การเขียนบทความวิจัย

การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย และการตีพิมพ์บทความวิจัย การสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากจะสามารถผ่านเกณฑ์การเรียนและการสอบในแต่ละวิชาจนครบตามหลักสูตรของคณะและมหาวิทยาลัยกำหนดไว้แล้ว  ยังมีเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นอีกประการหนึ่งของการได้รับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ที่กำหนดหลักเกณฑ์ของการสำเร็จการศึกษาว่า จะต้องมีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ทำให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย รวมไปถึงการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของนักวิชาการและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยว่าจะต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการได้รับตำแหน่งทางวิชาการด้วย  เช่น  (1)  การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรื ระดับนานาชาติ (Conference) ด้วยการนำส่งบทความวิจัยเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการ ทั้งในรูปแบบของโปสเตอร์และการนำเสนอแบบปากเปล่า  โดยบทความจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินคุณค่า รวมไปถึงความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บทความที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติให้สามารถเข้าร่วมการนำเสนอจะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceeding) หรือ การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ ซึ่งเจ้าของบทความนั้นๆ สามารถที่จะลงทะเบียนและทำการนำส่งบทความเอกสารต้นฉบับ สำหรับใช้ตีพิมพ์  ตลอดจนการติดตามผลผ่านเว็บไซต์ของแต่ละวารสาร  ผลการพิจารณาสามารถเป็นไปได้ทั้งการปฏิเสธ (Reject) การยอมรับ (Accept) และการส่งกลับมาให้ทำการแก้ไขเพิ่มเติม (Revise) ในกรณีที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์บทความ  เจ้าของบทความจะได้รับบทความเสมือนจริงส่งกลับมาให้มีการตรวจความเรียบร้อยอีกครั้ง ซึ่งเจ้าของบทความจะต้องรีบทำการตรวจสอบแก้ไขและส่งกลับไปยังวารสารให้เร็วที่สุด กรณีที่มีการส่งกลับมาให้แก้ไข ควรรีบดำเนินการแก้ไขและส่งกลับคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้  และอาจจะต้องมีการแก้ไขบทความหลายครั้งจึงจะได้รับการตีพิมพ์  ทั้งนี้กรณีที่บทความถูกปฏิเสธ  ควรมีการแก้ไขตามที่ผู้พิจารณาผลงาน (Reviewer) และสามารถส่งไปตีพิมพ์ในวารอื่นต่อไปได้ จากประสบการณ์การทำงานในการเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือ การทำวิทยานิพนธ์  […]

การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย Read More »

การเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย  ให้ได้รับการตีพิมพ์วารสารวิชาการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ การเขียนบทความวิจัย เทคนิคการเขียนบทความวิจัย  สำหรับ การเขียนบทความ / การเขียนบทความวิจัย เป็นการทำงานวิชาการประเภทหนึ่ง และทวีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ  นักวิชาการหรือนักวิจัยที่มีบทความที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยที่ได้รับการยอมรับ  โดยเฉพาะได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น ISI และ SCOPUS จะทำให้มีโอกาสเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งทางวิชาการได้ไม่ยากนัก การเขียนบทความวิจัย  ถือได้ว่าเป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียวกับ  การเขียนรายงานการวิจัย หรือ Research  Report   ซึ่งอาจมีความแตกต่างจาก การเขียนรายงานวิจัย  ที่เด่นชัดคือความกระชับ แต่มีรูปแบบและเนื้อหาสาระของการนำเสนอที่ไม่แตกต่างกัน  โดยส่วนที่แตกต่างกันสำคัญมี หลายประเด็นคือ  บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่นักวิจัย  เขียนขึ้นในรูปแบบของบทความวิชาการ  เพื่อนำเสนอข้อค้นพบ หรือ หลักฐานะชิงประจักษ์ รวมไปถึงการนำเสนอนวัตกรรมที่จัดว่าเป็นผลงานได้  ผ่านสื่อประเภทต่างๆ ตลอดจนการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ หรือ conference ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากวารสารวิจัยมีข้อจำกัดในด้านปริมาณของเนื้อหา หรือ ข้อจำกัดด้านจำนวนหน้า  นอกจากนี้ในที่ประชุมมักจะมีเวลาที่จำกัด  บทความวิจัยจึงต้องมีการบริหารเนื้อหาในการนำเสนอ หรือมีจำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัยนั่นเอง การตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการ การตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มีการรวบรวมจากคู่มือการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญมาก ดังต่อไปนี้ 1.ควรเลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย ตลอดจนควรค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของผู้วิจัยที่จะติดต่อขอตีพิมพ์  เพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียนบทความ  รวมถึงการจัดรูปแบบของการนำเสนอเนื้อหา 

การเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ Read More »