การทำดุษฎีนิพนธ์

การทำดุษฎีนิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิจัยระดับปริญญาเอก (Dissertation) เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการบรรลุเป้าหมายการเป็นดุษฎีบัณฑิต หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก  ซึ่งปัจจุบันเป็นการศึกษาในระดับที่สูงที่สุดในระดับบัณฑิตศึกษา  การทำดุษฎีนิพนธ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บัณฑิตระดับปริญญาเอกทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์จะมีความคล้ายคลึงกัน ความแตกต่างที่สำคัญจะอยู่ที่ขอบเขตและความซับซ้อนของงานเท่านั้น (Glatthorn & Joyner 2005) แนวคิดนี้เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาแต่ในอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Thesis”เหมือนกันทั้งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับในภาษาไทยในปัจจุบันนี้วิทยานิพนธ์ใช้กับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทส่วนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนั้นใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์” ในที่นี้จะใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์”  หรือ  ”วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก”โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน บทพิสูจน์ของการเรียนในระดับปริญญาเอกที่สำคัญที่สุดคือคือดุษฎีนิพนธ์ (Phillips & Pugh 1994)  กล่าวได้ว่า การทำเขียนดุษฎีนิพนธ์เป็นหัวใจของการเรียนปริญญาเอก และเนื่องจากการเรียนปริญญาเอกเป็นการผลิตนักวิจัยมืออาชีพ ซึ่งได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกชุมชนวิชาการระดับโลก (Phillips & Pugh 1994) ดุษฎีนิพนธ์จึงต้องได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของนานาชาติด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจได้ว่ามหาวิทยาลัยได้ทำการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของชุมชนวิชาการระหว่างประเทศ โดยปกติทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดุษฎีนิพนธ์เอาไว้เป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบตั้งแต่ต้น และถือปฏิบัติในการทำดุษฎีนิพนธ์ของตน และมอบให้คณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกใช้เป็นแนวทางในการตรวจพิจารณาตัดสินขั้นสุดท้ายในการสอบดุษฎีนิพนธ์ กล่าวได้ว่า ดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิจัยปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation)  ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีวิธีการกระทำที่ถูกต้องและลึกซึ้งตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลซึ่งบ่งชัดเจนถึงสิ่งที่ได้ ค้นพบใหม่ …

การทำดุษฎีนิพนธ์ Read More »