การเขียนบทคัดย่อ
การเขียนบทคัดย่อ เทคนิค วิธีการ การเขียนบทคัดย่อ เทคนิค การเขียนบทคัดย่อ สำหรับงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ บทคัดย่อ สารนิพนธ์ การศึกษาอิสระ ปัญหาพิเศษ และงานวิจัยทุกประเภท บทคัดย่อ คือ ข้อมูลสรุปเนื้อหาของงานวิจัย การเขียนบทคัดย่อควรใช้ข้อความสั้น กระทัดรัดและกระชับ (Concision) มีความถูกต้อง (Precision) และมีความชัดเจน (Clarity) ทำให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของงานวิจัยอย่างรวดเร็ว และอ่านได้เข้าใจโดยไม่ต้องไปอ่านจากที่อื่นอีก โดยเมื่อผู้อ่านๆบทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของงานวิจัยได้ บทคัดย่อเป็นตัวแทนของงานวิจัยเพราะมักจะถูกรวบรวมไว้ในแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ ซึ่งผู้อ่านมักจะตัดสินจากบทคัดย่อว่าควรจะอ่านงานวิจัยทั้งหมดต่อไปหรือไม่ ในการเขียนบทคัดย่องานวิจัยควรใช้พื้นที่ไม่เกิน 10 บรรทัด โดยมีประเด็นในการนำเสนอในแต่ละบรรทัดดังนี้ บรรทัดที่ 1 กับ บรรทัดที่ 2 Why did you start? –Introduction เป็นการกล่าวเกริ่นนำเข้าถึงเรื่องที่จะศึกษา มุ่งตอบคำถาม “ทำไมจึงวิจัย” ระบุว่าเพราะเหตุใดหัวข้อที่ผู้วิจัยได้เลือกไว้จึงเป็นปัญหาที่จำเป็นจะต้องศึกษาและประเด็นอะไรที่ยังไม่ครอบคลุมหรือที่ยังไม่ได้ศึกษา โดยนำคำที่สำคัญที่สุดจากชื่อเรื่องมาเขียนร้อยเรียงกัน เริ่มจากคำที่สำคัญที่สุดของชื่อเรื่องก่อนเป็นอันดับแรก แล้วต่อด้วยวัตถุประสงค์ของงานวิจัย มุ่งตอบคำถาม “ต้องการทราบอะไร”” Why […]