เทคนิคการทำวจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

เทคนิคการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  Quantitative  and  Qualitative  Research เทคนิคการทำวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research , Qualitative Analysis และการทำวิจัยเชิงปริมาณ เป็นเทคนิคการทำวิจัยที่นักวิจัยและนักศึกษาควรเรียนรู้และเข้าใจลักษณะและรูปแบบของการทำวิจัยที่แตกต่างกันของการทำวิจัยทั้ง 2 แบบ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เทคนิคการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เป็นเครื่องมือสำคัญมากสำหรับการทำวิจัยที่มุ่งเน้นผลการศึกษาที่ถูกต้อง ครบถ้วน ได้มุมมอง และประเด็นที่ลึกซึ้ง หากสามารถทำวิจัยที่มีการผสมผสานรูปแบบการทำวิจัยทั้งสองแบบ นอกเหนือจากการทำวิจัยเชิงปริมาณ ที่มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามหรือข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลาเป็นหลัก หรือการทำวิจัยเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถสรุปข้อมูลด้วยตัวเลข สถิติ และการทดสอบสมมติฐาน การทำวิจัยเชิงคุณภาพสามารถทำควบคู่กับการทำวิจัยเชิงปริมาณ  ซึ่งจะทำให้ได้ผลการศึกษาที่ครบถ้วนและสมบูรณ์แบบมากกว่าการทำวิจัยประเภทใดประเภทหนึ่ง การทำวิจัยหรือการทำวิทยานิพนธ์ด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ  เป็นการมุ่งแสวงหาความรู้ ความเข้าใจพฤติกรรมและปรากฎการณ์ที่สนใจ ด้วยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามความจริงในทุกมิติ  ให้ความสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้คุณค่าและความหมาย กับปัจจัยต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือการสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง  โดยโดยทั่วไปจะใช้เวลานานในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามสิ่งที่สนใจศึกษาในระยะยาว  การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่มุ่งเน้นใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายและคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ […]

เทคนิคการทำวจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ Read More »