วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทำวิจัยด้านรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในสาขารัฐศาสตร์  หรือรัฐศาสตร์การทูต รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ความหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก (อ้างอิง1) ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์การทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ   มีลักษณะที่สามารถจำแนกความแตกต่างกัน ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น […]

วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ Read More »