การวิเคราะห์งบการเงิน

การวิเคราะห์งบการเงิน

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับงบการเงิน และ การวิเคราะห์งบการเงิน

งบการเงินหมายถึง รายงานทางการเงินเพื่อนำ เสนอฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการอย่างมีแบบแผน ประกอบดว้ย
งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และหมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ โดยฝ่ายผู้บริหารจัดทำขึ้น ตามมาตรฐานการเงิน อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อข้อมูลเกี่ยวกับฐษนะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ  ดังนั้น  การวิเคราะห์งบการเงิน คือ การใช้เครื่องมือต่างๆ มาประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทหรือกิจการ โดยพิจารณาจากงบการเงิน ให้ทราบถึงฐานะและความมั่นคงของบริษัทหรือกิจการนั้น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับการตัดสินใจลงทุน

นอกจากนี้ การวิเคราะห์งบการเงิน หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆ มาประเมินผลการดําเนินงานของบริษัท โดยพิจารณาจากงบการเงิน ให้ทราบถึงฐานะและความมั่นคงของบริษัทนั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจตาม วัตถุประสงค์ของผู้วิเคราะห์งบการเงิน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2545, หน้า 5)

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์ การวิเคราะห์งบการเงิน
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์ การวิเคราะห์งบการเงิน

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนทางการเงิน คือ การนำตัวเลขทางการเงินมาพิจารณา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ถึง ฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของธุรกิจในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของธุรกิจประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นวิธีที่นำข้อมูลทางการเงินต่างๆ มาคำนวณในรูปแบบ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น อัตราส่วนทางการเงิน จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ให้คำตอบกับผู้วิเคราะห์และผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ

การวิเคราะห์งบการเงินสามารถวิเคราะห์ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) การนํางบการเงินงบใดงบหนึ่งมาแปลความหมาย และ (2) การนํางบการเงินมากกว่าหนึ่งงบมาวิเคราะห์ร่วมกัน

ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

จะมีขั้นตอนตรงกันข้ามกับการจัดทํางบการเงิน คือ การจัดทํางบการเงินจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์รายการค้า ลําดับต่อมาบันทึกบัญชีเพื่อรวบรวมผลไปจัดทํางบการเงินใน ลําดับสุดท้าย ส่วนการวิเคราะห์งบการเงินมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงรายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการ จึงต้องค้นหาข้อเท็จจริงจากงบการเงิน โดยมีขั้นตอนดังนี้
เริ่มที่ขั้นตอนที่ 1 กําหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์งบการเงิน ก่อนที่จะทําการวิเคราะห์งบการเงิน ผู้วิเคราะห์ต้องกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ โดยต้องพิจารณาว่าจะวิเคราะห์ในฐานะที่เป็นใคร เพราะแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
ต่อมา ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เมื่อกําหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์งบการเงินแล้ว ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการของการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งบการเงินและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ

ในขั้นตอนที่ 3 แปรสภาพข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการนําข้อมูล มาแปรสภาพ เช่น การปรับงบการเงินให้เหมาะสม การทําให้เป็นร้อยละหรือการหาอัตราส่วน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 แปลความหมาย เมื่อแปรสภาพข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการนําค่าที่แปรสภาพมาแปลความหมาย โดยการอ่านค่า เปรียบเทียบกับอดีต เปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือเปรียบเทียบกับ อุตสาหกรรม เป็นต้น
และขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนที่ 5 จัดทํารายงานการวิเคราะห์ เมื่อแปลความหมายของข้อมูลที่แปรสภาพแล้ว ขั้นตอน สุดท้าย คือ การสรุปผลการวิเคราะห์ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการตัดสินใจ

