การใช้AIในการทำวิจัย

การใช้AIในการทำวิจัย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่ยุคของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) อย่างสมบูรณ์แบบ ส่งผลให้ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กจะต้องเร่งปรับตัวพัฒนาให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง การใช้AIในการทำวิจัย การประยุกต์ใช้งาน AI กับงานด้านต่างๆ แทนมนุษย์สามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือบางงานสามารถทำได้ดีกว่ามนุษย์ รวมทั้ง การใช้AIทำงานด้านวิจัย เช่นเดียวกัน ดังนั้นนักวิจัย นักศึกษาที่ต้องทำวิจัย ที่ต้องการตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเร่งทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน AI โดยผู้เริ่มต้นย่อมได้รับประโยชน์  นอกจากนี้องค์กรน้อยใหญ่ยังสามารถใช้ AI สำหรับพัฒนาการทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ สร้างมูลค่า พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

โดยทั่วไป ปัญญาประดิษฐ์ที่นำมาใช้ในงานวิจัย จะมีความเกี่ยวข้องกับ Generative Artificial Intelligence (GenAI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างเนื้อหาแบบอัตโนมัติ  ด้วยการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ (natural-language conversational interfaces) เพื่อตอบสนองต่อข้อมูลที่ถูกป้อน (prompt) (UNESCO, 2023) โดย GenAI ที่เป็นที่รู้จักกันดี และทำให้เกิดกระแสการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานเขียนต่าง ๆ ก็คือ Chat GPT ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานรายเดือน (monthly active user) กว่า 100 ล้านราย ณ เดือนมกราคม 2566 (UNESCO, 2023)

นอกจาก Chat GPT แล้ว ยังมีปัญญาประดิษฐ์อีกหลายตัวที่ถูกนำมาใช้ในงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสรุปเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อการเขียนและปรับปรุงเนื้อหา เป็นต้น ซึ่งผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความของ Robert F. J. Pinzolits (2023) และเว็บไซต์ Master Academia

การใช้AIในการทำวิจัย
การใช้AIในการทำวิจัย

ประโยชน์ การใช้AIในการทำวิจัย

  1. AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำวิจัยในการเข้าถึงข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการแปลความและตีความหมายผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว
  2. ผู้วิจัยสามารถใช้ AI ในการลดเวลาในการทำงานวิจัย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากร โดยAI ช่วยทำให้นักวิจัยทำงานได้เร็วขึ้น มีโอกาสสร้างผลงานที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  3. AI ช่วยสร้างโอกาสในการค้นพบความรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการช่วยทำวิจัย และช่วยค้นหาข้อค้นพบผลการวิจัยและความรู้ วิทยาการใหม่ๆ ที่การทำวิจัยแบบเดิมทำได้ช้าหรือทำไม่ได้เลย
  4. สามารถช่วยให้ทำงานวิจัยได้อย่างหลากหลายสาขา ทั้งด้านสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ แม้กระทั่งงานวิจัยด้านกฎหมาย นิติศาสตร์  ผู้วิจัยก็สามารถใช้ AI ในการช่วยทำวิจัยได้เช่นกัน
  5. AI สามารถแก้ปัญหาที่มนุษย์ทำไม่ได้หรือทำได้ยาก ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถสร้างผลงานที่สร้างสรรค์และสร้างเสริมความคิดใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายด้วยการใช้ AI

เทคนิคการใช้AIในการทำวิจัย

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) เพื่อช่วยทำงานวิจัยเป็นหนึ่งในการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสาขาต่าง ๆ อาทิ การแพทย์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, การวิจัยด้านสังคม และหลายสาขาอื่น ๆ ที่ต้องการการสร้างความเข้าใจลึกซึ้งและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน วันนี้มาแนะนำ 4 Ai ที่จะช่วยให้การทำวิจัยรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 4 เทคนิคสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. ChatGPT

