หัวข้อวิจัยการเงินที่น่าสนใจ ทันสมัย ทำให้มีคนอยากอ่าน
หากพูดถึงงานวิจัยทางการเงิน หรือ หัวข้อวิจัยการเงินที่น่าสนใจ คนทั่วไปย่อมนึกถึงงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้แล้วได้ประโยชน์จริง เช่น หากเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ย่อมอยากอ่าน งานวิจัยทางการเงิน ที่อ่านแล้วทำให้ทราบแนวทางหรือกลยุทธ์การลงทุน ความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนสูง หรือผลตอบแทนเท่ากันแต่ความเสี่ยงต่ำกว่า หรือหากเป็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจ อาจอยากอ่าน งานวิจัยทางการเงิน ที่ทำให้ทราบว่าควรบริหารองค์กรในด้านการเงิน หรือบริหารการเงินอย่างไร การถือครองเงินสด การบริหารสินทรัพย์ การเพิ่มความสามารถในการทำกำไร เป็นต้น
การกำหนดชื่อเรื่อง ของงานวิจัยการเงิน บริหารธุรกิจ สาขาการเงิน วิทยาศาสตร์การเงิน วิศวกรรมการเงิน มีความยากง่ายต่างกันในเรื่องของเทคนิคการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ แต่พื้นฐานความรู้ทางการเงิน ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะเนื้อหาที่เรียนมีโครงสร้างคล้ายกัน แต่สาขาวิทยาศาสตร์การเงิน และวิศวกรรมการเงิน จะมีรายวิชาที่เพิ่มเติม ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐมิติ หรือ Econometrics ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึง ระดับกลาง
หรือบางหลักสูตร สามารถใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติที่ซับซ้อนมากๆ เช่น ตระกูล GARCH ทั้งหมด ไปจนถึง การวิเคราะห์หรือทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว Cointegration และการทดสอบ การปรับตัวระยะสั้น หรือ Error Correction Model ตัวย่อที่นักวิจัยมักจะพบเห็นได้บ่อยคือ ECM ซึ่งบางงานจะทำการทดสอบ ต่อเนื่องไปจนถึง Casually Test เพื่อดูความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกันของตัวแปรที่ทำการศึกษา
เครื่องมือที่สำคัญ และ ถือได้ว่ามีความจำเป็น ควบคู่ไปกับพื้นฐานความรู้ทางการเงิน คือ ทักษะการใช้โปรแกรม การวิเคราะห์ ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเกือบทั้งหมด เป็นข้อมูลทุติยภูมิ Secondary Data แบบ อนุกรมเวลา หรือ Time Series Data ซึ่งมีทั้งประเภท รายปี annual รายไตรมาส quarterly รายเดือน monthly หรือแม้กระทั่งข้อมูลรายวัน daily
ข้อมูลเหล่านี้มักเป็นข้อมูลที่ปรากฎในตลาดการเงินและตลาดทุน เช่น ราคาหลักทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ความเสี่ยง อัตราผลตอบแทน ความผันผวน ราคาปิด ราคาเปิด ประมาณซื้อขาย การซื้อขายของนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนรายย่อย เป็นต้น
รวมไปถึง ข้อมูลที่มักถูกนำมาใช้เป็นตัวแปร หรือ ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของราคาหลักทรัพย์ นั่นคือ ปัจจัยเศรษฐกิจ หรือ ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค Macro Economic Variable ที่สำคัญๆ ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิต ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเบื้องต้น หรือ GDP เป็นต้น

กลับมาที่ หัวข้อวิจัยการเงินที่น่าสนใจ ย่อมหนีไม่พ้น หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ “โควิด-19” ซึ่งสามารถนำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบหรือการส่งผ่านความผันผวน อันเกิดจากผลกระทบของ “โควิด-19” ได้ เนื่องจากมีการแพร่ระบาดมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถพิจารณาข้อมูลที่เป็นปัจจัยหลัก เปรียบเทียบก่อนเกิดการแพร่ระบาด หรือในช่วงระบาดไปแล้วได้ แต่การนำปัจจัยด้าน “สงคราม ยูเครน-รัสเซีย” อาจจะยังต้องรอให้สถานการณ์มีความแน่นอนมากกว่านี้ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาเกิน 6 เดือน ขึ้นไป
An Empirical Analysis of Nordic Publicly Listed Firms in the COVID-19 Stock Market
The role of risk in investment behaviour and the manifestation of behavioural biases by individual investors.
