เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย การกำหนดหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์
การเลือกหัวข้อวิจัย เป็นบันไดขั้นแรก เป็นประตูบานแรก ของความสำเร็จสำหรับการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ หากนักวิจัยกำหนดหัวข้อวิจัยที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้สูง ที่จะสามารถทำงานวิจัยในขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยต่อไป ให้สำเร็จลุล่วง มีประสิทธิภาพ และเสร็จตามกำหนดเวลา
เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย ให้ประสบผลสำเร็จ ผ่านการอนุมัติ และเป็นหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ
จากประสบการณ์ การทำวิจัยปริญญาเอก รับทำดุษฎีนิพนธ์ แบบที่ปรึกษาและผู้ช่วยวิจัยมากกว่า 17 ปี ทั้งดุษฎีนิพนธ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถสรุปเทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย 5 ข้อ
1.เลือกหัวข้อวิจัย จากประสบการณ์ ความชอบ และความต้องการส่วนตัว
สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ระดับมหาบัณฑิต(ปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วระดับหนึ่ง ย่อมมีไอเดียการหาหัวข้อวิจัยที่เป็นความต้องการส่วนตัว เช่น หากทำงานในธุรกิจสายการบิน โดยดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการสายการบิน ว่าในทางทฤษฎีการบริหารจัดการ หรือ การตลาด สามารถวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินได้ด้วยแนวคิดอะไร หรือทฤษฎีของใคร และมีปัจจัย (variable)ใดบ้างที่คาดว่าจะมีผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินเป็นต้น
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน หรือเป็นผู้ที่เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอกโดยที่ยังไม่เคยทำงานในองค์กรใดมาก่อน อาจหาหัวข้อได้จากความชอบ ความสนใจส่วนตัว ซึ่งต้องมีความรู้พื้นฐานในด้านนั้นๆมาระดับหนึ่ง เช่น เป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ ประเภทพันธบัตรทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ (ภาคเอกชน) และมีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับแบบจำลองที่สามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์ความผันผวน(Volatility) ความเสี่ยง (Risk) รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค (Macro Economics Variable) และปัจจัยเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนการส่งผ่านความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศมีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อราคาหรือความผันผวนของพันธบัตรและหุ้นกู้ ซึ่งหากเป็นหัวข้อวิจัยเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้อง และตรงกับความสนใจและความชอบส่วนตัว จะทำให้ผู้ทำวิจัย และ วิทยานิพนธ์ มีความกระตือรือร้นในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ และทำให้งานวิจัยที่ได้รับมีคุณภาพ อีกทั้งยังทำให้ผู้ทำวิจัยมีความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้งในแง่มุมต่างๆของงานวิจัย ทำให้สามารถสอบป้องกันวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่นมากที่สุด
2.เป็นหัวข้อวิจัยที่ตรงกับหน่วยงานที่ทำอยู่หรือต้องการไปทำ
การเลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ที่ตรงหรือสอดคล้องกับหน่วยงานหรือผู้ที่ให้ทุนทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ มีความสำคัญมากเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นงานวิจัยที่ต้องใช้สรรพกำลัง ใช้เงิน ใช้เวลาในการทำงานวิจัยค่อนข้างมาก การได้รับทุนวิจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ทำวิจัยสามารถทำงานวิจัยได้อย่างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เช่น งานวิจัยที่ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก และต้องลงพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งต้องใช้งบประมาณ ใช้เวลา และใช้กำลังคน ในการทำงานขั้นตอนนี้ค่อนข้างมาก การตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานและเจ้าของทุน ย่อมทำให้มีโอกาสได้รับทุนวิจัย
อนึ่ง ปัจจุบันผู้ทำวิจัยสามารถสำรวจการให้ทุนทำวิจัย ทุนทำวิทยานิพนธ์ ทุนทำดุษฎีนิพนธ์ และรายงานวิจัยต่างๆ ที่มักจะมีประกาศในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นจำนวนมาก หากผู้ทำวิจัยมีความประสงค์จะทำงานวิจัยที่สามารถได้รับทุนวิจัยต่างๆ เหล่านี้ สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์หรือเพจของหน่วยงานต่างๆ ได้ก่อนเริ่มทำวิจัย ซึ่งการเลือกหัวข้อวิจัยจากการได้รับทุนทำวิจัยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการคิดหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่น่าสนใจ
2.เลือกหัวข้อวิจัยจากความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือเจ้าของทุน
จำนวนไม่น้อยของการเลือกหัวข้อวิจัย ที่สามารถสอบถามพูดคุยกับความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ของผู้ทำวิจัย ซึ่งการเลือกหัวข้อวิจัยจากความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ อาจารย์ที่ควบคุมดูแลความคืบหน้าของงานวิจัย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการทำวิจัย ที่มีโอกาสำเร็จและประสบความสำเร็จมากที่สุดวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการที่อาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ที่คอยตรวจสอบและอนุมัติรายละเอียดต่างๆ ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์แล้ว อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสาขาหรือในศาสตร์เหล่านั้น และยังเป็นผู้ที่ทราบความเคลื่อนไหวและทิศทางของวิจัยที่กำลังได้รับความนิยม หรือได้รับความสนใจทั้งในแวดวงวิชาการ หรือ นอกแวดวงวิชาการ ทำให้สามารถคัดกรองหรือเสนอหัวข้อวิจัยที่สอดคล้อง และมีความเหมาะสมกับการทำวิจัยในศาสตร์หรือสาขานั้นๆ ในช่วงเวลานั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
