การทำวิจัยรปศ. วิจัยรัฐประศาสนศาสตร์
วิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรือ นิยมเรียกสั้นๆ การทำวิจัยรปศ. มีลักษณะคล้ายคลึงกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะระเบียบวิธีวิจัย ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดปัญหาใน การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย การทบทวนวรรรกรรมและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การตั้งสมมติฐานการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การออกแบบการวิจัย การสร้างมาตรวัด การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพียงแต่เนื้อหาสาระ และขอบเขตที่ศึกษานั้นแตกต่างกันตามลักษณะของศาสตร์ที่ศึกษา
การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง การปกครอง การเข้าสู่อำนาจ การลงจากอำนาจ ขณะที่ การศึกษาในสาขา รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องการบริหาร การบริหารภาครัฐทั้งหมด สำหรับประเทศไทยจะเรียนเรื่องการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น สาขาเอกย่อยๆ
1.นโยบายสาธารณะ
2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์
3.องค์การและการจัดการ
4.กระบวนการยุติธรรม
นอกจากนี้ ในหลักสูตรด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ยังเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ Thailand 4.0 ประชาคมอาเซียน ทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยีทางด้านไอที เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานของบัณฑิตในอนาคต
ตัวอย่างหัวข้อวิจัยสาขารัฐประศาสนศาสตร์ การทำวิจัยรปศ
ตัวอย่างการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา สำหรับการทำวิจัยรปศ
วิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมในการดำเนินตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษา หมู่บ้านไทรน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลักสำคัญประการหนึ่งของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรวมทั้งเป็นลักษณะและเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งของการบริหารจัดการที่ดี คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน (people’s participation) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยได้กำหนดให้ พ.ศ.2558 เป็นปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2559)
ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยในระยะต่อไปจะไม่มุ่งเน้นปริมาณนักท่องเที่ยว แต่จะเน้นการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากขึ้น เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวและกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น มีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้พบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความสมดุลและการพัฒนาตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการมีส่วนร่วมในการด าเนินตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุงรูปแบบการท่องเที่ยว
แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย
➢1. จากการอ่านเอกสาร ได้แก่ ตำรา บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจ โดยเฉพาะที่กล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนสนใจ ทฤษฎีจะช่วยชี้นำว่ามีสิ่งใดที่ควรทำวิจัย หรือในบางกรณีผู้วิจัยอาจสงสัยว่า สิ่งที่กล่าวไว้เป็นทฤษฎีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นจะนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป ผู้วิจัยก็อาจทำการวิจัยเพื่อตรวจสอบดูผลที่เกิดขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจนำทฤษฎีไปใช้ กรณีต่างๆ นี้ก็จะทำให้ได้หัวข้อปัญหาการวิจัยได้
➢2. จากการอ่านงานวิจัยที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว เช่น วารสารวิจัยต่าง ๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ เป็นต้น ข้อค้นพบที่ได้จากการทำวิจัย และข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยให้ไว้จะเป็นแนวทางท าให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัยได้
➢3. จากการอ่านบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ หรือบทคัดย่อรายงานการวิจัย ที่ได้รวบรวมไว้เป็นเล่มของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยต่างๆ จะทำให้เกิดแนวความคิดที่จะเลือกหัวข้อปัญหาวิจัยได้ นอกจากนี้ยังได้ทราบว่ามีงานวิจัยอะไรบ้างที่ผู้อื่นทำไว้แล้วซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในหัวข้อปัญหาวิจัย
➢4. จากประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง อาจได้จากปัญหาในการทำงานของผู้วิจัยเอง
➢5. จากข้อเสนอหรือข้อคิดของผู้รู้ผู้ชำนาญ ที่คลุกคลีกับงานวิจัยในสาขาวิชาที่ตนสนใจ เช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยมานาน เป็นต้น
➢6. จากการวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และข่าวสารต่างๆ โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม ตามสภาพเวลาและเทคนิควิทยาการต่างๆ
➢7. จากข้อโต้แย้งหรือการวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคล ที่อยู่ในวงการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังสนใจอยู่
➢8. จากการจัดสัมมนา และมีการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องที่ตรงกับที่ผู้วิจัยสนใจ เมื่อนำมาคิดพิจารณาอาจทำให้ได้แนวความคิดอันจะทำให้ได้หัวข้อปัญหาการวิจัยได้
➢9. ศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการทำวิจัย หรือบุคคลที่กำลังทำวิจัยอยู่ อาจทำให้ได้แนวความคิดอันจะทำให้ได้หัวข้อปัญหาวิจัยได้

อ้างอิง :
