกรณีเครื่องมือที่สร้างมีมากกว่า 1 ชนิดแต่ใช้คณะผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม

การเขียนอธิบายในขั้นตอนการสร้างไม่ต้องเขียนรายละเอียดอีก ระบุข้อความ ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม ในขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเท่านั้นพอ เช่น  นำเครื่องมือไปให้ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตรวจสอบความถูกต้อง

3.3.6)  นิสิต  นักศึกษาต้องเขียนขั้นตอนการสร้างให้ชัดเจน ถูกต้อง เช่น กระบวนการสร้าง อธิบายค่าอำนาจจำแนก  วิธีหาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง  เพื่อให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจง่ายกรณีที่ใช้เครื่องมือคนอื่นสร้างไว้มาใช้ ต้องระบุว่าเป็นของใคร สร้าง พ.ศ.ใด  และที่สำคัญเครื่องนั้นต้องทันสมัย มีความสอดคล้องกับเรื่องที่ทำและไม่ควรเกิน 5 ปี

3.3.7)  เครื่องมือแต่ละชนิดที่สร้างขึ้น  ควรเขียนแสดงตัวอย่างลักษณะของเครื่องมือที่ใช้วัด  อธิบายวิธีการตรวจให้คะแนน  เกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจน พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน  เช่น  มากที่สุด  ให้  5 คะแนน  หรือ คะแนนความคิดคล่องในการคิด พิจารณาคำตอบที่เป็นไปได้ในเงื่อนไขของข้อสอบถือว่าเป็นคำตอบที่เป็นไปได้ ให้คำตอบละ 1 คะแนน

3.3.8)   การหาคุณภาพเครื่องมือเป็นรายข้อ (อำนาจจำแนก ความยาก) ให้ทดลองใช้ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 50 คน แล้วคัดเลือกข้อที่ดีไว้ใช้แล้วจึงหาคุณภาพทั้งฉบับ(ความเชื่อมั่น)

3.3.9)  การเขียนขั้นทดลองใช้ นิสิต นักศึกษาควรระบุให้ชัดเจนว่ากลุ่มที่ใช้ทดลองเป็นใคร  จำนวนเท่าใด  ทดลองวันที่เท่าใด

ตัวอย่าง   การเขียนการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนการเขียนดังนี้

  1. กำหนดจุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  2. ศึกษาเอกสาร  ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ(เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย) จากหนังสือของ ……………………………………
  3. วางแผนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ว่าจะสร้างกี่ข้อ  มีกี่ด้าน แต่ละด้านมีกี่ข้อ
  4. สร้าง..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…บอกลักษณะของเครื่องมือเป็นแบบใด  มีกี่ระดับ  มีกี่ด้านอะไรบ้าง สร้างขึ้นจำนวน…ข้อและต้องการจริง จำนวน …. ข้อ (อาจจะสร้างตารางวิเคราะห์รายละเอียดหรือไม่สร้างก็ได้)
  5. นำ(ระบุชื่อเครื่องมือ)ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ระบุด้าน) พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง(เชิงประจักษ์) โดยพิจารณาว่าข้อความของเครื่องมือที่สร้างขึ้นนั้น  วัดได้(จุดประสงค์ นิยามศัพท์เฉพาะหรือเนื้อหาหรือไม่)แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนน อาจจะเป็น  +1 เมื่อแน่ใจวัดได้ตรงในด้านนั้น  0 เมื่อไม่แน่ใจว่าวัดได้ในด้านนั้น และ -1 เมื่อแน่ใจว่าวัดได้ไม่ตรงในด้านนั้น  และให้ระบุจำนวนผู้เชี่ยวว่ามีกี่คน ระบุตำแหน่งหน้าที่ สถานที่ทำงาน  และระบุผลการตรวจสอบ

ผลการตรวจสอบคุณภาพของ…(ระบุชื่อเครื่อง) … ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นรายข้อแล้วคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่า ได้ดัชนีความสอดคล้องระหว่าง…..ถึง…..

  1. แก้ไข…(ระบุชื่อเครื่อง).. ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปทดลองใช้(Try out) กับ …..(ระบุว่าเป็นกลุ่มใด) … ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน…คน
  2. วิเคราะห์คุณภาพของ…(ระบุชื่อเครื่องมือ)…

วิเคราะห์..(ระบุชื่อเครื่องมือ)..โดยคำนวณหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้….(ระบุสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์)…. ซึ่งได้ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อตั้งแต่….ถึง…..(ได้ค่าความยากเป็นรายข้อตั้งแต่….ถึง…..(ถ้ามี))และหาค่าความเชื่อมั่นของ..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…โดยใช้….(ระบุสถิติที่ใช้)…ปรากฏว่าได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ…

  1. จัดพิมพ์..(ระบุชื่อเครื่องมือ)…ฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้จริง (พร้อมแสดงตัวอย่างเครื่องมือ)

จากการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สามารถเขียนเป็นแผนภาพ ดังนี้

