งานวิจัย บริหารธุรกิจ วิทยานิพนธ์ MBA
แนวคิดเกี่ยวกับการทำวิจัย สาขาบริหารธุรกิจ MBA เทคนิค งานวิจัย บริหารธุรกิจ วิทยานิพนธ์ ป.โท สาขาบริหารธุรกิจ
การทำวิจัยบริหารธุรกิจ หรือ การวิจัยธุรกิจ หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนการค้นคว้าหาความรู้ ข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบมีเป้าหมายที่แน่นอน โดยนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อนำข้อมูลที่ค้นพบจากการวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจ การสั่งการ การแก้ไขปัญหา การป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจตามวัตถุประสงค์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น งานวิจัย บริหารธุรกิจ หรือ วิจัย วิทยานิพนธ์ MBA จึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ข้างต้น
ขอบข่าย งานวิจัย บริหารธุรกิจ
1. การวิจัยทางด้านการจัดการ (Management Research) การวิจัยทางด้านการจัดการ มุ่งเน้นการพิจารณากิจกรรมทางธุรกิจตามหน้าที่หรือกระบวนทางจัดการ ตั้งแต่ขั้นตอน การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) รวมทั้งการวิเคราะห์กิจกรรมทางธุรกิจ จากกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การนำกลยุทธ์ การดำเนินตามกลยุทธ์ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ เป็นต้น
2. การวิจัยทางด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Research) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การธุรกิจ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งของการอยู่รอดทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่ก่อนที่ทรัพยากรมนุษย์จะเข้ามาร่วมปฏิบัติการกับองค์การ ไปจนถึงการลาออกจากการเป็นพนักงานขององค์การไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ ขอบเขตของการวิจัยกิจกรรมทางธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ จึงเกิดขึ้นเป็นอันดับแรกก่อนที่ทรัพยากรมนุษย์จะเข้ามาร่วมงานกับองค์การ ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก
นอกจากนี้ ทรัพยากรมนุษย์เข้ามาปฏิบัติงานกับองค์การยังต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการธำรงรักษาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ผลตอบแทน จัดการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จัดสรรสวัสดิการและเสริมสร้างสุขอนามัยในการปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดแนวทางความก้าวหน้าในอาชีพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ นอกจากนี้หลังจากที่ทรัพยากรมนุษย์ได้สิ้นสุดการปฏิบัติงานจากองค์การไปแล้วยังเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการเพื่อผู้เกษียณอายุ การให้บำเหน็จ บำนาญ ทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินทดแทน หรือผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เป็นต้น
3. การวิจัยด้านการผลิต (Production management Research) กิจกรรมด้านการผลิตขององค์กรธุรกิจ มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลัก 3 ขั้นตอน ดังนั้น การวิเคราะห์และวิจัยทางด้านการผลิต จึงเริ่มต้นจากขั้นตอนการวางแผนการผลิต อันเป็นแนวทางในการดำเนินการผลิต และประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ จำนวนมาก เช่น การพิจารณาตัดสินใจว่าจะเลือกผลิตสินค้า หรือ บริการชนิดใด ปริมาณเท่าไหร่ รวมไปถึงการพิจารณาว่าจะใช้ระบบการผลิตแบบใด
ขั้นตอนการดำเนินการผลิต เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือปฏิบัติงานทางด้านการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้แล้ว และขั้นตอนการควบคุมการผลิตซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องตรวจสอบและติดตามผลการผลิตเพื่อให้มั่นใจว่า ผลงานมีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดทางด้านการผลิต อาจจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดสายการผลิต การกำหนดระยะเวลาการผลิต การแจกจ่ายงาน การตามงาน และการควบคุมคุณภาพ ฉะนั้นขอบเขตการวิจัยกิจกรรมทางด้านการผลิตจึงเริ่มตั้งแต่ การวางแผนการผลิต ดำเนินการผลิต จนกระทั่งเสร็จสิ้นการผลิต
4. การวิจัยด้านการตลาด (Marketing Research) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการตลาด ที่ได้รับการยอมทรับกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix Factor ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 4 P’s สำหรับธุรกิจประเภทผลิตสินค้า และ 7 P’s สำหรับธุรกิจประเภทบริการหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ
ด้วยเหตุนี้ขอบเขตการวิจัย กิจกรรมทางด้านการตลาด จะต้องครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับส่วนผสมทางการตลาดทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ (1) ผลิตภัณฑ์ (Product) (2) ราคา (Price) (3) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) (4) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) (5) บุคลากร (People) (6) ลักษณะทางกายภาพ (Physical evidence) และ (7) กระบวนการในการให้บริการ (Process)
นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าด้วย ซึ่งประกอบด้วย 7 C’s ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ (Customer Value) ต้นทุน (Cost to customer) ความสะดวก (Convenience) การติดต่อสื่อสาร (Communication) การดูแลเอาใจใส่ (Caring) ความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการ (Completion) และความสะดวกสบาย (Comfort) ซึ่งส่วนผสมทั้งหมดเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์แบบในมุมมองของลูกค้า
5.การวิจัยด้านการเงิน (Financial Research) เนื่องจากกิจกรรมด้านการเงินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอื่นๆ ทุกกิจกรรมขององค์กรธุรกิจ
ดังนั้น ขอบเขตการวิจัยกิจกรรมทางด้านการเงิน จึงมีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ทางการเงินของธุรกิจ ซึ่งประกอบกิจกรรมทางการเงินสำคัญ 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย การใช้เงินทุน (Investment) การจัดหาเงินทุน (Financing) การรักษาสภาพคล่องของกิจการ (Liquidity) การสร้างสมรรถภาพในการหากำไร (Profitability) การรักษาเสถียรภาพในการดำเนินการทางการเงิน และการรักษาสถานะการเงินให้อยู่ในระดับที่มั่นคง