การวิเคราะห์ ESG-investmentsในช่วงของการเกิดการแพร่ระบาดโควิด19
การวิเคราะห์ ความเสียง และอัตราผลตอบแทน ของตลาดหลักทรัพย์ ประเทศมาเลเซีย ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด – 19 ด้วยแบบจำลอง CAPM
การวิเคราะห์ผลกระทบ ของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ด้วยวิธีการทดสอบแบบ Event Study กรณีศึกษา ตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม
ชื่อเรื่องวิจัย หรือ หัวข้อวิจัย ทางด้านการเงินเหล่านี้ ถือได้ว่า เป็นหัวข้อที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นอกจากจะเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ ที่น่าสนใจ สามารถประยุกต์ใช้กับบริบทในประเทศไทย หรือแม้แต่การเปลี่ยนการกำหนดตัวแปร เช่น แบ่งการวิเคราะห์ช่วงเวลา เป็นช่วงก่อนเกิดและหลังเกิด โดยให้เส้นแบ่งเป็นตัวแปรหุ่น หรือ Dummy Variable แทนที่การวิเคราะห์แบบช่วงเวลาเดียว
สำหรับหัวข้อวิจัยการเงิน เศรษฐศาสตร์การเงิน ที่น่าสนใจอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์ ในต่างประเทศ มีตัวอย่างต่อไปนี้
How to Make Venture Capital Accessible for Black Founders: An Entrepreneur’s Dilemma (Kevin D. Johnson)
More Proof That Money Can Buy Happiness (or a Life with Less Stress) (Michael Blanding)
Why JPMorgan Chase Is Committed to Improving Racial Equity in Banking (Joseph L. Bower)
Who Pays For Wildfire and Hurricane Damage? Everyone.(Kristen Senz)
What If Closing the Wage Gap Means Everyone Earns Less? (Avery Forman)
Bankruptcy Spells Death for Too Many Businesses (by Rachel Layne)
Keep or Cut Workers? How Companies Reacted to the COVID-19 Crisis (Lane Lambert)
Cruising in Crisis: How Carnival Is Riding Out the COVID-19 Storm (Michael Blanding)
Running a Consumer Fintech Startup within Goldman Sachs (Rory M. McDonald)
Fencing Off Silicon Valley: Cross-Border Venture Capital and Technology Spillovers (Ufuk Akcigit, Sina T. Ates, Josh Lerner, Richard Townsend, and Yulia Zhestkova)
อย่างไรก็ตาม เรามักให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจ และขอคำปรึกษาเสมอๆ ว่าการเลือกหัวข้อวิจัยนั้น นอกจากจะต้องทันสมัย น่าสนใจ น่าอ่าน ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ผู้ทำวิจัย จะต้องสำรวจความพร้อม หรือ ศักยภาพของตัวผู้ทำวิจัยเอง ว่ามีความสามารถที่จะทำหัวข้อวิจัยด้วยคำหลัก หรือ keyword เหล่านั้นหรือไม่ เพียงไร
ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า event study ซึ่งเมื่ออ่านแล้วรู้สึกสนใจ เพราะไม่เคยได้ยินหรือเรียนรู้มาก่อน ว่าการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ ต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง หรือ แบบจำลอง ที่ยังถือได้ว่าน่าสนใจ และมีความทันสมัย เช่น GARCH, GARCH(1,1), EGARCH ซึ่งในตระกูลนี้มีการแตกแยกย่อยออกไปอีก