ChatGPT เป็น Chatbot มีความสามารถในระดับสูง หรือหากเป็นมนุษย์คือระดับมหาอัจฉริยะ กล่าวคือ สามารถที่จะเรียนรู้ข้อมูลได้อย่างมากมายมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ก่อนที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นทั้งหมดเพื่อทำงานสำคัญในขั้นตอนต่อไป คือ มา การวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลข้อมูลดังกล่าว นำไปสู่การตอบข้อสงสัยและประเด็นคำถาม ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์แบบและครอบคลุมในหลายมิติ ทั้งในส่วนของการให้ข้อมูลต่าง ๆ  ทั้งนี้ผู้ใช้งาน AI สามารถนำมาประยุทต์ใช้กับงานวิจัยได้ในทุกขั้นตอน เช่น ใช้สำรวจไอเดีย อธิบายหัวข้อที่เราสนใจ สรุปบทความ รวมไปถึงการตอบคำถามต่างๆที่เราอยากรู้

  1. SciSpace

SciSpace คือแพลตฟอร์มที่รวบรวมบทความวิจัยจำนวนมากมหาศาลถึง 137.8 ล้านบทความ ซึ่งมีการตีพิมพ์ระหว่างปี 1800-2023  โดยผู้ใช้งานสามารถค้นหาบทความวิจัยต่างๆ ที่เราสนใจได้ และ Highlight อันโดดเด่นของ SciSpace คือ Chatbot Copilot ที่สามารถสนทนา ถาม-ตอบ เกี่ยวการอ่านทำความเข้าใจ และเรียนรู้ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งเนื้อหาในบทความรวมถึงการอธิบายภาพหรือตารางในบทความ หรือแม้กระทั่งการสรุปข้อมูลเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น

  1. Quillbot

Quillbot เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้การพิมพ์หรือเขียนงานภาษาอังกฤษได้อย่างกับเราเป็นเจ้าของภาษา ด้วยการทำงานของ AI มีฟีเจอร์หลากหลาย เช่น Paraphrase ประโยคให้สละสลวย
นอกจากนี้สามารถสรุปใจความสำคัญของประโยคให้สั้นกระชับ แก้ Grammar ให้ไม่มีพลาด แถมช่วยเขียน Citation หรืออ้างอิงได้อีกด้วย

  1. grammarly

Grammarly หรือ การตรวจสอบความถูกต้องไวยากรณ์ คือเครื่องมือตรวจคำและไวยากรณ์ออนไลน์ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อช่วยคนเขียนและผู้ใช้ทั่วไปปรับปรุงคุณภาพของข้อความเป็นภาษาอังกฤษ. การใช้ Grammarly ช่วยแก้คำผิด ตรวจการใช้คำและไวยากรณ์ผิดพลาด และแสดงข้อเสนอแนะเพื่อที่จะปรับปรุงความถูกต้องและคุณภาพของข้อความ.

อย่างไรก็ตาม AI เป็นแค่เครื่องมือที่ช่วยให้การทำวิจัยสะดวกยิ่งขึ้นเท่านั้น และควรมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อไม่ให้ผิดจริยธรรมการวิจัย

ข้อจำกัดของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานวิจัย

แม้ว่าการใช้ AI จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดเวลาในการทำวิจัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำวิจัยอย่างยิ่ง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการ อาทิเช่น :

จากรายงานของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO)   Guidance for generative AI in education and research (2023) เพื่อเป็นคำแนะนำสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ/นโยบายระยะยาวในการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาและงานวิจัย โดยที่ยังคงมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (human-centred vision) (UNESCO, 2023)

ข้อถกเถียงสำคัญของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการทำผลงานวิขาการ และการทำงานวิจัยที่ UNESCO ได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาไว้ มีประเด็นที่สำคัญหลายอย่าง เช่น  การซ้ำเติมความยากจนทางดิจิตอล (worsening digital poverty) โดยเฉพาะประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต่อการประมวลข้อมูลของปัญญาประดิษฐ์ การนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือการสร้างเนื้อหาปลอมจากข้อมูลที่มีอยู่ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าข้อถกเถียงหลายประเด็นยังเป็นเรื่องใหม่ และยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. หัวข้อวิจัยด้าน AI

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก

รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์