แบบสอบถาม งานวิจัย

การวิเคราะห์แบบสอบถาม

การวิเคราะห์แบบสอบถาม การวิเคราะห์แบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS เทคนิค แนวทาง การวิเคราะห์แบบสอบถาม การวิเคราะห์แบบสอบถามด้วย SPSS   การทำวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยทั่วไปจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบหรือประเภทของข้อมูล คือ การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เช่น ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ข้อมูลจากการวางแผนการทดลอง และ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้แนวทางการสำรวจ (Survey) โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัย ดังนั้น การวิเคราะห์แบบสอบถาม จึงเป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องให้ความสำคัญและต้องเรียนรู้กับเทคนิคหรือวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ทำการเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถาม โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ได้รับความนิยมแพร่หลายที่สุด สำหรับการวิเคราะห์แบบสอบถาม คือ โปรแกรม SPSS และ โปรแกรม STATA อย่างไรก็ตาม โปรแกรม SPSS ถือได้ว่ามีข้อดีหรือข้อได้เปรียบโปรแกรม STATA ในเรื่องของความง่ายหรือความสะดวก การทำความเข้าใจโปรแกรม การทำความเข้าใจคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สามารถทำได้ง่ายกว่า และตารางผลลัพธ์เป็นตารางที่นำไปปรับใช้สำหรับการเขียนผลการศึกษา หรือ การนำเสนอผลการศึกษาที่ง่ายและสวยงามกว่าโปรแกรม STATA เทคนิค การวิเคราะห์แบบสอบถาม […]

การวิเคราะห์แบบสอบถาม Read More »

การสร้างแบบสอบถาม

การสร้างแบบสอบถาม    แนวคิดเกี่ยวกับ การสร้างแบบสอบถาม เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม แบบสอบถามที่ดี การรวบรวมแบบสอบถาม เพื่องานวิจัย ก่อนไปถึงขั้นตอน การสร้างแบบสอบถาม ผู้ทำวิจัยควรทำความเข้าใจกับแบบสอบถาม และ การสร้างแบบสอบถามที่ถูกต้อง ดังนี้  แบบสอบถาม(Questionnaire) หมายถึง รูปแบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต แบบสอบถามประกอบด้วยรายการคำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น การสร้างคำถามเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้วิจัย เพราะว่าผู้วิจัยอาจไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายความหมายต่าง ๆ ของข้อคำถามที่ต้องการเก็บรวบรวม แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะการเก็บรวบรวมข้อมูลสะดวกและสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์หรือให้ผู้ตอบด้วยตนเอง โครงสร้างของแบบสอบถาม โดยทั่วไป แบบสอบถามจะมีโครงสร้างหลักหรือโครงสร้างที่สำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. หนังสือนำหรือคำชี้แจง  ส่วนแรกของแบบสอบถาม อาจมีจดหมายนำอยู่ด้านหน้าพร้อมคำขอบคุณ โดยคำชี้แจงมักจะระบุถึงจุดประสงค์ที่ให้ตอบแบบสอบถาม การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ คำอธิบายลักษณะของแบบสอบถาม วิธีการตอบแบบสอบถามพร้อมตัวอย่าง ชื่อ และที่อยู่ของผู้วิจัย ประเด็นที่สำคัญคือการแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ตอบมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบไปจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นรายบุคคล จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ตอบ และมีการพิทักษ์สิทธิของผู้ตอบด้วย 2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว โดยทั่วไปจะเป็นข้อมูลประเภท ลักษณะทางประชากรศาสาตร์ (Demographics) หรือ

การสร้างแบบสอบถาม Read More »