การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

แนวคิด เทคนิค วิธีการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Analysis) เป็นวิธีการสร้างข้อสรุป จากข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์  เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่นักวิจัยนิยมใช้ ได้แก่ การจำแนกหรือการจัดกลุ่ม ข้อมูล การเปรียบเทียบเหตุการณ์ การวิเคราะห์ส่วนประกอบ การวิเคราะห์แบบอุปนัย และ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร เป็นต้น

การวิจัยเชิงคุณภาพมีความแตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณแบบตรงกันข้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งน้เพราะข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมีความแตกต่างจากข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณโดยสิ้นเชิง การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาจากสาระหรือเนื้อความของข้อมูลที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Content Analysis ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะรวมถึงเอกสารที่ถอดเทปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกการเข้าร่วม การสังเกต การตรวจสอบเอกสาร หรือหลักฐานต่างๆ รวมทั้งโสตทัศนูปกรณ์ ตลอดจนวิดิทัศน์ และอื่นๆ

ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพในแต่ละโครงการนั้นจะมีปริมาณแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการแต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณของข้อมูลจะมีหลายร้อยหน้ากระดาษ บางโครงการอาจจะมีหลายพันหน้ากระดาษในกรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงได้มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การที่นักวิจัยจะสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์มูลเชิงคุณภาพได้นั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปสู่การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในส่วนนี้จะได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาโดยสังเขป

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีกี่ประเภท

การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิจัยเชิงคุณภาพแยกได้เป็นสามแบบ (Hsieh & Shannon, 2005) คือ

(1) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม (Conventional content analysis) เริ่มต้นจากการสังเกต โดยการกำหนดรหัสกระทำในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มาของรหัสมาจากข้อมูล (Hsieh & Shannon, 2005)

(2) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบมีการกำหนดทิศทาง (Directed content analysis) เริ่มต้นจากทฤษฎี โดยการกำหนดรหัสกระทำก่อนและระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มาของรหัสมาจากทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้ใช้เพื่อประเมินความตรงหรือเพื่อขยายกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี (Hsieh & Shannon, 2005) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้มีหลายวิธี รวมทั้งวิธีที่บูรณาการโดย Assarroudi, Nabavi, Armat, Ebadi, & Vaismoradi (2018) ซึ่งมี 16 ขั้นตอนแบ่งเป็นสามช่วงในการดำเนินการ

(3) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปความ (Summative content analysis) เริ่มต้นจากการกำหนดคำสำคัญ (Keywords) โดยการกำหนดคำสำคัญเกิดขึ้นก่อนและระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล คำสำคัญกำหนดจากความสนใจของนักวิจัยหรือจากการทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์แบบนี้ คล้ายคลึงกับวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิจัยเชิงบริมาณแต่การวิเคราะห์แบบนี้ใช้เพื่อสำรวจการใช้คำหรือตัวบ่งชี้แบบอุปนัย (Inductive) (Hsieh & Shannon, 2005) ซึ่งรายละเอียดในการดำเนินการสามารถทำได้ตามที่ Rapport (2010) ได้อธิบายไว้

ขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ในการวิเคราะห์เนื้อหานั้น Zhang & Wildemuth (nd. Qualitative Analysis of Content. Online: retrieved 13 September 2019) แบ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหาโดยทั่วไปเป็นแปดขั้นตอนประกอบด้วย

(1) การจัดเตรียมข้อมูล (Prepare the Data)

(2) การกาหนดหน่วยการวิเคราะห์ (Define the Unit of Analysis)

(3) การกาหนดหัวข้อหลักและตารางการลงรหัส (Develop Categories and a Coding Scheme)

(4) การทดสอบตารางกาหนดรหัสบนตัวอย่างเนื้อหาของข้อมูล (Test Your Coding Scheme on a Sample of Text)

(5) การลงรหัสเนื้อหาของข้อมูลทั้งหมด (Code All the Text)

(6) การประเมินความคงเส้นคงวาของรหัส (Assess Your Coding Consistency)

(7) การจัดทาข้อสรุปจากข้อมูลที่ลงรหัส (Draw Conclusions from the Coded Data) และ

(8) การรายงานวิธีการและข้อค้นพบ (Report Your Methods and Findings)

 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคระห์ข้อมูลกรวิจัยเชิงคุณภ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ CAQDAS นั้น ได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา โปรแกรม CAQDAS ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกคือ ETHNOGRAPH กับ Nud*ist ทั้งนี้ ETHNOGRAPH นำออกจำหน่ายเมื่อปี 1985 และต่อมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ได้มีโปรแกรมพัฒนาขึ้นมาเพิ่มเติมอีก เช่น Nud*ist 3 , MAX, HyperResearch และ ATLAS.ti. (CAQDAS: Computer-Aided Qualitative Data Analysis Software. 2018. Online: retrieved 13 September 2019) CAQDAS เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องมือช่วยในการทำวิจัยเชิงคุณภาพหลายอย่าง เช่น การวิเคราะห์เอกสารที่ได้จากการถอดเทป (Transcription Analysis) การลงรหัส (Coding) และการตีความเนื้อหา (Text interpretation) การคัดย่อข้อความที่เป็นนามธรรม (Recursive abstraction) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) การวิเคราะห์การสนทนา (Discourse analysis) และการใช้ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี (grounded theory methodology) (PAT Research. nd. TOP 21 FREE QUALITATIVE DATA ANALYSIS SOFTWARE. Online: retrieved 13 September 2019)

 

อ้างอิง

  1. หัวข้อวิจัยตลาด
  2. เทคนิควิจัยปริญญาเอก
  3. เทคนิคการทำวิจัยตลาด
  4. การวิเคราะห์การตลาดคืออะไร

 

รับทำวิทยานิพนธ์การตลาด รับทำวิจัยตลาด
รับทำวิทยานิพนธ์การตลาด รับทำวิจัยตลาด

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย