การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แนวคิด เทคนิค วิธีการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Analysis) เป็นวิธีการสร้างข้อสรุป จากข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์  เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่นักวิจัยนิยมใช้ ได้แก่ การจำแนกหรือการจัดกลุ่ม ข้อมูล การเปรียบเทียบเหตุการณ์ การวิเคราะห์ส่วนประกอบ การวิเคราะห์แบบอุปนัย และ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร เป็นต้น การวิจัยเชิงคุณภาพมีความแตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณแบบตรงกันข้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งน้เพราะข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมีความแตกต่างจากข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณโดยสิ้นเชิง การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาจากสาระหรือเนื้อความของข้อมูลที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Content Analysis ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะรวมถึงเอกสารที่ถอดเทปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกการเข้าร่วม การสังเกต การตรวจสอบเอกสาร หรือหลักฐานต่างๆ รวมทั้งโสตทัศนูปกรณ์ ตลอดจนวิดิทัศน์ และอื่นๆ ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพในแต่ละโครงการนั้นจะมีปริมาณแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการแต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณของข้อมูลจะมีหลายร้อยหน้ากระดาษ บางโครงการอาจจะมีหลายพันหน้ากระดาษในกรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงได้มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การที่นักวิจัยจะสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์มูลเชิงคุณภาพได้นั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อเป็นพื้นฐานในการนำไปสู่การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในส่วนนี้จะได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาโดยสังเขป การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีกี่ประเภท การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิจัยเชิงคุณภาพแยกได้เป็นสามแบบ (Hsieh & Shannon, 2005) คือ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม (Conventional content analysis) เริ่มต้นจากการสังเกต โดยการกำหนดรหัสกระทำในระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มาของรหัสมาจากข้อมูล […]

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ Read More »