วิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research
เทคนิค วิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research , Qualitative Analysis นักวิจัยและนักศึกษาควรเรียนรู้และเข้าใจลักษณะและรูปแบบของการทำวิจัยที่แตกต่างกันของการทำวิจัยทั้ง 2 แบบ
วิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ของสังคมหรือพฤติกรรมของ มนุษย์ในสังคมตามสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมของ มนุษย์กับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ โดยใช้ข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือนิยามปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมและอุดมการณ์ของบุคคล
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการมุ่งแสวงหาความรู้ ความเข้าใจพฤติกรรมและปรากฎการณ์ที่สนใจ ด้วยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามความจริงในทุกมิติ ให้ความสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้คุณค่าและความหมาย กับปัจจัยต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือการสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง โดยโดยทั่วไปจะใช้เวลานานในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามสิ่งที่สนใจศึกษาในระยะยาว การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่มุ่งเน้นใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive)

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ
1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายและคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล
2. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรม ตลอดบริบทของสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันตามสภาพความเป็นจริงในภาพรวมโดยการมองจากหลายแง่มุม มักจะมีการวิจัยในสนาม (Field research)
3. เป็นการศึกษา รวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์ และติดตามระยะยาวและเจาะลึกเพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์สังคม
4. การวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัยโดยการเข้าไปสัมผัส สร้างความสนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ
5. ใช้การพรรณนาหรือบรรยายความให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของชุมชนหรือกรณีที่ศึกษา ตลอดจนใช้การวิเคราะห์ตีความโดยนำข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กรณีเพื่อสรุปเป็นเชิงนามธรรม
6. ผู้วิจัยจะนำความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวเข้าไปรวมอยู่ด้วย
ข้อดีและข้อด้อยการวิจัยเชิงคุณภาพ
ข้อดีของวิจัยเชิงคุณภาพ
1. สามารถลงลึกในรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในแนวราบและแนวดิ่งได้มากตามที่ต้องการ เพราะเป็นการศึกษาขนาดเล็กหรือจำกัดการศึกษาวิจัยในบางกลุ่ม บางสถานการณ์
2.การวิจัยเชิงคุณภาพมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ การเลือกใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล รวมไปถึงการดำเนินการวิจัย
3.การวิจัยเชิงคุณภาพสามารถใช้ข้อมูลได้หลากหลายชนิด ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเรื่องเดียวกัน
4.ใช้วิธีเก็บข้อมูลได้อย่างหลากหลายวิธี ในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน
5.เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นถึงสิทธิและความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญมาก กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างไม่ใช่เป็นเพียงผู้ถูกกระทำเท่านั้น หากแต่ยังต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยนั้น
ข้อด้อยของวิจัยเชิงคุณภาพ
1.ไม่เหมาะสำหรับการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพต้องมีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อรวบรวมรายละเอียดเชิงลึกซึ่งไม่เหมาะกับการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่
2.เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการวิจัย ซึ่งหากผู้วิจัยมีประสบการณ์น้อยหรือไม่เพียงพอ จะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของการใช้เครื่องมือ และความถูกต้องตรงประเด็นของผลการศึกษา
3.ส่วนใหญ่การวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจง ทำให้การนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้าง เป็นไปอย่างมีข้อจำกัด
4.กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุปสำหรับเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ค่อนข้างจะเป็นอัติวิสัย
5.ไม่เหมาะสำหรับใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิดทฤษฏี
ทั้งการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ล้วนแล้วแต่เป็นเทคนิคการทำวิจัยที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น งานวิจัยที่ต้องการมุ่งเน้นผลลัพธ์หรือผลการศึกษาที่มีประโยชน์ มีคุณค่าในเชิงวิชาการและการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาและการกำหนดนโยบายในระดับองค์กรจึงมีใช้เทคนิคการทำวิจัยทั้งสองแบบควบคู่กัน หรือการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในการวิจัยหรือการเรียนระดับสูง โดยเฉพาะในระดับปริญญาเอก ทั้งหลักสูตร PH.D และ DBA. ซึ่งมีการใช้เทคนิคการทำวิจัยแบบผสมผสานเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ เช่น บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และรัฐประสาสนศาสตร์ โลจิสติกส์และจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนงานวิจัยสายสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่มีจำนวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย
