เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล
แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค วิธีการ เครื่องมือ เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลเพื่องานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และงานวิชาการต่างๆ
เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ถือได้ว่าเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก ต่อคุณภาพและความสำเร็จของการวิจัย รวมไปถึงการพัฒนาหลักสูตรและการทำผลงานวิชาการทุกประเภท เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล และคุณภาพของข้อมูลสามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการวิจัยนั้นๆด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ นักวิจัย ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับ และศึกษาทำความเข้าใจ กับรูปแบบหรือเทคนิควิธีและขั้นตอนต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ช่วยให้นักวิจัย/นักศึกษาสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิจัย/พัฒนาหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้เราสามารถได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นคน วัตถุ ปรากฏการณ์ หรือสภาพที่เรากำลังศึกษา ในการวิจัย/พัฒนาหลักสูตร หากข้อมูลถูกเก็บรวบรวมมาได้ด้วยวิธีการที่ไม่มีระบบ ระเบียบ หรือแบบแผนที่ดี ก็จะเป็นการยากที่นักวิจัย/นักศึกษาจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการวิจัย/พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการ
เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่
เทคนิคที่สำคัญ และนิยมใช้มีจำนวนมาก แต่มีเทคนิคที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 6 วิธี ดังต่อไปนี้
1. การใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือ อาจเรียกว่าเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
ในสถานการณ์ทำงานทั่วไป เราสามารถพบได้ว่า มีข้อมูลเดิมมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ศึกษาวิเคราะห์ได้โดยไม่จำเป็นต้องออกสำรวจหรือเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หรือบ่อยครั้งที่อาจมีผู้ที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลบางประการไว้แล้วภายใต้ภารกิจหรือบทบาทหน้าที่ของพวกเขา โดยที่พวกเขาไม่ได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการศึกษาวิเคราะห์หรือเผยแพร่แต่อย่างใด ดังนั้น นักวิจัยหรือนักศึกษามือใหม่ อาจเริ่มต้นจากการมองหาข้อมูลในลักษณะดังกล่าวนี้ เพื่อมาพัฒนาเป็นงานวิจัยหรือพัฒนาหลักสูตรของตนเอง เช่น การนำผลการประเมินสถานศึกษาของ สมศ. มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานการวิจัยหรือการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา เป็นต้น
การใช้ “ผู้รู้” หรือ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” เป็นอีกเทคนิควิธีหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
สิ่งสำคัญสำหรับเทคนิควิธีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วนั้น อยู่ที่การออกแบบเครื่องมือเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยนักวิจัยจำต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีการวางแผนอย่างรอบคอบและชัดเจน
ข้อดีของการเก็บรวบรวมข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วคือเรื่องของความประหยัด ทั้งในรูปแบบของตัวเงินและเวลา อย่างไรก็ตามการใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วซึ่งเป็นข้อมูลขั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) อาจมีจุดอ่อนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลอาจเป็นอุปสรรคสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแบบนี้ และในบางกรณีข้อมูลที่ได้อาจมีปริมาณน้อย ไม่สมบูรณ์ หรือขาดการจัดหมวดหมู่ ทำให้มีความยุ่งยากต่อการใช้งาน
- การสังเกต
เป็นเทคนิควิธีหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งผู้ให้ข้อมูลโดยตรง นับว่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่มีความสำคัญต่อการวิจัยหรือการพัฒนาหลักสูตรอย่างมากเพราะเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตรงตามความต้องการของผู้วิจัยหรือผู้พัฒนาหลักสูตร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือก การเฝ้าดู และการจดบันทึกลักษณะพฤติกรรม หรือความเป็นไปของสิ่งหรือเรื่องที่เราศึกษาอย่างเป็นระบบ
- การสัมภาษณ์
เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิโดยอาศัยการเผชิญหน้า (face-to-face) โดยอาจเป็นการสัมภาษณ์แบบเดี่ยวเป็นรายบุคคล หรืออาจสัมภาษณ์เป็นกลุ่มก็ได้ แต่ผู้ให้ข้อมูลจะให้ข้อมูลจากปากของตนเอง ในยุคปัจจุบัน การสัมภาษณ์อาจดำเนินการโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วย เช่น การสัมภาษณ์ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) แต่สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องมีการเผชิญหน้ากันเสมอ และผู้ถูกสัมภาษณ์จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลด้วยตนเองเสมอ
การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ อาจทำการจดบันทึกคำตอบไว้บนกระดาษ หรืออาจใช้การบันทึกเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์โดยตรงเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยมารยาทและจรรยาบรรณของนักวิจัย/นักศึกษา หากมีการบันทึกเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์ นักวิจัย/นักศึกษาควรต้องขออนุญาตผู้ถูกสัมภาษณ์ก่อนเสมอ
สิ่งที่นักวิจัย/นักศึกษาควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ คือ การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เนื่องจากในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจมีการตอบนอกประเด็นไปบ้าง ด้วยเหตุนี้ การจัดเตรียมลำดับและการตั้งคำถามไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ข้อเด่นของการสัมภาษณ์
1.สามารถใช้ได้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีความรู้ดี และไม่มีความรู้
2.เปิดโอกาสให้มีการซักถามเพื่อปรับ
- ความเข้าใจในประเด็นคำถามต่าง ๆ
- มีอัตราการตอบสูงกว่า เมื่อเทียบกับการเขียนตอบ
ข้อด้อยของการสัมภาษณ์
1.จำนวนผู้ถูกสัมภาษณ์มีผลต่อคำตอบที่ได้
2.ข้อมูลที่ได้อาจด้อยกว่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
- การสอบถาม
ในที่นี้หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล นับเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยหรือการพัฒนาหลักสูตรที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสายสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ข้อเด่น
ข้อดีของการสอบถาม
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- ผู้ตอบมักให้ความร่วมมือ และยินดีให้ข้อมูล เนื่องจากสามารถปกปิดสถานะได้
- ช่วยลดความลำเอียงที่เกิดจากการเลือกถามคำถามที่ต่างกันในการสัมภาษณ์
ข้อเสียของการสอบถาม
1.ไม่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ความรู้น้อย หรืออ่านหนังสือไม่ออก มักมีอัตราการตอบกลับต่ำ
- หากคำถามไม่ชัดเจน เข้าใจยาก ผู้ตอบอาจตอบผิดประเด็น
5.การสนทนากลุ่ม
เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการนั่งสนทนาของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key Informant) เป็นกลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจะถูกคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง หรือเป็นผู้สามารถให้ข้อมูลที่ต้องการได้ ดังนั้น ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจึงจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะหลาย ๆ ประการที่คล้ายคลึงกัน (Homogeneity) โดยกลุ่มคนเหล่านี้ จะถูกเชิญให้มาร่วมวงสนทนากันอย่างเป็นธรรมชาติ ในบรรยากาศที่เหมาะสม โดยมีจำนวนสมาชิกอยู่ระหว่าง 8 – 10 คน (บางตำราระบุจำนวน 6 – 12 คน)
จากข้อเด่นและข้อด้อยของเทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ปัจจุบันนักวิจัย/นักศึกษาจึงอาจเลือกใช้วิธีผสม (mixed method) ดังนั้น ในระยะหลัง จึงมักพบว่างานวิจัยหรือการพัฒนาหลักสูตรชิ้นหนึ่ง ๆ อาจเลือกใช้เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมากกว่า 1 วิธี
6.การทดสอบ
เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ ใช้วัดความสามารถด้านสติปัญญาของกลุ่มตัวอย่างหรือผู้ถูกทดสอบ อาจจะใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบที่มีอยู่แล้วหรือสร้างใหม่เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ข้อสอบแบบอัตนัย ข้อสอบแบบปรนัย เป็นต้น
นอกเหนือจากวิธีการเก็บรวบรวบข้อมูลที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีเทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หน่วยงาน/สถานศึกษา กศน.นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน คือ การจัดเวทีประชาคม
เวทีประชาคม คือ การรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆของชุมชนด้วยตนเอง เป็นเวทีของการพูดคุย แลกเปลี่ยนถกแถลง(ไม่ใช่โต้เถียง) เกี่ยวกับข้อมูล เช่น การแก้ไขปัญหาในชุมชน การวางแผนพัฒนาชุมชน การกำหนดข้อตกลงร่วมกัน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีวัตถุประสงค์หรือสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการรวมตัวกันตามสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น มี 2 ลักษณะ คือ
1) อย่างเป็นทางการ โดยการจัดเวทีหรือการจัดประชุม
2) อย่างไม่เป็นทางการ เช่นการสนทนากลุ่มเล็กในศาลาวัด การพบปะพูดคุยอาจเป็นครั้งคราว
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับตีพิมพ์บทความ รับเขียนบทความ รับเขียนบทความวิจัย