  1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง (เครื่องมือ)
  2. ศึกษาทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  3. วางแผนการสร้าง(เครื่องมือ)
  4. สร้าง(เครื่องมือ)
  5. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงของ(เครื่องมือ)
  6. นำ(เครื่องมือ)ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ (Try – out)
  7. วิเคราะห์คุณภาพของ(เครื่องมือ)
  8. จัดพิมพ์และนำไปใช้จริง

     3.1.4  การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองความมุ่งหมายของการวิจัย เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการวิจัยที่มีความสำคัญ  การเขียนขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลในเค้าโครงวิทยานิพนธ์นั้น  เป็นการบอกเรื่องราวของขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างว่านิสิต  นักศึกษามีขั้นตอนอย่างไรในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยปกติแล้ว จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ   การติดต่อขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยของสถาบันตนเองเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ติดต่อกับกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  ซึ่งในขั้นนี้ต้องมีการเขียนอธิบายให้ชัดเจนตามเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบหรือแบบวัด ต้องเขียนรายละเอียด วัตถุประสงค์การทำแบบทดสอบหรือแบบวัด  การอธิบายวิธีการทำแบบทดสอบหรือแบบวัดและบอกระยะเวลาที่คาดว่าจะเก็บรวบข้อมูล(กรณีที่ระบุได้)

ดังตัวอย่างการเขียนขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับ การเขียนวิธีดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยได้ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูล  ดังนี้

  1. ติดต่อขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย…………..เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง
  2. ติดต่อกับทางโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง นัดวัน เวลาเพื่อดำเนินการทดสอบ
  3. เตรียมแบบทดสอบและแบบวัดให้พร้อมที่จะทำการทดสอบแต่ละครั้ง
  4. อธิบายให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเข้าใจในวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำแบบทดสอบและแบบวัด
  5. อธิบายวิธีการทำแบบทดสอบและแบบวัดให้เข้าใจเสียก่อนลงมือทำ
  6. ดำเนินการเก็บรวบรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ ……………ถึงวันที่………………………..
  7. นำผลที่ได้จาการทดสอบและวัดมาตรวจดูความสมบูรณ์ของการตอบ

แล้วจึงนำไปตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนที่อธิบายไว้หัวข้อการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    3.1.5  การวิเคราะห์ข้อมูล

การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ หัวข้อการวิเคราะห์ข้อมูล   มักพบข้อบกพร่องในการเขียนทั้งนี้เนื่องจากนิสิต  นักศึกษา มักจะเขียนอธิบายวิธีการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วในขั้นนี้จะเขียนอธิบายการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย  สมมติฐานของการวิจัยเท่านั้น ส่วนมากนิสิต  นักศึกษามักเข้าใจผิด เช่น ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์แบบสอบถาม เป็นต้น

ตัวอย่างการเขียนการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

  1. หาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย  โดยใช้โปรแกรม SPSS   for  Window

วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์

    3.1.6  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ปกติแล้วหัวข้อนี้มักพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ หัวข้อเป็นหัวข้อสุดท้ายในการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เป็นการเขียนอธิบายหรือรวบรวมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยทั้งหมด ว่าสถิติที่ใช้มีอะไรบ้าง  พร้อมสูตรสถิตินั้นที่ใช้ บางสถาบันอาจจะไม่มีการเขียนอธิบายสูตรสถิติ  เพียงอธิบายว่าใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น

สำหรับการเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นประกอบด้วยสถิติ 3 กลุ่มด้วยกันคือ  1)  สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  2)  สถิติพื้นฐานและ3)  สถิติทดสอบสมมติฐาน  ซึ่งในหัวข้อนี้มักพบบกพร่องหลายประการคือ เขียนสูตรผิด  ไม่มีการอ้างอิงว่าเอามาจากไหน เขียนสถิติซ้ำซ้อน  ดังนั้นเพื่อลดข้อบกพร่องเหล่านี้มีหลักในการเขียน ดังนี้

7.1)  เรียงลำดับหัวข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง ปกติแล้วจะเริ่มด้วย สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  สถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบสมมติฐาน ตามลำดับ

7.2)  สถิติที่นำมาเขียนทุกตัวต้องมีอ้างอิงที่มาอย่างชัดเจน และถูกต้อง เช่น

หาค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตร ดังนี้ (บุญชม  ศรีสะอาด. 2543 : 102)

7.3)  สูตรที่นำเขียน ต้องเขียนอธิบายสัญลักษณ์ ให้ถูกต้องและชัดเจน

7.4)  กรณีการหาค่าอำนาจำแนก ค่าความยากต้องระบุสถิติให้ชัดเจนว่าเป็นสูตรใด เพราะมีสถิติหลายตัวที่สามารถหาค่าเหล่านี้ได้และต้องมีความถูกต้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วย เช่น ถ้าเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ส่วนมากคือ t-test   หรือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย  เป็นต้น

ตัวอย่างการเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  มีดังนี้

  1. สถิติพื้นฐาน  ได้แก่  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย
  3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

อ้างอิง :

  1. การเขียนวิธีดำเนินการวิจัย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย