การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size)
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) เหตุผลสำคัญที่สุดของ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจาก การทำวิจัย หรือโครงการวิจัยประเภทอื่นๆ เช่น การทำดุษฎีนิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ ปริญญานิพนธ์ นักวิจัยจะประสบปัญหาเรื่องเวลา งบประมาณและทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ด้วยเหตุนี้การสุ่มตัวอย่างจากประชากรจึงมีความจำเป็น เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษา ในโพสท์นี้ เราจะนำเสนอรายละเอียดสำคัญๆ เกี่ยวกับการกำหนดหรือการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะวิธีการที่ได้รับความนิยมใช้อย่างยาวนานเกินครึ่งศตวรรษอย่างสูตรของ Taro Yamane (1967) และวิธีการของ Krejcie & Morgan พร้อมทั้งเสนอข้อดี(จุดแข็ง) และข้อเสีย(จุดอ่อน) ของวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทั้งสองวิธีนี้ รวมถึงวิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างอื่นๆ ข้อควรรู้ ก่อนที่จะไปทำความรู้จักสูตร การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง การเรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้น ที่เกี่ยวข้องกับการหากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากร (Population) คือ สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ส่วนหนึ่งของประชากร ที่นำมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรทั้งหมด จึงต้องมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถอ้างอิง ไปยังประชากรได้อย่างน่าเชื่อถือ การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) […]