รับทำแบบสอบถาม รับออกแบบแบบสอบถามเพื่องานวิจัย

รับทำแบบสอบถาม   รับออกแบบแบบสอบถามเพื่องานวิจัย

รับทำวิจัยเชิงปริมาณ  รับทำแบบสอบถาม   รับออกแบบแบบสอบถาม เพื่องานวิจัย ทั้งวิจัยระดับปริญญาเอก (ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาโท (วิทยานิพนธ์) รวมถึงงานวิจัยในรูปแบบ การค้นคว้าอิสระ (IS) ภาคนิพนธ์ และสารนิพนธ์

รับเก็บแบบสอบถาม  รับทำแบบสอบถาม รับออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และการทำวิจัยทุกประเภท

แบบสอบถาม หมายถึง รูปแบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต แบบสอบถามประกอบด้วยรายการคำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ การ
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น การสร้างคำถามเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้วิจัยเพราะว่าผู้วิจัยอาจไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายความหมายต่าง ๆ ของข้อคำถามที่ต้องการเก็บรวบรวม

แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะการเก็บรวบรวมข้อมูลสะดวก และสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์หรือให้ผู้ตอบด้วยตนเอง

  • รับทำแบบสอบถาม
  • บริการออกแบบแบบสอบถาม
  • รับทำโครงสร้างแบบสอบถาม
  • รับแก้ไขแบบสอบถาม
  • คำนวณค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม

บริการรับทำแบบสอบถาม เก็บแบบสอบถาม เก็บแบบสอบถามออนไลน์  พร้อมลงรหัส (Coding) พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งสถิติเชิงพรรณา และการทดสอบสมมติฐาน จ้างทำโปรแกรมSPSS  รับวิเคราะห์แบบสอบถามด้วยEVIEW โปรแกรม STATA  AMOS และ LISREL

รับทำแบบสอบถาม รับออกแบบแบบสอบถาม รับแก้ไขแบบสอบถาม
รับทำแบบสอบถาม รับออกแบบแบบสอบถาม รับแก้ไขแบบสอบถาม

มืออาชีพสำหรับการทำแบบสอบถาม

เนื่องจากแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก เพราะการเก็บรวมรวมข้อมูลสะดวกและสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์ด้วยตัวเองหรือให้ผู้ตอบตอบด้วยตนเอง
หลักการสร้างแบบสอบถาม
1. แบบสอบถามต้องมีข้อคำถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
2. เป็นแบบสอบถามที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ตอบ
3. มีการใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ
4. แต่ละคำถามของแบบสอบถามควรมีนัยเพียงประเด็นเดียว
5. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อนในข้อคำถาม
6. ไม่ควรใช้คำย่อเนื่องจากอาจทำให้เกิดความสับสนสำหรับผู้กรอกแบบสอบถาม
7. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมาก
8. ไม่ชี้นำการตอบให้เป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
9. หลีกเลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ
10. คำตอบที่มีให้เลือกต้องชัดเจนและครอบคลุมคำตอบที่เป็นไปได้
11. หลีกเลี่ยงคำที่สื่อความหมายหลายอย่าง

12. ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนมากเกินไป ไม่ควรให้ผู้ตอบใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามนาน
เกินไป
13. ข้อคำถามควรถามประเด็นที่เฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายของการวิจัย
14. คำถามต้องน่าสนใจสามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากตอบ

โครงสร้างของแบบสอบถาม

สำหรับโครงสร้างของแบบสอบถามโดยทั่วไป ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
1. หนังสือนำหรือคำชี้แจง โดยมากมักจะอยู่ส่วนแรกของแบบสอบถาม อาจมีจดหมายนำอยู่ด้านหน้าพร้อมคำขอบคุณ โดยคำชี้แจงมักจะระบุถึงจุดประสงค์ที่ให้ตอบแบบสอบถาม การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์คำอธิบายลักษณะของแบบสอบถาม วิธีการตอบแบบสอบถามพร้อมตัวอย่าง ชื่อ และที่อยู่ของผู้วิจัย ประเด็นที่สำคัญคือการแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ตอบมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบไปจะไม่ถูกเปิดเผย
เป็นรายบุคคล จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ตอบ และมีการพิทักษ์สิทธิของผู้ตอบด้วย
2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว เช่น เพศ อายุระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น การที่จะถามข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับกรอบแนวความคิดในการวิจัย โดยดูว่าตัวแปรที่สนใจจะศึกษานั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และควรถามเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในการวิจัยเท่านั้น
3. คำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือตัวแปรที่จะวัด เป็นความคิดเห็นของผู้ตอบในเรื่องของคุณลักษณะ หรือตัวแปรนั้น

ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถาม
2. ระบุเนื้อหาหรือประเด็นหลักที่จะถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน
3. กำหนดประเภทของค าถามโดยอาจจะเป็นค าถามปลายเปิดหรือปลายปิด
4. ร่างแบบสอบถาม โครงสร้างแบบสอบถามอาจแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
4.1 ข้อมูลเบื้องต้น/ข้อมูลทั่วไป
4.2 ข้อมูลหลักเกี่ยวกับเรื่องที่จะถาม
4.3 ข้อเสนอแนะ
5. ตรวจสอบข้อคำถามว่าครอบคลุมเรื่องที่จะวัดตามวัตถุประสงค์หรือไม่
6. ให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหาและภาษาที่ใช้
7. ทดลองใช้แบบสอบถามเพื่อดูความเป็นปรนัย ความเชื่อมั่นและเพื่อประมาณเวลาที่ใช้
8. ปรับปรุงแก้ไข
9. จัดพิมพ์และทำคู่มือ

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

เมื่อได้สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลแล้วเครื่องมือต้องมีคุณภาพที่ดี เพื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมวิเคราะห์ แล้วนำเสนอข้อมูลมีความน่าเชื่อถือเมื่อนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจผิดพลาดน้อยที่สุด คุณภาพของเครื่องมือรวบรวมพิจารณาคุณลักษณะ ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Validity)
2. ความเชื่อมั่น (Reliability)
3. ความยากง่ายและอ านาจจำแนก (Difficulty and Discrimination)
4. ความเป็นปรนัย (Objectivity)

เทคนิคการใช้แบบสอบถาม
วิธีใช้แบบสอบถามมี2 วิธีคือการส่งทางไปรษณีย์กับการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งไม่ว่ากรณีใด  ต้องมีจดหมายระบุวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ตลอดจนความสำคัญของข้อมูลและผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้ผู้ตอบตระหนักถึงความสำคัญและสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม

อ้างอิง

1 /2/3/4