3.หัวข้อที่มาจากการอ่านหรือทบทวนเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การเลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ด้วยการอ่านจากหนังสือ บทความ ตำรา เอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมไปถึงปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ที่มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ในฐานข้อมูลหรือวารสารวิชาการต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะทำให้ทราบถึงทิศทางและช่องว่างหรือโอกาสที่นักวิจัยจะสามารถทำวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยต่างๆ เหล่านั้นได้ โดยอาจนำข้อค้นพบจากงานวิจัยและข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเล่มก่อนที่ผู้ทำวิจัยเล่มนั้นๆ ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ว่าทิศทางในการทำวิจัยในหัวข้อเหล่านั้น ควรดำเนินการต่ออย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการต่อยอดและทำให้งานวิจัยในสาขานั้นๆ มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นได้ โดยในการอ่านงานวิจัยในอดีต เมื่ออ่านแล้วอาจจะเกิดแนวความคิดในการเลือกหัวข้อ หรือ ปัญหาการทำวิจัยได้ และจะทราบว่ามีใครทำงานวิจัยอะไรบ้าง ซึ่งยังลดโอกาสในการทำหัวข้อวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่นได้ด้วย
นอกจากนี้แล้ว หากเป็นไปได้ ผู้ทำวิจัยควรเลือกการทำวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การทำวิจัยเชิงปริมาณมีข้อดีและทำให้การทำวิจัยสำเร็จได้รวดเร็ว ดังนี้
1.มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน สามารถหาคำตอบได้
2.ลักษณะการดำเนินงานวิจัย มีระบบที่แน่นอน สามารถศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ได้
3.กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีจำนวนมาก สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้างได้
4.กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุป มีรูปแบบตายตัว ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงแม่นยำ เที่ยงตรง เพราะใช้วิธีการทางสถิติ
5.สามารถนำมาใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิด ทฤษฏีได้
4. เลือกหัวข้อวิจัย ที่ปัญหาหรือเป็นหัวข้อวิจัยที่มีคุณค่า
ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทําวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ ใหม่และเสริมทฤษฎีอีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงานต่อไป สอดคล้องกับปรัชญาของการทำวิจัยทุกประเภท ทั้งวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ คือ เริ่มจากการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะทฤษฎีที่อยู่ในโปรแกรมการเรียนการสอนต่างๆ เหล่านั้น นำไปประยุกต์ใช้สำหรับการนำมาซึ่ง solution ที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้เรียน ผู้ปฏิบัติงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนนั้น
ลักษณะของปัญหาวิจัยที่ดี
- เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำไปปรับปรุง แก้ไข ประยุกต์ฺใช้ได้จริง
- เป็นปัญหาวิจัยที่สามารถหาคำตอบได้ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิจัย
- เป็นปัญหาที่สามาารถให้คำนิยามปัญหาได้
- เป็นปัญหาวิจัยที่สามารถวางแผนการดำเนินงาน หรือขั้นตอนการทำงานต่างๆ ไว้ล่วงหน้า รวมทั้งต้องมองเห็นโอกาสที่จะทำได้สำเร็จ
- เป็นปัยหาที่ต้องไม่เกินกำลังความสามารถของผู้ทำวิจัยที่จะทำให้เสร็จ ทั้งสำเร็จแบบมีคุณภาพ และเสร็จทันกำหนดเวลา
5. เลือกหัวข้อวิจัย ที่อยู่ในวิจัยที่จะทำได้
หลักการเลือกหัวข้อวิจัยที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้นี้ ถือได้ว่าเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ เพราะการทำวิจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด วิจัยในศาสตร์หรือสาขาใดก็ตาม ย่อมต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลา และกำลังคน ด้วยเหตุนี้ ในการตัดสินใจว่าจะทำการวิจัยในหัวข้อใดจะต้องคำนึงถึงว่า หัวข้อนั้น มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ทั้งในตัวของมันเองและเมื่อเปรียบเทียบกับหัวข้ออื่นๆ โดยเรื่องที่จะวิจัยมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือเหมาะสมในแง่ความ สามารถ การเก็บข้อมูล ความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูล การเดินทาง ทรัพยากร ระยะเวลา อันตรายหรือความเสี่ยง ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะต้องเสนอขอรับทุนจากผู้อื่นด้วย และให้พิจารณาสิ่งสนับสนุนการทำวิจัย (Scope the Research)
ตัวอย่าง หัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรนวัตกรรม (Innovcative Oeganization) และ ความสามารถในการแข่งขัน ของผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมชลบุรี
- ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (Structural Model) ของปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning Organization) ความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน (Sustainable Performance) ของผู้ประกอบธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย
- การศึกษาความสม่ำเสมอของผลกำไร การจ่ายเงินปันผล และราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
- ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration) และ การปรับตัวระยะสั้น (Error Correction Model :ECM) ระหว่างปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเกิดวิกฤติกาณ์ การแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด – 19
อ้างอิง:
1.Choose a Great Thesis Topic in 4 Easy Steps!
2.5 Tips for Selecting a Thesis Topic