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงิน

ผู้วิเคราะห์งบการเงินแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้วิเคราะห์งบการเงิน ได้แก่
1. ผู้ลงทุน หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของเงินทุน รวมทั้งที่ปรึกษาการลงทุน ผู้ลงทุนต้องการวิเคราะห์งบ เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยง และผลตอบแทนจากการลงทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องการข้อมูลที่จะช่วยให้ สามารถประเมินได้ว่าควรจะซื้อ ขาย หรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไป รวมทั้งประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ลงทุน
2. ผู้บริหาร หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารกิจการ ให้ดําเนินงานอย่าง มีประสิทธิภาพและ บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลดีที่สุดผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนงานทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว การควบคุม และการประเมินผลการดําเนินงาน ซึ่งการวิเคราะห์งบการเงินจะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้บริหารในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของผลการดําเนินงานและฐานะการเงินของ กิจการในด้านต่างๆ
3. ลูกจ้าง หมายถึง พนักงานของกิจการ ลูกจ้างต้องการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อให้ทราบความมั่นคง และความสามารถในการทํากําไรของกิจการ ดังนั้นลูกจ้างจึงต้องการข้อมูลที่จะช่วยประเมินความสามารถของ กิจการในการจ่ายค่าตอบแทน บําเหน็จ บํานาญ และโอกาสในการจ้างงาน
4. ผู้ให้กู้ หมายถึง ธนาคารหรือธุรกิจที่กิจการสามารถกู้เงินได้ ผู้ให้กู้ต้องการวิเคราะห์งบการเงิน เพื่อให้ทราบความสามารถในการทํากําไรของกิจการ ดังนั้น ผู้ให้กู้จึงต้องการข้อมูลที่จะช่วยประเมิน  ืความสามารถของกิจการในการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
5. ผู้ขายสินค้าและเจ้าหนี้อื่น หมายถึง ธุรกิจที่กิจการติดต่อซื้อสินค้าหรือสินทรัพย์ ผู้ขายสินค้าและ เจ้าหนี้อื่น กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อให้ทราบความสามารถในการทํากําไรและสภาพคล่อง ของกิจการ ดังนั้นจึงต้องการข้อมูลที่จะช่วยประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายชําระหนี้
6. ลูกค้า หมายถึง ผู้ที่กิจการขายสินค้าให้ ลูกค้าต้องการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อให้ทราบความมั่นคง ของกิจการ ดังนั้น ลูกค้าจึงต้องการข้อมูลที่จะช่วยประเมินความสามารถในการดําเนินงานต่อเนื่องของกิจการ
7. ผู้สอบบัญชี หมายถึง ผู้ตรวจสอบงานทางการบัญชีของกิจการ เพื่อรายงานในการแสดงความเห็น ต่องบการเงินให้ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ รัฐบาล และหน่วยงานราชการ เป็นต้น เพื่อให้ทราบงบการเงิน ที่ถูกตรวจสอบได้รายงานฐานะการเงิน และผลดําเนินงาน โดยถูกต้องตามที่ควรและได้ จัดทําขึ้นตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งการตรวจสอบบัญชีจะต้อง ปฏิบัติงานตรวจสอบให้ได้มาซึ่ง หลักฐานที่เพียงพอ โดยหลักฐานจากการวิเคราะห์งบการเงินจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ตรวจสอบบัญชีสามารถสรุป ความเห็นต่องบการเงินด้วยความเชื่อมั่นมากขึ้น

งบการเงิน เป็นข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งสามารถได้มาจากหลายแหล่ง ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ แหล่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เช่น www.dbd.go.th และ www.sec.or.th เป็นต้น เมื่อกําหนดวัตถุประสงค์ ของการวิเคราะห์งบการเงินแล้ว งานขั้นต่อไป คือ การรวบรวมข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลต่างๆ ในรายงาน ประจําปีที่จะช่วยในการวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งผู้วิเคราะห์จะต้องพิจารณาว่าข้อมูลใดที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ บรรลุวัตถุประสงค์

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

 การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทำวิทยานิพนธ์ คู่มือการทำดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อวิทยานิพนธ์การจัดการ การจัดการทั่วไป
การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทำวิทยานิพนธ์ คู่มือการทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์กฎหมาย

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัยกฎหมาย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. รับทำวิจัยการเงิน
  4. เทคนิคการทำวิจัยการเงิน การเลือกหัวข้อวิจัยการเงิน
  5. ความรู้เกี่ยวกับงบการเงิน