การทำวิจัยในชั้นเรียน รับทำวิจัยชั้นเรียน
การทำวิจัยในชั้นเรียน เทคนิค การทำวิจัยในชั้นเรียน รับทำวิจัยในชั้นเรียน ปรึกษาการทำวิจัยชั้นเรียน วิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร วิจัยการเรียนการสอนเป็นการทำวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพของทรัพยากรที่สำคัญของประเทศคือ “เด็ก” การทำวิจัยในชั้นเรียน มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาประเทศมีรากฐานมาจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องเริ่มสร้างตั้งแต่ยังเด็ก การเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยมศึกษา จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการจัดการเรียนการสอน ที่ถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นที่มาของการทำวิจัยชั้นเรียน เป็นเครื่องมือสำคัญของการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งกระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ยิ่งต้องทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์คือเด็ก หรือเด็กนักเรียน นอกจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดทำหลักสูตรปกติแล้ว ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่กระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพของทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน การทำวิจัยในชั้นเรียน ถือได้ว่าาเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์และสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ถือได้ว่าเครื่องมือที่ครูอาจารย์ผู้สอนสามารถใช้เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน และนำไปสู่การพัฒนาวิธีการเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเผยแพร่ความรู้เทคนิควิธีการแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยได้คิดค้นและทดลองแล้วนั้นให้กับครูอาจารย์อื่นๆ ได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนได้ตามความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในวงกว้างต่อไป การทำวิจัยในชั้นเรียน มีความแตกต่างจากการทำวิจัยทั่วไปหรือไม่ อย่างไร? การวิจัยในชั้นเรียนต้องอาศัยองค์ประกอบและทักษะของการทำวิจัยทั่วไป กล่าวคือ เป็นการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ การกำหนดปัญหาการวิจัย การแสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา การบันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา การสรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม การวิจัยในชั้นเรียน จะมีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือขยายองค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเอง […]