การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก ปัญหา Plagiarism
การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก สำหรับงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ การแก้ไขปัญหาการคัดลอก การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก ปัญหาPlagiarism จากโปรแกรมตรวจการคัดลอก อักขราวิสุทธิ์ หรือ Turn It In การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก คือ การเรียบเรียงหรือการเขียนผลงวิจัย รวมไปถึงผลงานวิชาการทุกชนิด เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการขโมยความคิดแบบไม่ได้ตั้งใจ ด้วยการใส่เครื่องหมายคำพูด (เมื่อใส่คำพูดลงไปในงาน) รวมถึง การอ้างอิงแหล่งที่มา ทันทีที่ผู้เขียนใส่คำพูดนั้นลงไป หรือไม่ก็ใช้วิธีการถอดความจากต้นฉบับ หากผู้เขียนรอให้งานของคุณเสร็จก่อน แล้วค่อยอ้างอิงแหล่งที่มา ถึงเวลานั้นมีความเป็นไปได้ที่จะลืม และกลายเป็นว่าผู้เขียนไปขโมยความคิดของคนอื่นเขามา เทคนิค การหลีกเลี่ยงปัญหาการคัดลอก 1.มีความรู้ในเรื่องที่ผู้เขียนกำลังพูดถึง การที่คุณเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังจะพูด จะทำให้คุณสามารถเขียนออกมาด้วยคำพูดของตัวเองได้ง่ายกว่า และมันก็จะดีกว่าการที่คุณไปพูดซ้ำกับคำพูดของคนอื่น ดังนั้น ให้คุณหาข้อมูลในหนังสือหรืออินเทอร์เน็ต (หนังสือมักให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่าอินเทอร์เน็ต) เกี่ยวกับเรื่องที่คุณจะเขียนเพื่อนำมาทำความเข้าใจด้วยเทคนิคในที่นี้ก็คือ หาข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง หากคุณอิงแค่จากแหล่งเดียว เช่น หนังสือเกี่ยวกับทาสแค่ 1 เล่ม โอกาสที่คุณจะไปลอกไอเดียคนอื่นก็จะมีมากขึ้น แต่ถ้าหากคุณอิงจากหนังสือที่เกี่ยวกับทาส 3 เล่ม เล่มหนึ่งเป็นสารคดี สองเล่มที่เหลือเป็นแหล่งข้อมูลต้นฉบับ โอกาสที่จะเกิดการลอกเลียนแบบโดยไม่ได้ตั้งใจก็จะลดลงไปเยอะ 2. การอ้างอิงคำพูดและแหล่งที่มา งานเขียนจะต้องมีบรรณานุกรมหรือการอ้างอิงในงานของผู้เขียน […]