การทำวิจัย

ข้อคิดการจ้างทำวิจัย

ข้อคิดการจ้างทำวิจัย นักวิจัยหรือนิสิตนักศึกษาจำนวนมากที่ประสบปัญหาการทำวิจัย ทั้งในระดับปริญญาเอก และปริญญาโท  ทำให้มองหาทางเลือกในการจ้างที่ปรึกษา ผู้ช่วยทำวิจัย  ซึ่งก่อนจ้างทำวิจัย ควรมีการพินิจพิจารณาอย่างละเอียดถี่ด้วนในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อให้ได้ทีมงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นไปตามความคาดหวัง  ไม่เสียทั้งเงินและเวลา อีกทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต บทความนี้ นำเสนอ 10 ข้อคิดการจ้างทำวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 10 ข้อคิดการจ้างทำวิจัย ประเด็นที่ควรพิจารณาก่อนจ้างทำวิจัย: 1. ตรวจสอบโพรไฟล์ของผู้รับจ้าง: ควรตรวจสอบประวัติการทำงานและความเชี่ยวชาญของผู้รับจ้าง หรือบริษัทที่ให้บริการรับทำวิจัย ว่ามีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือไม่   ปัจจุบันมีทีมนักวิจัยจำนวนมากที่รับทำงานประเภทนี้  ซึ่งผู้สนใจ ควรเลือกทีมวิจัย ที่มีทั้งเว็บไซต์ และเพจ (Facebook) ที่ทำให้เราสามารถตรวจสอบเบื้องต้นว่าเพจนั้นๆ เปิดมาเป็นระยะเวลาเท่าใด และมีคอมเมนท์เชิงลบบ้างหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้เราสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเบื้องต้นได้ 2. ควรกำหนดขอบเขตงานวิจัยให้ชัดเจน: สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการจ้างงานทุกประเภท ซึ่งเป็นงานบริการประเภทหนึ่ง ผู้จ้างควรกำหนดขอบเขตของงานวิจัยให้ละเอียดและชัดเจนและรัดกุม รวมถึงการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ผล เพื่อให้ผู้รับจ้างเข้าใจความต้องการและสามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างถูกต้อง  3. ทำความเข้าใจกระบวนการวิจัย: ผู้จ้างทำวิจัย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการวิจัยที่ผู้รับจ้างจะใช้ รวมถึงเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการวิจัย เพื่อให้สามารถติดตามความคืบหน้าและประเมินคุณภาพของงานวิจัยได้  4. ทำข้อตกลงและสัญญา: ควรทำข้อตกลงและสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้รับจ้าง โดยระบุรายละเอียดของงาน งบประมาณ ระยะเวลา และเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง  5. ติดตามความคืบหน้าของงานวิจัย: ควรมีการติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่างานวิจัยเป็นไปตามเป้าหมายและข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้  […]

ข้อคิดการจ้างทำวิจัย Read More »

กรอบแนวคิดงานวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.)

กรอบแนวคิดงานวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.) การสร้าง กรอบแนวคิดงานวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตหรือภาพรวมของ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ รปศ. อย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยปัจจุบันภาพรวมทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถสรุปได้เป็น 4 ด้านด้วยกัน รัฐประศาสนศาสตร์ คือ จุดสนใจที่ใช้สำหรับการศึกษา (Focus of study) ไม่มีฐานะเป็นศาสตร์ (Discipline) เป็นศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีองค์ความรู้ แนวคิด และทฤษฎีเป็นของตนเอง เป็นศาสตร์ที่มีลักษณะเป็น “สหวิทยาการ” (Interdiscipline) หมายถึง ได้อาศัยความรู้จากศาสตร์หลายสาขาเพื่อมาอธิบายประเด็นหรือเหตุการณ์ที่สนใจ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์  (Applied Social Science)  หมายความว่า มุ่งเน้นถึงการนำเอาสังคมศาสตร์อื่นๆ มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหาร ปัจจุบันรัฐประศาสนศาสตร์ได้นำเอาความรู้จากศาสตร์อื่นๆ นอกเหนือจากสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ดี องค์ความรู้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเอาความรู้จากศาสตร์อื่นๆ มาประยุกต์ใช้ เป็นวิชาชีพ (Professional) หมายถึง วิชาในความหมายที่กว้าง มีมาตรฐาน และมีองค์กรวิชาชีพแต่ละวิชาชีพคอยส่งเสริม กำกับดูแลมาตรฐานในวิชาชีพนั้น ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ตารางแสดงสถานภาพของรัฐประศาสตร์

กรอบแนวคิดงานวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.) Read More »

การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถาม

เทคนิค การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถาม การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถาม สำหรับการทำงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือเหตุการณ์ต่างๆ หลายครั้งที่เราทำการเกตการณ์  จำเป็นที่จะต้องมีการหาตัววัดซึ่งค่าที่จะวัดมักจะต้องมีความเป็นรูปธรรมที่สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ได้ เช่น ค่าน้ำหนัก ค่าความยาว แต่ยังมีคุณลักษณะบางอย่างที่เป็นนามธรรม เช่น การทำงานร่วมกันภายในองค์กร หรือ ทัศนะคติของบุคคลเกี่ยวกับการเมือง   ลักษณะการสังเกตการณ์แบบนี้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวัดคุณลักษณะที่ต้องการได้เหมาะสมที่สุด นักวิจัยจะทำการถามคำถามหลายๆหัวข้อที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่ต้องการศึกษา มากกว่าจะถามคำถามตรงๆง่ายๆเพียงคำถามเดียว เช่น ต้องการรู้ความพึงพอใจของมื้ออาหารที่รับประทานว่าเป็นอย่างไร  นักวิจัยอาจสร้างคำถามแบบนี้ คุณมีความพึงพอใจกับการบริการอย่างไร คุณจะกลับมาใช้บริการร้านเราอีกครั้งหรือไม่ คุณจะแนะนำร้านเราต่อคนอื่นๆหรือไม่ ทั้งนี้ การรวบรวมคำถามหลายๆหัวข้อแบบนี้จะทำให้นักวิจัย ทราบข้อมูลเชิงลึกและทำความเข้าใจความพึงพอใจของลูกค้า (understanding of customer satisfaction)ที่อาจมีความแตกต่างกันเล็กๆน้อยๆได้ ความท้าทายคือคำถามที่ถามนั้นสามารถเก็บรายละเอียดความแตกต่างในมุมมองต่างๆ และความสัมพันธ์กันในบางมุมมองได้อย่างครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งคำถามจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะที่สัมพันธ์กันเพราะถ้าไม่มีตรงนี้จะทำให้ข้อมูลที่ได้มาอาจไม่ถูกต้อง ซึ่งจะได้ข้อสรุปที่ไม่มีคุณภาพ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าชุดคำถามของเรานั้นสามารถวัดคุณลักษณะได้อย่างมีคุณภาพ การวิเคราะห์รายหัวข้อด้วยค่าครอนบาชอัลฟ่า (Cronbach’s alpha) อาจเป็นทางเลือกที่ใช้ได้ดีกับคำถามนี้ และ Minitab สามารถทำให้การทำงานของเครื่องมือนี้ง่ายขึ้นด้วย การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถาม ด้วยการวิเคราะห์รายหัวข้อ การวิเคราะห์รายหัวข้อ (Item Analysis) คืออะไร การวิเคราะห์รายหัวข้อ(Item Analysis) คือ การทดสอบเพื่อบอกว่าคำถามหรือหัวข้อที่ตั้งถามมานั้นสามารถสะท้อนถึงการวัดคุณลักษณะที่ต้องการได้ดีหรือไม่

การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น แบบสอบถาม Read More »

วิจัยบัญชี

วิจัยบัญชี แนวคิด หลักการ วิจัยบัญชี การทำวิจัยด้านบัญชี วิทยานิพนธ์ด้านบัญชี วิจัยบัญชี ต่างจากวิจัยทั่วไปอย่างไร?  เนื่องจาก การบัญชี เป็นส่วนหนึ่งของสังคมศาสตร์ ดังนั้น  วิจัยบัญชี ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของ การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ทั่วไป กล่าวคือ เป็นกระบวนการหาข้อสรุปซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เพื่ออธิบายปรากฎการณ์นั้นด้วยระบบระเบียบแบบแผน  การวิจัยทางบัญชี เป็นกระบวนการหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี  โดยอาศัยองค์ประกอบที่เป็นศาสตร์ความรู้ที่พัฒนามาจากการพัฒนาทฤษฎีทางการบัญชี  วิชาชีพบัญชี การพัฒนาองค์กรธุรกิจและบุลากรทางการบัญชี  ซึ่งมีกระบวนการในการทำวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาวิชาชีพ การทำวิจัยบัญชี จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ด้านบัญชีเป็นสำคัญ เช่นเดียวกันกับการทำวิจัยตลาด การทำวิจัยการเงิน หรือการทำวิจัยในสาขาบริหารธุรกิจ หรือการจัดการ อย่างไรก็ตาม การทำวิจัยบัญชีจะมีความใกล้เคียงกับการทำวิจัยด้านการเงิน หากใช้ข้อมูลเป็นตัวเลขทางการเงิน จากงบดุล งบกำไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสด  โดยอาจนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ต้องการศึกษา เช่น การวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุนที่ส่งผลต่อนโยบายเงินปันผล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม จำเป็นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับสถิติและเศรษฐมิติ เพื่อนำมากำหนดตัวแบบหรือโมเดลที่ใช้ในการวิเคราะห์  ซึ่งจะมีความยากหรือง่าย ความเหมาะสม สอดคล้องกับประเภทของข้อมูลแตกต่างกัน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือความล่าช้าในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล วัตถุประสงค์ของ การทำวิจัยด้านบัญชี การดำเนินการวิจัยทางการบัญชี มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ (สรชัย

วิจัยบัญชี Read More »

การวิจัยเชิงคุณภาพ

วิจัยเชิงคุณภาพ  Qualitative  Research เทคนิค วิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research , Qualitative Analysis นักวิจัยและนักศึกษาควรเรียนรู้และเข้าใจลักษณะและรูปแบบของการทำวิจัยที่แตกต่างกันของการทำวิจัยทั้ง 2 แบบ วิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ของสังคมหรือพฤติกรรมของ มนุษย์ในสังคมตามสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมของ มนุษย์กับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ โดยใช้ข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือนิยามปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมและอุดมการณ์ของบุคคล การวิจัยเชิงคุณภาพ   เป็นการมุ่งแสวงหาความรู้ ความเข้าใจพฤติกรรมและปรากฎการณ์ที่สนใจ ด้วยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามความจริงในทุกมิติ  ให้ความสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้คุณค่าและความหมาย กับปัจจัยต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือการสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง  โดยโดยทั่วไปจะใช้เวลานานในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามสิ่งที่สนใจศึกษาในระยะยาว  การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่มุ่งเน้นใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายและคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล 2. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรม ตลอดบริบทของสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันตามสภาพความเป็นจริงในภาพรวมโดยการมองจากหลายแง่มุม มักจะมีการวิจัยในสนาม (Field research) 3. เป็นการศึกษา

การวิจัยเชิงคุณภาพ Read More »