6.การวิจัยด้านการบัญชี (Accounting Research) สามารถกล่าวได้ว่า กิจกรรมทางด้านการบัญชีเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อธุรกิจไม่น้อยไปกว่ากิจกรรมด้านการเงิน ซึ่งทั้งบัญชีและการเงินถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กิจกรรมด้านการบัญชีเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์รายการค้า นำรายการค้ามาทำการบันทึกบัญชี และการดำเนินการจัดทำงบการเงิน
ประกอบด้วยงบต่างๆ เช่น งบดุล งบกําไรขาดทุน งบกระแสเงินสด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทางการบัญชีที่จัดทำขึ้นจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการจัดการภายในองค์การ และรายงานบุคคลภายนอกหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียกับองค์การ ฉะนั้นขอบเขตการวิจัยกิจกรรมทางด้านการบัญชีจะต้องครอบคลุมวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายในการนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้
7. การวิจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจ (Business of Investment Research) การเปลี่ยนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโตโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ ทำให้ยุคนี้เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economic) เพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรนแรงและรวดเร็ว ทำให้ ลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีข้อร้องเรียนต่อธุรกิจ สินค้า และบริการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน วัฏจักรของสินค้ามีอายุสั้นลง อีกทั้ง คู่แข่งขันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจภายใต้การเปลี่ยนแปลงในลักษณะเชิงพลวัต (Dynamic) การดำเนินธุรกิจในสภาพเป็นแนวโน้มปัจจุบันตั้งจำเป็นแข่งขันกันสร้างนวัตกรรมเป็นหลักสำคัญ
การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจประกอบด้วย นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Investment) นวัตกรรมกระบวนการ (Process Investment) นวัตกรรมการบริหารจัดการ (Managerial Investment) ธุรกิจต่างต้องการความอยู่รอด และได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาวอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องมีการสร้างหรือคิดค้นนวัตกรรมตลอดเวลา ฉะนั้นขอบเขตของการวิจัยกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมจึงต้องครอบคลุมทุกนวัตกรรมทั้งผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมการบริหารจัดการ
8.การวิจัยด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics and supply chain Research) ความสำคัญของโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเจริญเติบโตของธุรกิจค้าขายออนไลน์ หรือผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการเจริญเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์และซัพพลายเชนโดยตรง ทำให้การทำวิจัยด้านโลจิสติกส์และซัพพลานเชน
20 ไอเดีย งานวิจัย บริหารธุรกิจ
งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เหล่านี้ เรารวบรวมได้จากฐานข้อมูลที่เผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต ที่ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูและใช้เป็นตัวอย่างการทำวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการและความถนัดของตนดังนี้
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี |
การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร |
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร |
ปัจจัยทางการบริหารวิชาการและคุณภาพด้านบริการของฝ่ายสนับสนุนที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ : กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ |
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดสำนักงานเขตสระบุรี |
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับภาพลักษณ์ของธุรกิจกาแฟสดคอฟฟี่ ทูเดย์ |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ Lotus Quickr : กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ) |
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการ : กรณีศึกษา บริษัท อีซูซุพระนคร จำกัด สาขาคลองหลวง |
พฤติกรรมของลูกค้าที่มีผลต่อการใช้บริการธุรกรรมการเงินของธนาคาร : กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน สาขาในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี |
การรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพบริการ : กรณีศึกษา ธนาคารเกียรตินาคิน สาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
การรับรู้ การมีส่วนร่วม และการยอมรับของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต่อการประกันคุณภาพการศึกษา |
ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร |
ความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าต่อการให้บริการของท่าอากาศยานดอนเมือง |
ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ งานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช |
คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี. บี. เพนท์ |
การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมด้านชุมชนสัมพันธ์ของโรงงานซานมิเกล |
การปรับปรุงคุณภาพในการผลิตตามแนวความคิดของซิกซ์ ซิกม่า : กรณีศึกษา บริษัทชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์โดยหลักการ DMAIC |
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน : กรณีศึกษา พนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตลพบุรี |
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐบาล กับมหาวิทยาลัยเอกชน |
อ้างอิง
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss บทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย