หัวข้อวิจัยโซ่อุปทาน
หัวข้อวิจัยการจัดการโซ่อุปทาน
ก่อนที่จะสามารถคิด หรือ เลือกชื่อเรื่อง หัวข้อวิจัยการจัดการโซ่อุปทาน ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจแนวคิดและความหมาย ดังนี้
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ประกอบด้วย กระบวนการในวงจรการผลิตผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์หรือการบริการ ซึ่ง ไม่เพียงแต่อยูในส่วนของผู้ผลิต และผู้จัดส่งวัตถุดิบเท่านั้นแต่รวมไปถึงผู้จัดการปัจจัยการผลิต ผู้ขนส่ง คลังสินค้า พอค้าคนกลาง และลูกค้า เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ คือ เกษตรกร จนถึงปลายน้ำ คือ ลูกค้า การจัดการ ห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management : SCM) คือการวางแผนหรือ ออกแบบในการปฏิบัติการควบคุมติดตามกิจกรรมในองค์กรทั้ง ห่วงโซ่อุปทาน เพื่อทำให้องค์กรของตนเองมีประสิทธิภาพมากขึ้นลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
หลาย ๆ องค์กรก็มีแนวคิดที่จะนำการบริหาร ห่วงโซ่อุปทานมาใช้ซึ่งมีทั้งทางตรง และทางอ้อมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการ สร้างคุณค่าในการแข่งขัน การยกระดับการปฏิบัติงานภายในองค์กรและการปรับปรุง ห่วงโซ่อุปทานให้สอดคลองกบอุปสงค์จากการวัดการปฏิบัติงาน ภายในห่วงโซ่อุปทาน แต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนการผลิต โดย ห่วงโซ่อุปทาน คือการเชื่อมโยงกนทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีการเชือมโยงกันอย่างเป็นระบบ ระเบียบที่ดี มีการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างธุรกิจ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน จึงจะทำให้การดำเนินงานภายในห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพ
10 ไอเดีย การคิดชื่อเรื่อง หัวข้อวิจัยการจัดการโซ่อุปทาน
- การศึกษาแนวทางการยกระดับดิจิทัล ในห่วงโซ่อปทานเพื่อความยั่งยืน ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
- การศึกษาแบบจำลองระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการงานวิจัยในโซ่อุปทาน สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
- การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า สินค้าประเภทนมผง
- การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการโซ่อุปทาน สินค้าประเภทผ้าไหม ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- โมเดลสมการเชิงโครงสร้างการจัดการโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ของผู้ประกอบการ โรงแรมและรีสอร์ท ในเขตภาคใต้ ของประเทศไทย
- การเพิ่มประสิทธิภาพด้านจัดการโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมกุ้งในเขตจังหวัดระยอง
กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในเขตภาคเหนือตอนบน
การจัดการโซ่อุปทาน สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดภูเก็ต
- การสร้างระบบฐานข้อมูลห่วงโซ่อุปทานปลาสวยงามเพื่อการส่งออก
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานการเพาะปลูกทุเรียนเพื่อการส่งออก

ตัวอย่าง 10 หัวข้อวิจัยการจัดการโซ่อุปทาน ที่ได้รับการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
- งานวิจัยเพื่อศึกษาการยกระดับดิจิทัลในห่วงโซ่อปทานเพื่อความยั่งยืน
- ห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
- การจัดการห่วงโซ่อุปทานของลิ้นจี่ กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
- การจัดการ ห่วงโซ่อุปทานของสินค้า ผักปลอดภัย ในเขตอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
- การศึกษาระบบ การจัดการโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมแพะในจังหวัดสตูล Supply Chain Management of Goat Industry in Satun Province
- การจัดการโซ่อุปทานยางพารา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
- การจัดการโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมผักสด ในจังหวัดนครปฐม
- การจัดการห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง Cassava industry’s Supply Chain Management
In the Lower Northeast Region - การจัดการห่วงโซอปุทาน ของธุรกจิกาแฟ : กรณศีกษา กาแฟภูชี้เดือน อำเภอเวียงแก่น จ.เชียงราย Managing the supply chain of coffee trading business: a case study of Phu Chee Duean coffee Wiang Kaen District, Chiang Rai Province
- การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารการจัดซื้อ Increasing the Efficiency of Procurement Management
นอกจากนี้ การจัดการโซ่อุปทานยังเกี่ยวข้องกับแนวคิดการบริหารจัดการอื่นๆ เช่น ห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการด้านการจัดการโซ่อุปทานอย่างมากเช่นกัน
ความหมายของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ได้ถูกน ามาใช้โดย Michael Eugene Porter (กุลภา, 2559) เป็นต้นแบบที่มองว่าธุรกิจชุมชนการท าประมงพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กันเหมือนกับลูกโซ่ ซึ่งแต่ละกิจกรรมในกระบวนการธุรกิจตั้งแต่การนำเข้า วัตถุดิบจนกระทั่งการผลิตสำเร็จกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป มีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้โดยกิจกรรมในตัวแบบห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก (Primary activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support activities)
ยกตัวอย่างกรณีการจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมประมงพื้นบ้าน ที่เกี่ยวข้องห่วงโซ่คุณค่า ดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary activities) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการ การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการในการทำประมงพื้นบ้าน ไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย 5 กิจกรรมย่อย ได้แก่
(1) การนำวัตถุดิบใช้ในการผลิต (Inbound logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการได้รับ การขนส่ง การจัดเก็บ และการแจกจ่ายวัตถุดิบของการทำประมงพื้นบ้าน
(2) การดำเนินการผลิตสินค้า (Operations) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้าหรือขั้นตอนการผลิตของการทำประมงพื้นบ้าน
(3) การนำสินค้าออกจ าหน่าย (Outbound logistics) เป็นกิจกรรม เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รวบรวม จัดจ าหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้าของการทำประมงพื้นบ้าน
(4) การตลาดและการขาย (Marketing & sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำประมงพื้นบ้าน
(5) การบริการ (Services) เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมถึงการให้บริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย
2) กิจกรรมสนับสนุน (Support activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุน กิจกรรมหลักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย
( 1 ) โ ค รง ส ร้ างพื้น ฐ าน ข อง ธุ ร กิ จ (Firm Infrastructure) ได้ แ ก่
ระบบบัญชี ระบบการเงิน การบริหารจัดการองค์กร ของชุมชนการทำประมงพื้นบ้าน
(2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์(Human resource management) เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การว่าจ้าง การฝึกอบรม ของชุมชนการท าประมงพื้นบ้าน
(3) การพัฒนาเทคโนโลยี(Technology development) กิจกรรม เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการหรือกระบวนการผลิต ของชุมชนการทำประมงพื้นบ้าน
(4) การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) เป็นกิจกรรมจัดหาเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมหลัก ของสมาชิกในชุมชนการท าประมงพื้นบ้าน
แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งการจัดการภายในธุรกิจ (Business value chain) การจัดการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มสมาชิกในชุมชนการทำประมงพื้นบ้านที่ทำงานร่วมกันแบบคลัสเตอร์(Industry value chain) และการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโลก (Global value chain) นอกจากนี้ตัวแบบห่วงโซ่คุณค่ายังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือ สำหรับการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmarking) ซึ่งเป็นการวัดผลการดำเนินงานของชุมชนการทำประมงพื้นบ้านเปรียบเทียบกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมหรือเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่องค์กรใช้เป็นต้นแบบ
อ้างอิง