การเลือกหัวข้อวิจัย

การคิดหัวข้อวิจัย

การคิดหัวข้อวิจัย แนวคิดพื้นฐาน การคิดหัวข้อวิจัย ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอน การคิดหัวข้อวิจัย  นักศึกษา หรือ ผู้ทำวิจัย ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของกระบวนการทำวิจัยเสียก่อน การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคําตอบในการแก้ไขปัญหา โดยวิธีการที่เป็นระบบเชื่อถือได้ตามหลักวิชาการ โดยมีลําดับขั้นตอนในการวิจัยที่เริ่มจากการกําหนดปัญหาศึกษาเอกสาร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กําหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการวิจัย สร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและเขียนรายงานการวิจัย ประโยชน์ของการทําวิจัย 1. การวิจัยช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ 2. การวิจัยสามารถใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและยุติธรรม 3. การวิจัยจะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถใช้ทํานาย ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากกว่าการคาดคะเนแบบสามัญสํานึก 4. การวิจัยสามารถช่วยในด้านการกําหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปัญหาหรือการ วินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารให้เป็นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 5. การวิจัยสามารถตอบคําถามที่ยังคลุมเครือให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น 6. การวิจัยจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักวิชาการ ให้มีการใช้ผลการวิจัยและทํางาน ค้นคว้าวิจัยต่อไป 7. การวิจัยจะทําให้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งนํามาใช้เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนา บุคคลและหน่วยงานต่าง […]

การคิดหัวข้อวิจัย Read More »

5 เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์

เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย การกำหนดหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ การเลือกหัวข้อวิจัย เป็นบันไดขั้นแรก เป็นประตูบานแรก ของความสำเร็จสำหรับการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ หากนักวิจัยกำหนดหัวข้อวิจัยที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้สูง ที่จะสามารถทำงานวิจัยในขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยต่อไป ให้สำเร็จลุล่วง มีประสิทธิภาพ และเสร็จตามกำหนดเวลา เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย ให้ประสบผลสำเร็จ ผ่านการอนุมัติ และเป็นหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ จากประสบการณ์ การทำวิจัยปริญญาเอก รับทำดุษฎีนิพนธ์ แบบที่ปรึกษาและผู้ช่วยวิจัยมากกว่า 17 ปี ทั้งดุษฎีนิพนธ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถสรุปเทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย 5 ข้อ 1.เลือกหัวข้อวิจัย จากประสบการณ์ ความชอบ และความต้องการส่วนตัว สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ระดับมหาบัณฑิต(ปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วระดับหนึ่ง  ย่อมมีไอเดียการหาหัวข้อวิจัยที่เป็นความต้องการส่วนตัว เช่น หากทำงานในธุรกิจสายการบิน โดยดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการสายการบิน  ว่าในทางทฤษฎีการบริหารจัดการ หรือ การตลาด  สามารถวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินได้ด้วยแนวคิดอะไร หรือทฤษฎีของใคร และมีปัจจัย (variable)ใดบ้างที่คาดว่าจะมีผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินเป็นต้น สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน

5 เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ Read More »