การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก ปัญหา Plagiarism

การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก สำหรับงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์

การแก้ไขปัญหาการคัดลอก การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก ปัญหาPlagiarism จากโปรแกรมตรวจการคัดลอก อักขราวิสุทธิ์ หรือ Turn It In

การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก  คือ การเรียบเรียงหรือการเขียนผลงวิจัย รวมไปถึงผลงานวิชาการทุกชนิด เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการขโมยความคิดแบบไม่ได้ตั้งใจ  ด้วยการใส่เครื่องหมายคำพูด (เมื่อใส่คำพูดลงไปในงาน) รวมถึง การอ้างอิงแหล่งที่มา ทันทีที่ผู้เขียนใส่คำพูดนั้นลงไป หรือไม่ก็ใช้วิธีการถอดความจากต้นฉบับ หากผู้เขียนรอให้งานของคุณเสร็จก่อน แล้วค่อยอ้างอิงแหล่งที่มา ถึงเวลานั้นมีความเป็นไปได้ที่จะลืม และกลายเป็นว่าผู้เขียนไปขโมยความคิดของคนอื่นเขามา

การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก
การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก

เทคนิค การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก

1.มีความรู้ในเรื่องที่ผู้เขียนกำลังพูดถึง

การที่คุณเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังจะพูด จะทำให้คุณสามารถเขียนออกมาด้วยคำพูดของตัวเองได้ง่ายกว่า และมันก็จะดีกว่าการที่คุณไปพูดซ้ำกับคำพูดของคนอื่น ดังนั้น ให้คุณหาข้อมูลในหนังสือหรืออินเทอร์เน็ต (หนังสือมักให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่าอินเทอร์เน็ต) เกี่ยวกับเรื่องที่คุณจะเขียนเพื่อนำมาทำความเข้าใจด้วยเทคนิคในที่นี้ก็คือ หาข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง หากคุณอิงแค่จากแหล่งเดียว เช่น หนังสือเกี่ยวกับทาสแค่ 1 เล่ม โอกาสที่คุณจะไปลอกไอเดียคนอื่นก็จะมีมากขึ้น แต่ถ้าหากคุณอิงจากหนังสือที่เกี่ยวกับทาส 3 เล่ม เล่มหนึ่งเป็นสารคดี สองเล่มที่เหลือเป็นแหล่งข้อมูลต้นฉบับ โอกาสที่จะเกิดการลอกเลียนแบบโดยไม่ได้ตั้งใจก็จะลดลงไปเยอะ

2. การอ้างอิงคำพูดและแหล่งที่มา

งานเขียนจะต้องมีบรรณานุกรมหรือการอ้างอิงในงานของผู้เขียน  หากใช้คำพูดของคนอื่นโดยตรง ต้องใส่เครดิตให้ครบถ้วน หากอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน ไม่ได้ระบุมาว่าต้องทำเอกสารอ้างอิงในระบบไหน ให้คุณทำเอกสารอ้างอิงในระบบ MLA

ผู้เขียนสามารถหลีกเลี่ยงการขโมยความคิดแบบไม่ได้ตั้งใจได้โดยการใส่เครื่องหมายคำพูด (เมื่อใส่คำพูดลงไปในงาน) และอ้างอิงแหล่งที่มาทันทีที่คุณใส่คำพูดนั้นลงไป หรือไม่ก็ใช้วิธีการถอดความจากต้นฉบับ หากคุณรอให้งานของคุณเสร็จก่อน แล้วค่อยอ้างอิงแหล่งที่มา ถึงเวลานั้นคุณอาจจะลืมและกลายเป็นว่าคุณไปขโมยความคิดของคนอื่นเขามา

3. หากไม่แน่ใจ ให้ใส่เครดิต. มีหลายวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด ซึ่งต่อไปนี้ก็คือคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ของเรา

3.1 อ้างอิงแหล่งที่มาในการถอดความหรือแปลความของคุณ เช่นเขียนว่า “ตามที่ Richard Feynman ได้กล่าวไว้ พลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม สามารถอธิบายได้ด้วยกฎปริพันธ์ตามวิถี”

3.2ใส่เครื่องหมายคำพูดในวลีที่คุณคิดว่ามันเป็นการก๊อบปี้ เช่น เขียนว่า “การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์” เกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์บังคับให้คนในสังคมคิดเกี่ยวกับโลกในแบบที่แตกต่างกัน

4.ทำความเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน.

การขโมยผลงานของคนอื่นนั้นอาจจะกลายเป็นเรื่องที่ร้ายแรงได้ และเป็นไปได้คุณอาจจะทำผิดกฎหมายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น ทำความเข้าใจตามข้อความด้านล่างนี้เพื่อที่จะได้ไม่ทำผิดกฎหมายแบบไม่รู้ตัว

  • ตามกฎหมายทั่วไป อะไรก็ตามที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า คุณสามารถใช้ข้อเท็จจริงใดๆ ก็ได้เพื่อมาซัพพอร์ตงานเขียนของคุณ
  • แม้ว่าสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงจะไม่มีลิขสิทธิ์ แต่คำที่นำมาใช้อธิบายนั้นมีลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถ้อยคำนั้นเป็นต้นฉบับหรือมีลักษณะเฉพาะ (ลิขสิทธิ์จะครอบคลุมส่วนนี้) โดยคุณสามารถใช้ข้อมูลเท็จจริงใดๆ ก็ได้ในบทความของคุณ แต่คุณต้องอธิบายโดยใช้คำพูดของคุณเอง และเพื่อการหลีกเลี่ยง คุณสามารถใช้ข้อเท็จจริงที่อยู่แล้วมาอธิบายเป็นคำพูดของตัวเองได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนไวยากรณ์นั้นก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบ

5.เข้าใจว่ามีอะไรบ้างที่ไม่ต้องได้รับการอ้างอิงถึง

ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในงานวิจัยทางวิชาการที่จะต้องได้รับการอ้างอิงถึง เพราะถ้าหากคุณอ้างอิงทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็เป็นเรื่องยากที่จะให้คนอื่นยอมรับงานวิจัยของคุณ ซึ่งสิ่งที่คุณไม่จำเป็นต้องอ้างอิงถึง มีดังนี้

  • การสังเกตจากสามัญสำนึก คติชาวบ้าน ตำนานพื้นเมือง และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทุกคนรู้ เช่น เหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
  • ประสบการณ์ส่วนตัว ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการพิจารณาของตัวคุณเอง
    • อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้ประสบการณ์ส่วนตัว ความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการพิจารณาของตัวคุณเอง ที่เคยถูกเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ซ้ำเป็นครั้งที่สองในงานชิ้นใหม่ คุณควรจะขออนุญาตจากผู้สอนก่อน แล้วก็ให้เครดิตตัวเองด้วย
  • วีดีโอ พรีเซนเทชั่น ดนตรี หรือสื่ออื่นๆ ที่คุณทำขึ้นมาเอง
    • อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้วิดีโอ พรีเซนเทชั่น ดนตรี หรือสื่ออื่นๆ ที่คุณทำขึ้นมาซ้ำเป็นครั้งที่สอง คุณต้องขออนุญาตจากผู้สอนเพื่อที่จะนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง แล้วก็อย่าลืมให้เครดิตตัวเองด้วย
  • หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่คุณรวบรวมจากผลการทดลองของคุณเอง รวมถึงแบบสำรวจ และอื่นๆ

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. ระเบียบวิธีวิจัย
  4. ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
  5. หลักจริยธรรมการวิจัย
  6. วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ รับทำIS
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ รับทำIS