เทคนิควิจัยปริญญาโท

เทคนิควิจัยปริญญาโท

คู่มือ เคล็ดลับ เทคนิควิจัยปริญญาโท ให้สำเร็จ A+

การเรียนในระดับปริญญาโท รวมทั้งระดับปริญญาเอก นอกจากจะต้องผ่านการเล่าเรียนเนื้อหา รายวิชา ให้ครบตามโครงสร้างที่คณะ และมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนด  นักศึกษา / นิสิต ระดับปริญญาโท หรือมหาบัณฑิต จะต้องผ่านการทำวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าสามารถช่วยพัฒนาและยกระดับ ความรู้ ความสามารถของมหาบัณฑิตได้มากกว่าการศึกษาเล่าเรียนรายวิชาต่างๆ แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งการทำวิจัยระดับปริญญาโทนี้  นิสิตนักศึกษาหลายท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องสนุก เป็นเรื่องท้าทาย แต่จำนวนมากที่คิดว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคอันใหญ่หลวง ดังนั้น บทความนี้จะนำเสนอ เทคนิควิจัยปริญญาโท หรืออาจเรียกว่าเป็นเคล็ดลับ หรือคู่มือสำหรับผู้สนใจได้ในระดับหนึ่ง

เทคนิควิจัยปริญญาโท
เทคนิควิจัยปริญญาโท

 5เทคนิควิจัยปริญญาโท

จากที่ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัย ที่ปรึกษาวิจัยทั้งระดับปริญญาโท รับทำวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบการช่วยเหลือนักศึกษา และวิจัยปริญญาเอก รวมไปถึงการทำบทความวิชาการประเภทต่างๆ เพื่อตีพิมพ์วารสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสรุปเทคนิคสำคัญสำหรับการทำวิจัยปริญญาโท ให้ประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังต่อไปนี้

1.สำรวจความชอบ , ความชอบในที่นี้ต้องเป็นความชอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่ได้เรียนในระดับปริญญาโท เช่น นักศึกษาที่เรียนด้านบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน  อาจจะพิจารณาว่าตัวเองมีความถนัด สนใจ หรือชอบเนื้อหาด้านใด โดยอาจจะสนใจด้านตลาดทุน หลักทรัพย์ ตราสารหนี้ เนื่องจากเป็นเนื้อหาวิชาที่ตัวเองกำลังทำงานอยู่  หรือ หากทำงานในหน่วยงาน องค์กระประเภทธนาคารและสถาบันการเงิน อาจจะพิจารณา หัวข้อที่เกี่ยวกับ “สินเชื่อ” ซึ่งต้องย้อนกลับไปพิจารณาว่า หัวข้อเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาเรื่องใด เป็นต้น

2.รีวิว ,  หลังจากผ่านการสำรวจความชอบตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วในข้อ1.  ผู้ทำวิจัย ขั้นตอนต่อไปและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเช่นกัน คือ การสำรวจ ทบทวน พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ “การอ่าน”  อ่านแนวคิด ทฤษฎี และที่สำคัญคืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือที่เรียกว่า “ทบทวนวรรณกรรม” “Literature Review” เพื่อเหตุผลสำคัญอย่างยิ่ง 2 ประการ คือ  (1) การทำความเข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย หรือ ชื่อเรื่องวิจัยที่ต้องการศึกษา และ (2)  เพื่อสำรวจว่าหัวข้อที่เราสนใจที่จะทำวิจัยนั้น มีการทำผลงานวิจัยนั้นแล้วในอดีตหรือไม่ อย่างไร

โดยหากมีการทำไปแล้ว เราสามารถเลือกทำ หรือทำต่อยอดจากงานวิจัยชิ้นเดิมเหล่านั้นอย่างไรได้บ้าง ซึ่งอาจจะมีคนทำไปแล้วค่อนข้างมาก หรือทำไปแล้วบ้าง แต่ไม่มากนัก หน้าที่ของผู้วิจัย ควรอ่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ให้ตกผลึก เพื่อจะทำให้สามารถที่จะทำต่อยอด หรือหาช่องว่าง (Gap) สำหรับนำมาหาช่องทางที่จะทำต่อ โดยไม่เข้าข่ายการคัดลอกชื่อเรื่อง ซึ่งจะทำให้ผลงานไม่น่าสนใจหรืออาจถูกตีตกได้ทันที

3. สร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดงานวิจัย (Conceptual Framework) หากผู้ทำวิจัยผ่านการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ ใส่ใจ และให้เวลากับการทำงานในข้อ2 มาเป็นอย่างดี  ผู้วิจัยจะสามารถทราบถึงช่องว่าง (Gap) ที่จะนำมาต่อยอดทำวิจัยที่เป็นเรื่องที่เราสนใจและต้องการได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่การทำวิจัยปริญญาโท เราไม่สามารถที่จะเลือกหัวข้อ หรือ ชื่อเรื่องวิจัย ที่ใหม่แบบที่ไม่เคยมีผู้ทำมาก่อน เพราะทฤษฎีต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในศาสตร์ใดนั้น

โดยเฉพาะในสังคมศาสตร์ เป็นการยากที่จะสามารถทำเรื่องวิจัยที่ใหม่แกะกล่องได้  การประยุกต์เนื้อหาจากการอ่านหลายเล่ม จะทำให้เราทราบว่างานวิจัยของเราควรกำหนดตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามอย่างไร  ซึ่งหากต้องการให้การกำหนดตัวแปรเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุด ควรทำตารางสรุปสังเคราะห์ตัวแปรต่างๆ ที่จะใช้ เพื่อทำให้เห็นภาพโดยรวมของงานวิจัยในเนื้อหานั้นๆ

4. การเลือกสถิติและโปรแกรมวิเคราะห์ที่เหมาะสม, ในบทความนี้จะไม่อธิบายถึงวิธีดำเนินการวิจัยที่เป็นรายละเอียดของ รูปแบบการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย เนื่องจากหากทำการทบทวนเนื้อหามาเป็นอย่างดี และอ่านงานตัวอย่างมาพอสมควรจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการเขียนหัวข้อเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก

แต่สำหรับการเลือกสถิติและโปรแกรมวิเคราะห์ที่เหมาะสมนี้  เป็นเรื่องที่พบบ่อยครั้งที่ผู้วิจัยตกม้าตาย คือ สามารถทำเนื้อหาสามบทแรกมาได้อย่างดี แต่พอถึงขั้นตอนการทำงานในส่วนที่จะต้องเลือกสถิติ และเลือกโปรแกรมวิเคราะห์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชนิดของข้อมูลที่จะศึกษา กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่และใช้เวลามากทำให้ท้อแท้หรือละทิ้งงานกลางคัน

หลักการที่สำคัญคือ ผู้วิจัยจะต้องทำความเข้าใจสถิติที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดสมมติฐานที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิด  ซึ่งโดยมากจะเป็นสถิติทดสอบที่ได้รับความนิยม เช่น ANOVA ,Chi – Square , correlation , Regression , Logistic Regression เป็นต้น  ซึ่งกลุ่มนีั้สามารถเลือกโปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูปได้ค่อนข้างมาก เช่น SPSS STATA R  เป็นต้น

ทั้งนี้ หากมีเวลาไม่มากนัก ผู้วิจัยอาจพิจารณาจากเล่มตัวอย่างที่มีการทดสอบสมมติฐาน โดยมีการกำหนดตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่มีการออกแบบลักษณะของข้อคำถามเหมือนกัน จะทำให้สามารถเลือกสถิติได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว แต่หากเป็นงานวิจัยที่มีการใช้สถิติ ใช้แบบจำลองที่สลับซับซ้อน เช่น งานการเงิน หรือ เศรษฐศาสตร์ จะต้องอาศัยพื้นฐานเศรษฐมิติ ช่วยด้วย  และมักจะใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับข้อมูลเชิงปริมาณประเภทอนุกรมเวลา เช่น EVIEW LIMDEP และ STATA

ส่วนงานวิจัยที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณถ้วยสถิติขั้นสูง เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model :SEM) หรือ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับงานวิจัยในรูปแบบดังกล่าวเท่านั้น เช่น mPlus , AMos LISrel เป็นต้น

5. การวางแผนเวลาและการทำงานที่รัดกุม ,  แม้ว่าผู้วิจัยจะได้ทำการวิจัยตามกระบวนการและขั้นตอนจากข้อ 1 – 4 ทุกข้อ แต่ขาดการคำนวณเวลา การบริหารเวลา ย่อมมีโอกาสทำงานวิจัยช้ากว่ากำหนดส่ง หรือส่งไม่ทันเวลา ผู้วิจัยต้องศึกษากรอบระยะเวลาการส่งงานในแต่ละส่วน

เช่น ส่งหัวข้อเมื่อไหร่ ส่งโครงร่างวิจัยวันไหน  จนถึงการสอบปิดเล่ม และต้องมีการบริหารเวลาการทำงาน ให้เสร็จก่อนกำหนดอย่างน้อย 3 – 5 วัน เพื่ออ่านทบทวนความเข้าใจและเตรียมตัวสำหรับการนำเสนอ การตอบปัญหาอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากเทคนิคสำคัญทั้ง 5 ประการ ที่ช่วยให้การทำวิจัยปริญญาโท ไม่ยากเกินไปนัก  อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลอย่างมากคือ “อาจารย์ ที่ปรึกษา” นักศึกษา นิสิต จะต้องหมั่นเข้าพบ ขอความคิดเห็นต่างๆ ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาหรือกรรมการที่มีส่วนช่วยดูแลงานวิจัย  อย่ารอให้งานใกล้เสร็จหรือเสร็จแล้วจึงเข้าไปพบ เพราะหากไม่เข้าที่เข้าทาง หรือไม่ตรงกับที่อาจารย์ต้องการ หรืออาจารย์อาจต้องการให้ปรับแก้ไข  จะต้องเสียเวลามาแก้งานภายหลังในปริมาณมากๆหรือแก้ทั้งหมด

อ้างอิง

  1. หัวข้อวิจัยตลาด
  2. เทคนิควิจัยปริญญาเอก
  3. เทคนิคการทำวิจัยตลาด
เทคนิควิจัยปริญญาโท
เทคนิควิจัยปริญญาโท

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย