หัวข้อวิจัยชั้นเรียน

หัวข้อวิจัยชั้นเรียน เทคนิคและวิธีการสำหรับการกำหนด หัวข้อวิจัยชั้นเรียน นักศึกษาระดับปริญญาโทสายงานการศึกษา ศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์  ย่อมทราบดีว่า งานวิจัยในชั้นเรียน  มีความสำคัญมากแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่านักศึกษา มีความรู้และทักษะในการวิจัยในชั้นเรียนเพียงใด เคยทดลองลงมือทำบ้างแล้วหรือไม่     มีนักศึกษาหลายท่านเมื่อพูดถึงคำว่า “วิจัย”   มักจะคิดนึกถึง ภาพของเอกสารหรือตำราเล่มหนาๆ โตๆ และสถิติที่ยุ่งยากผุดขึ้นในใจ  แค่เริ่มคิดหา หัวข้อวิจับชั้นเรียน  หลายท่านก็รู้สึกพะอืดพะอม  นึกไม่ออกบอกไม่ถูก ด้วยเหตุนี้  บทความนี้จึงนำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการวิจัยในชั้นเรียนนั้นไม่ยากเท่าใดนัก เริ่มจาก….. “ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทั่วไป” การวิจัยเป็นวิธีการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ กำหนดปัญหาการวิจัย แสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา บันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา สรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา สำหรับการวิจัยในชั้นเรียนมีขั้นตอนการดำเนินงานเช่นเดียวกันกับการวิจัยทั่วไป แต่ต่างกันที่การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือขยายองค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเอง (ซึ่งหากครูสามารถทำได้ถึงขั้นนี้นับว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา) ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการทำวิจัยไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนการสอนไม่แยกส่วนออกจากกัน นอกจากนั้นการวิจัยในชั้นเรียนไม่มีรูปแบบการดำเนินงานหรือรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยที่เป็นทางการมากนัก อาจจะทำเป็นวิจัยง่ายๆ 4-5 หน้า หรือจะทำเป็นงานวิจัย 5 บท ก็ได้เช่นกัน กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนที่จะนำเสนอนี้หากท่านลองฝึกคิด และทำตามไปทีละขั้นเชื่อมั่นว่าท่านจะได้งานวิจัย 1.       เลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่นำมาใช้ในการวิจัยพิจารณาได้จาก  ปัญหาที่เกิดกับตัวนักเรียน […]

หัวข้อวิจัยชั้นเรียน Read More »