การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง
แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค และไอเดียสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง
ในบทความนี้ ผู้เขียนจะไม่อธิบายถึงรายละเอียดของการทำวิทยานิพนธ์ ว่ามีองค์ประกอบสำคัญอะไร และอย่างไรบ้าง เนื่องจาก นักศึกษา และ นิสิต ที่เรียนมาถึงจุดที่จะต้องเริ่มทำวิทยานิพนธ์ จะต้องพอที่จะทราบเนื้อหาต่างๆ เหล่านี้มาพอสมควรแล้ว แต่ในบทความนี้ จะเป็นการนำเสนอเฉพาะ แก่น หรือ สาระสำคัญ สำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง คำว่าถูกต้องในที่นี้คือ สามารถทำได้ตรงตามหลักวิชาการ เสร็จทันเวลา และเป็นงานวิทยานิพนธ์ที่จะสามารถผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ได้ หากมีการดำเนินการตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้
7 เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องมีสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง
1. กำหนดชื่อเรื่อง :
เป็นชื่อที่คุณสนใจ ถนัด และอยู่ในสาขาที่เรียน หากยังไม่ทราบ ให้ดูหัวข้อจาก วิทยานิพนธ์ที่รุ่นพี่ทำไว้แล้วให้ดูในบทที่ 5 ในส่วนของข้อเสนอแนะสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ครั้งต่อไป จะทำให้ทราบชื่อเรื่องที่น่าสนใจ และกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยตามชื่อเรื่องนั่นเอง ส่วนประโยขน์ที่คาดว่าจะได้รับจะเป็นการเขียนว่า เมื่อวิจัยเรื่องนี้แล้ว วิทยานิพนธ์ให้ประโยชน์อะไร กับใคร และเอาไปใช้ได้อย่างไร
2. ศึกษาวิทยานิพนธ์เก่า ๆ ที่มีคนทำไว้แล้ว :
ขั้นตอนนี้เรียกว่า Literature Review หรือเรียกว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษาทฤษฎีซึ่งดูจากหัวข้อหรือชื่อเรื่องที่เราศึกษา ดูว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และศึกษางานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่มีคนทำไว้แล้ว ในหัวเรื่องที่เหมือนกันหรือคล้ายใกล้เคียงกัน
3. กรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์ :
ในการทำวิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นปัญหาหลักสำหรับนักวิจัยมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก การกำหนดกรอบแนวคิดมีหลายรูปแบบ ทั้งการกำหนดแบบตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และการกำหนดกรอบแนวคิดตามเนื้อหาของการวิจััยกรอบแนวคิดถือเป็นหัวใจหลักของการวิจัยเลยทีเดียว จึงต้องปรึกษาผู้รู้หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อกำหนดกรอแนวคิดที่ถูกต้อง จะเป็นแนวทางในการทำวิจัยแบบไม่หลงประเด็น
4. กำหนดขอบเขตของการศึกษาวิทยานิพนธ์ :
ในที่นี้ขอบเขต ประกอบด้วย – เนื้อหา คือระบุว่าจะศึกษาทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไร ครอบคลุมเนื้อหาประมาณไหน – ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กำหนดข้อมูลประชากร และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติการวิจัย – พื้นที่และระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะศึกษาพื้นที่และระยะเวลาใด
5. เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยเพื่อใช้ในวิทยานิพนธ์ :
ถ้าเป็นการวิจัยแนวสำรวจจะใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบสำรวจถ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้จะเป็นการออกแบบการทดลองถ้าเป็นวิจัยเชิงทดสอบ เครื่องมือที่ใช้จะเป็นแบบทดสอบ
6. สถิติในการวิจัย ประกอบในวิทยานิพนธ์ :
เป็นเรื่องที่ทำให้คนทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ท้อ เนื่องจากไม่เข้าใจสถิติ ไม่เข้าใจสูตร ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ ไม่เข้าใจการหาค่า ไม่เข้าใจการกำหนดตัวแปร ไม่เข้าใจการแปรผล ไม่เข้าใจการสรุปผลจากตาราง ซึ่งประเด็นนี้ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าอย่างมากโดยทั่วไปแล้วสถิติที่ใช้ในการทำวิจัยระดับปริญญาโท จะประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติพยากรณ์ที่ใช้มักจะเป็น T-test และ F-test หรือ Chi-Square
7. การสรุปและอภิปรายผล ปัญหาสุดท้ายวิทยานิพนธ์ :
เมื่อถึงขั้นตอนนี้บางคนอาจตกม้าตาย เนื่องจากทำเองมาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นทำสถิติด้วยตนเอง แต่ต้องมาเจอปัญหาการอภิปรายผล หลักง่ายๆ ของการอภิปรายผลคือ เราต้องเขียนให้ได้ว่า ผลการวิจัยวิทยานิพนธ์ของเรา สอดคล้อง คล้ายคลึง ได้ผลใกล้เคียงกับวิทยานิพนธ์ของใคร หรือหากไม่สอดคล้องเลย ให้เขียนว่า เราค้นพบอะไร และจะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง ซึ่งต้องเขียนต่อไปในข้อเสนอแนะ
“ทั้งหมดนี้คือ 7 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้องคร่าวๆ ในการรับทำวิทยานิพนธ์ อย่างไรก็ตามเนื้อหารายละเอียด ความถ่องแท้ในงานวิทยานิพนธ์ยังมีอีกมาก ผู้ทำวิทยานิพนธ์ต้องศึกษาอย่างละเอียด”
แนวทาง และ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ และการทำวิจัย ที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษา แต่ละแห่ง ที่กำหนดไว้ นักศึกษาจะต้องยึดแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ และงานวิจัยที่สถาบันการศึกษาเหล่านั้นกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
แนวทางของ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เคล็ดลับการทำวิจัย รวมไปถึง งานวิจัยประเภท ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่ถูกต้อง
การทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน สำคัญ คือ ส่วนที่เป็น “เนื้อหาสาระ” และ ส่วนที่เป็น “รูปแบบ” ส่วนที่เป็นสาระ เช่น เนื้อหาที่เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิทยานิพนธ์หรือวิจัยตลอดจนกรอบแนวคิดของการทำวิจัยและข้อความต่างๆ ที่เป็นเนื้อหาสาระทางวิชาการ ที่ผู้ทำงานวิจัยได้เรียบเรียงนำมาเขียนไว้
ส่วนที่เป็นรูปแบบ เช่น การเขียนหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย การใส่หมายเลขหัวข้อ การใส่อ้างอิง การเว้นวรร๕ การกั้นหน้ากั้นหลัง รูปแบบตัวอักษร หรือ Font เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญซึ่งกันและกันและไม่ควรให้ความสำคัญเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
สาเหตุเพราะการเขียนวิทยานิพนธ์ หรือ การทำวิจัยนั้น ถือได้ว่า เป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ที่มีความเป็นระเบียบและเป็นระบบ ซึ่งหมายถึง การมีระเบียบในการเขียนทั้ง ในส่วนที่เป็นรูปแบบ และส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระด้วย
ทั้งนี้ ทั้ง 2 ส่วนนี้ ต้องมีลักษณะที่เป็นมาตรฐานสากล มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ได้รับการยอมรับทั้งของสถาบันการศึกษาแห่งนั้น หรือ นักวิชาการ และประชาชนภายนอกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคือ ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือต้องเขียนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความสอดคล้องกัน
เช่น หากเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยชิ้นนั้น เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบของการจัดการภาครัฐ รูปแบบของการนำเสนอ ตลอดจน ตาราง ภาพ ก็จะต้องมีความสอดคล้องกัน เช่น ไม่เน้นสถิติ ตัวเลข รูปภาพ กราฟต่างๆ ที่เป็นคณิตศาสตร์จนเกินความจำเป็น
ในส่วนของขอบเขตการนําเสนอเทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ก็ได้มุ่งให้ความสําคัญกับ “รูปแบบ” การเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์อย่างเป็นระบบ และถือว่าเรื่องรูปแบบนี้มีความสําคัญไม่น้อยไปกว่า “เนื้อหาสาระ” ของงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
นอกจากนั้น สืบเนื่องจากเทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์มีให้เห็นน้อยมาก ในที่นี้จึงมุ่งนําเสนอเทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ไปพร้อมกับเน้นส่วนที่แตกต่างจากแนวทางของสถาบันการศึกษาหรือแหล่งทุนทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่ โดยความแตกต่างน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ทําให้การเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ตรงประเด็น รัดกุม และสมบูรณ์มากขึ้น
การเขียนวิทยานิพนธ์ทุกสาขา เช่น ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการรับปริญญา MBA การทำงานวิทยานิพนธ์ ที่ดีในการเตรียมการทำวิทยานิพนธ์ มักเกี่ยวข้องกับการเลือกหัวข้อที่สนใจ โดยให้ความสนใจกับแนวทางที่สถาบันการศึกษา หรือคณะของนักศึกษาให้ความสนใจอย่างละเอียด และติดต่อกับคณะกรรมการ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ข สิ่งสำคัญคือต้องเผื่อเวลาสำหรับการวิจัยอย่างละเอียดและดูแลการสะกดไวยากรณ์เครื่องหมายวรรคตอนและการจัดรูปแบบ
สิ่งสำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่า นักศึกษาสามารถเข้าใจแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ของตน อย่างสมบูรณ์ ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งาน อาจมีทางเลือกรูปแบบสำหรับวิทยานิพนธ์ของตัวนักศึกษาเอง ตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ อาจเลือกจัดทำแผนธุรกิจกรณีศึกษาหรือรายงาน การอ่านเอกสารหรือคู่มือแนวทางวิทยานิพนธ์อย่างรอบคอบ อาจช่วยให้แน่ใจว่า จะไม่มองข้ามข้อมูลที่สำคัญหรือแนวทางการตีความที่ผิด ซึ่งอาจรวมถึงกำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามรวมถึงข้อกำหนดด้านความยาวสไตล์และรูปแบบ
วิทยานิพนธ์ปริญญาโทบริหารธุรกิจจัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในหัวข้อที่คุณได้เรียนรู้ตลอดการเรียน การเลือกหัวข้ออาจเป็นหนึ่งในส่วนที่ยากที่สุดในการเตรียมวิทยานิพนธ์ โดยทั่วไปการเลือกหัวข้อที่คุณสนใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นความกระตือรือร้นของคุณจะปรากฏในงานของคุณ คุณอาจเลือกหัวข้อที่คุณสามารถค้นคว้า และ รวบรวมข้อมูลได้เพียงพอ เพื่อให้ตรงกับความยาว และความต้องการด้านเนื้อหาที่คณะ หรือ สถาบัน กำหนด ในกรณีส่วนใหญ่ จะต้องเลือกธุรกิจเพื่อวิเคราะห์และวิจัยว่าหัวข้อที่ ศึกษาในหลักสูตรที่ศึกษาเหล่านั้น มีผลกับเรื่องใด เป็นต้น
การติดต่อกับคณะกรรมการ วิทยานิพนธ์ และ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ย่อมมีประโยชน์ในขณะที่ นักศึกษาเตรียมทำวิทยานิพนธ์ของตน คณะกรรมการอาจสามารถให้คำแนะนำหรือชี้ให้เห็นถึงมุมที่ ยังไม่ได้พิจารณาดำเนินการ คณะกรรมการอาจมีคำถามสำหรับคุณเมื่อ เริ่มต้นและเขียนวิทยานิพนธ์ต่อไป อาจมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อทำงานด้วย ในขณะที่ เตรียมปริญญานิพนธ์ปริญญาโท หรือวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา และ คณะกรรมการเหล่านั้น อาจเสนอคำแนะนำ และเคล็ดลับการแก้ไขเช่นกัน
การวิจัยเป็นส่วนสำคัญของการเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดยทั่วไป นักศึกษา จะต้องอ่านและศึกษาวิจัยจำนวนมาก ทั้งงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ และ ระดับปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์ สำหรับใช้เป็นแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ของตน เป็นเรื่องที่จะต้องให้เวลาอย่างมาก สำหรับการบันทึกการวิจัยและวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ต่างๆ ที่ทำการศึกษา รวมไปถึง การตรวจสอบข้อมูลของคุณและการบันทึกการค้นพบ เนื่องจากวิทยานิพนธ์เป็นส่วนสำคัญของการได้รับปริญญามหาบัณฑิต การผัดวันประกันพรุ่ง หรือ การร่วมงานวิจัยของนักศึกษา อาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการสำเร็จการศึกษา
สำหรับ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เคล็ดลับการทำวิจัย ควรให้ความสำคัญกับหัวข้อการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ประกอบด้วย 9 หัวข้อใหญ่ โดย ทุกหัวข้อแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ หลักการ และเทคนิค
1. ความสําคัญของเรื่องที่ศึกษา (significance of the study)
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา (objectives)
3. ขอบเขตของการศึกษา (scope of the study)
4. ข้อจํากัดของการศึกษา (limitation of the study)
5. การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (review of literature)
6. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา (conceptual framework)
7. คําจํากัดความหรือนิยามศัพท์เฉพาะ (operational definition)
8. ระเบียบวิธีศึกษา (methodology)
9. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา (study benefits)
นอกจาก 9 หัวข้อ สำคัญดังกล่าว ควรให้ความสำคัญกับหัวข้อ เพิ่มเติมอีก 3 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
10. บทคัดย่อ (abstract)
11. การเขียนแบบสอบถาม
12. อื่น ๆ (เพิ่มเติม)
ตัวอย่างดุษฎีนิพนธ์ พ.ศ.2563-2565
- รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี
- การจำลองผลตอบแทนและความผันผวนพหุตัวแปรของดัชนีสามกลุ่มสำคัญในตลาดหุ้นโลก
- ความรุนแรงในครอบครัวกับการต่อรองตัวตนและความทุกข์ทนของผู้หญิงในเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
ตัวอย่าง วิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี 2564
- การวางแผนการปรับตัวโดยชุมชนเป็นฐานของชุมชนชายฝั่งต่อ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล: กรณีศึกษาตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
- รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ.2564
- ความรุนแรงในครอบครัวกับการต่อรองตัวตนและความทุกข์ทนของผู้หญิง ในเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย
อ้างอิง
- เทคนิคการทำวิจัย
- รับทำวิทยานิพนธ์
- รับทำวิจัยการเงิน
- เทคนิคการทำวิจัยการเงิน การเลือกหัวข้อวิจัยการเงิน
- ความรู้เกี่ยวกับงบการเงิน