การทดสอบสมมติฐานวิจัยและการมีนัยสำคัญทางสถิติ

การทดสอบสมมติฐานวิจัย และ การมีนัยสำคัญทางสถิติ คืออะไร คนทั่วไปอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า  การทำรายงาน หรือ การทำวิจัยที่ไม่มีการทดสอบสมมติฐาน  หรือเมื่อทดสอบสมมติฐานแล้ว พบว่า ผลการวิจัย “ไม่มีนัยสำคัญ”  คือ งานวิจัยที่ “ไม่สำคัญ”  ประเด็น  การทดสอบสมมติฐานงานวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จึงเป็นเรื่องที่ควรเข้าใจที่ถูกต้อง คำพูดดังกล่าวนี้ถือเป็นคำพูดที่ผิดโดยสิ้นเชิง   และเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่มีผู้วิจัยจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดถึงกับไม่เผยแพร่งานวิจัยนั้น   หรือบางท่านก็พยายามเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำวิจัยใหม่  เช่น  การเปลี่ยนตัวแปร  การเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่าง  รวมไปถึงการเปลี่ยนแบบจำลอง หรือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใหม่ เป็นต้น   นอกจากนี้  ยังอาจพบว่า  มีบรรณาธิการบางวารสารไม่ยอมให้งานวิจัยฉบับนั้นลงตีพิมพ์   บางส่วนของคณะกรรมการพิจารณาผลงานวิชาการ  ไม่ยินยอมให้งานวิจัยนั้นผ่านการพิจารณา และอื่นๆ อีกมากมาย  การทดสอบสมมติฐานงานวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จึงเป็นสิ่งสำคัญ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้  เนื่องจากเป็นการให้ความสำคัญกับค่า Sig. หรือ p-value   มากเกินความเป็นจริง หรือภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Over reliance on p-value   ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจหลักการอนุมานทางสถิติ (Statistical inference)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  …

การทดสอบสมมติฐานวิจัยและการมีนัยสำคัญทางสถิติ Read More »