การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)
แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค วิธีการ การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)
การวิเคราะห์ตลาด หรือ Market Analysis คือ การประเมิน (Estimate/Compute) และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งองค์กรธุรกิจอย่างละเอียด ได้แก่ ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย, พฤติกรรมผู้บริโภค, ลักษณะการซื้อ รวมไปถึงคู่แข่งในตลาด และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อนำไปสู่การวางแผนธุรกิจ ประเมินความเสี่ยง และประเมินผลตอบรับ นำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อพัฒนาธุรกิจต่อไปได้ อีกทั้งทำให้สามารถมองเห็นแผนในอนาคต และตั้งเป้าหมายได้อย่างถูกต้องที่สุด เพื่อให้สามารถดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ได้ การวิเคราะห์การตลาดสามารถทำได้ตั้งแต่ผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มธุรกิจ หรือใช้กับธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ได้เช่นกัน สามารถทำได้ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจ และธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่
ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของสินค้า การตั้งราคาขาย ไปจนถึงการสร้างแผนการตลาดที่สามารถสร้างยอดขายได้ในระยะยาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเริ่มธุรกิจให้ ‘อยู่ได้’ และ ‘ประสบความสำเร็จ’ จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในตลาด ทั้งในแง่มุมของคู่แข่ง กลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนทิศทางของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวม จากนั้นจึงวิเคราะห์ตลาดอย่างรอบคอบในทุกแง่มุม เพื่อสร้างแผนธุรกิจที่เหมาะสมและทำให้ธุรกิจ ‘อยู่ได้’ และ ‘มีโอกาสเติบโต’ ในระยะยาวการวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) ไม่ได้เป็นการจับกลุ่มธุรกิจคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันมาวิเคราะห์หาจุดเด่นและจุดด้อยเท่านั้น แต่จะเป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านมาวิเคราะห์อย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจปล่อยสินค้า เริ่มแคมเปญ หรือ ดำเนินการทางการตลาดตามจุดประสงค์ที่ต้องการ
การวิเคราะห์ตลาดนี้จะครอบคลุมไปถึงตัวตน ความชอบ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในทุกแง่มุม ทิศทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ทั้งหมดของคู่แข่งในตลาด ตลอดจนแนวโน้มของตลาดในระยะสั้นและระยะยาว โดยธุรกิจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อสร้างแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกแง่มุมได้
6 องค์ประกอบสำคัญของการวิเคราะห์การตลาด
- การวิเคราะห์ตลาดที่เกี่ยวกับธุรกิจ ทำความเข้าใจถึงภาพรวมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทิศทางในการทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
- วิเคราะห์คู่แข่งในตลาด รู้ว่าใครคือคู่แข่งบ้าง และหาวิธีสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์และสินค้าของคุณ
- หาช่องว่างของตลาด อย่างการค้นหาปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ไขหรือความต้องการที่ยังไม่มีใครให้กับลูกค้าได้ในตลาดของคุณ เพื่อนำมาใช้พัฒนาเป็นจุดแข็งให้กับสินค้าได้
- กำหนดเป้าหมายตลาดของคุณ อย่างการรู้จักลักษณะ นิสัยเฉพาะของลูกค้า และปรับเปลี่ยนข้อเสนอทางการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาได้
- วิเคราะห์อุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อจัดการกับอุปสรรคนั้นอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น
- ประมาณการยอดขายในอนาคตเพื่อให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ
การวิเคราะห์ตลาด จำเป็นต่อธุรกิจแค่ไหน?
การวิเคราะห์ตลาด นอกจากจะช่วยให้เริ่มต้นธุรกิจได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจ ‘อยู่ได้’ และ ‘สร้างโอกาสเติบโต’ ในระยะยาว เนื่องจากเหตุผล 2 ข้อสำคัญ ดังนี้
1. ตัวช่วยวางแผนรับมือความเสี่ยง
เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า การวิเคราะห์ตลาดมีความสำคัญในช่วงการเริ่มธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ตลาดอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน ทุกไตรมาส หรือทุกปี เพื่อให้ธุรกิจเท่าทันและสามารถวางแผนรับมือความเปลี่ยนแปลงที่นำมาซึ่งความเสี่ยงได้
อีกทั้งการวิเคราะห์ตลาดอยู่เสมอยังสามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนความผันผวนของเศรษฐกิจที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรม คู่แข่ง ตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายและตัวตนของผู้บริโภค เมื่อทำความเข้าใจภาพรวมและทิศทางตลาดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถวางแผนรับมือความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญ การวิเคราะห์ตลาดยังสามารถช่วยให้ธุรกิจเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองในหลากหลายแง่มุม ส่งผลให้สามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจลดความเสี่ยงที่จะเสียต้นทุนที่ไม่จำเป็นไปกับการแก้ปัญหาได้อีกด้วย
2. ผู้ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งและเพิ่มโอกาสธุรกิจ
ยิ่งรู้จักลูกค้าและทิศทางตลาดมากเท่าไหร่ ธุรกิจก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น โดยการวิเคราะห์ตลาดอยู่เป็นประจำนี้ นอกจากจะช่วยให้ธุรกิจเท่าทันความเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจรู้จักกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียด ทั้งพฤติกรรมการใช้จ่าย ความชอบ จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้า ตลอดจนมีการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะเจาะจง เพื่อวางแผนการออกผลิตภัณฑ์และสร้างแผนการตลาดที่ตอบโจทย์มากที่สุด ส่งผลให้มีโอกาสเพิ่มยอดขายและบรรลุจุดประสงค์การตลาดในแต่ละไตรมาสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตลาดยังช่วยให้ธุรกิจเข้าใจคู่แข่งได้อย่างรอบด้าน ทำให้สามารถโฟกัสคู่แข่งตามกลุ่มเป้าหมายและประเภทของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้น การวิเคราะห์และพิจารณาตลาดยังช่วยให้ธุรกิจรู้ถึงสัดส่วนทางการตลาด จนสามารถเปรียบเทียบคู่แข่งเพื่อวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย และแนวทางการพัฒนาธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งได้ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสการเติบโตในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจเริ่มวิเคราะห์ตลาดได้อย่างไร?
จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ตลาดถือเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว อย่างไรก็ดี สำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้ใช้บริการ Market Research หรือ ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์ตลาด แต่อยากมองเห็นภาพรวมของตลาดอย่างละเอียดและรอบด้าน จนสามารถสร้างแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองมาเริ่มวิเคราะห์ตลาดเบื้องต้นได้ตาม 5 ขั้นตอน เหล่านี้
1. กำหนดจุดประสงค์การวิเคราะห์
ก่อนที่จะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการทราบ ธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยกำหนดทิศทางในการวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นการสร้างแผนในการสำรวจตลาดที่เหมาะสม
เช่น หากต้องการสร้างธุรกิจใหม่ ธุรกิจสามารถกำหนดจุดประสงค์การวิเคราะห์เป็นการหากลุ่ม Potential Customer หรือ หากต้องการต่อยอดธุรกิจเดิม ขยายฐานลูกค้า หรือ ต้องการเพิ่มการแข่งขันด้านส่วนแบ่งทางการตลาด ธุรกิจก็จะสามารถกำหนดจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ หรือเป็นการทำ Business Operation Development ก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี ธุรกิจควรเลือกวิเคราะห์ตลาดตามจุดประสงค์ที่แยกกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพสูงสุด จนสามารถนำมาต่อยอดตามเป้าหมายที่ต้องการได้
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
หลังจากที่กำหนดจุดประสงค์ของการวิเคราะห์ตลาด ตลอดจนมีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์จนได้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่พร้อมนำมาใช้งานเรียบร้อย ในส่วนนี้ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มลูกค้าที่สนใจ เพื่อวางแผนธุรกิจที่เหมาะสมต่อไป
เช่น มีการสำรวจตลาดผ่านการนำข้อมูลจากภาครัฐ ภาคเอกชน ข้อมูลจากสมาคมการค้า ข้อมูลเชิงลึกในแต่ละอุตสาหกรรม ตลอดจนแบบสอบถามของลูกค้ามาประมวลผล จากนั้นจึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ พร้อมสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่สนใจได้จริง ๆ
3. กำหนดคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
หลังจากที่ทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่สนใจตามจุดประสงค์ต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อย ในขั้นตอนถัดไปจะเป็นการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งหมดในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ธุรกิจมองเห็นจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละแบรนด์ จากนั้นจึงสามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งในทุกมุมมอง
การวิเคราะห์คู่แข่งในส่วนนี้เริ่มต้นได้จากการพิจารณาธุรกิจที่ให้บริการในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน จากนั้นจึงวิเคราะห์ถึงส่วนแบ่งทางการตลาด ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มลูกค้าแต่ละแบรนด์ เพื่อดูถึงเหตุผลที่ลูกค้ายอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์คู่แข่ง จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างแผนพัฒนาธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่ง จนสร้างฐานลูกค้าและยอดขายในระยะยาวได้
4. กำหนดตำแหน่งธุรกิจในตลาด
ไม่เพียงแต่จะต้องเข้าใจคู่แข่งในตลาดอย่างรอบด้านเท่านั้น แต่ธุรกิจยังควรวางตำแหน่ง (Brand Position) ในตลาดให้เหมาะสมอีกด้วย โดยเมื่อได้ข้อเปรียบเทียบจากการวิเคราะห์คู่แข่งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ธุรกิจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยด้วย SWOT Analysis แบ่งตำแหน่งธุรกิจตามแนวแกน X และ แกน Y
เช่น แกน X แนวนอนอาจจะกำหนดเป็นประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ในขณะที่แกน Y แนวตั้งอาจจะกำหนดเป็นราคาของผลิตภัณฑ์ จากนั้นให้ลองนำคู่แข่งจากอุตสาหกรรมเดียวกันวางตามแนวแกน X และ Y เพียงเท่านี้ ธุรกิจก็จะได้เห็น Brand Position ของคู่แข่งได้ชัดเจน ตลอดจนข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์คู่แข่งในแง่มุมต่าง ๆ ทำให้สามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจให้อยู่เหนือกว่าได้
5. ศึกษารายละเอียดเฉพาะของธุรกิจ
หลังจากที่วิเคราะห์ทิศทางตลาด อุตสาหกรรม คู่แข่ง ตลอดจนเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก่อนที่จะนำแผนที่สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกไปพัฒนาธุรกิจ อย่าลืมศึกษาและนำรายละเอียดเฉพาะของธุรกิจแต่ละแห่งมาพิจารณาร่วมกันด้วย
ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภาษีเฉพาะของธุรกิจ ข้อบังคับจากภาครัฐเกี่ยวกับการผลิต การจัดส่ง และการจัดจำหน่าย การตลาดในแต่ละแพลตฟอร์ม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในทุกแง่มุม
อ้างอิง
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย