เทคนิคการทำวิจัยกฎหมาย การทำวิจัยกฎหมาย หัวข้อวิจัยกฎหมาย สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ และรายงาน ของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์
การเรียนกฎหมาย หรือ นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ในระดับมหาบัณฑิต หรือ ปริญญาโท นอกจากจะต้องเรียนเนื้อหาวิชา ด้านกฎหมาย ในชั้นเรียน เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆแล้ว งานช้าง หรือ ปัญหาใหญ่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งของการสำเร็จเป็นมหาบัณฑิต ด้านกฎหมาย คือ การทำวิทยานิพนธ์ ค้นคว้าอิสระหัวข้อวิจัยกฎหมาย ปัญหาพิเศษ หรือสารนิพนธ์ ด้านกฎหมาย แล้วแต่ชื่อเรียกหรือแล้วแต่โปรแกรมของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะกำหนด เทคนิคการทำวิจัยกฎหมาย จึงมีความสำคัญอย่างมาก
เป้าหมายสำคัญของการทำงานวิจัยกฎหมาย วิทยานิพนธ์ กฎหมาย เพราะเมื่อนักศึกษาเรียนมาถึงระดับนี้แล้วจะต้องเริ่มสามารถเข้าใจ ตัวบทกฎหมายอย่างลึกซึ้ง สมควรที่จะหา วิธีทางกฎหมาย ตลอดจน สามารถนำกฎหมายต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในสังคมหรือในประเทศของเราได้
รวมถึงต้องทำการศึกษาค้นคว้าในเชิงลึกทุกมิติเพื่อหาข้อสรุปหรือผลการวิจัยว่ากฎหมายในประเด็นที่สนใจศึกษานั้น สามารถชี้ให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหานั้นให้เห็นเป็นรูปธรรม ตลอดจนสามารถเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อวงการนิติศาสตร์ได้ต่อไป
ทั้งนี้ จากประสบการณ์การทำวิจัย การเป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ และปัญหาพิเศษเกี่ยวกับกฎหมาย หรืองานวิจัยนิติศาสตร์ สามารถสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการหาชื่อเรื่องหรือหัวข้อวิจัยกฎหมาย สำหรับการทำวิจัย หัวข้อวิจัยกฎหมาย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษในสาขานิติศาสตร์ นักวิจัย นักศึกษาด้านกฎหมาย หรือแม้แต่ผู้ที่ม อาจพอสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
5 เทคนิคการทำวิจัยกฎหมาย
- การศึกษาปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นที่สนใจของสังคมหรือประชาชนในวงกว้าง
สำหรับข้อนี้ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติหรือเป็นปกติวิสัยของนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือแม้แต่คนทั่วไปที่สนใจใคร่รู้และติดตามความเป็นมาเป็นไปและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นนักวิจัยและการทำวิจัย ซึ่งเรามักจะไม่พลาดหัวข้อหรือประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้คนกลุ่มใหญ่จากข่าวสารและสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม
ซึ่งหากประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจเหล่านั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือตัวบทกฎหมายต่างๆ นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ หรือปัญหาพิเศษ ในสาขากฎหมายหรือนิติศาสตร์ ย่อมสามารถหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นหัวข้อวิจัยได้ไม่ยากนัก และเป็นเรื่องที่มีความใหม่ ความทันสมัย และน่าสนใจ ซึ่งย่อมทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการอนุมัติหัวข้อนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น
- เรื่องราวหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผู้วิจัยเอง หรือกับบุคคลใกล้ชิด เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน
ยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัด เช่น กรณีที่ผู้วิจัยกำลังเผชิญปัญหา เกี่ยวกับ การได้รับผลกระทบจาก สัญญาเช่าที่ดินที่ไม่เป็นธรรม หรือ สัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นปัญหา ช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่ควรมีการปรับปรุง แก้ไข ให้เกิดความเป็นธรรม ต่อประชาชน หรือ ผู้เช่า
โดยอาจจะทำการศึกษาเอกสาร เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี ที่มาที่ไป ของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กับ สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันว่ามีหน่วยงานวิชาการหรือนักวิชาการด้านกฎหมาย ท่านใดที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ และมีแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง อย่างไร เพื่อนำมาเสนอเป็นโครงร่าง การเขียนที่มาและความสำคัญ และการกำหนดสมมติฐานการวิจัยที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
- การเลือกหัวข้อวิจัยกฎหมาย งานวิจัยสายนิติศาสตร์จากประเด็นที่มีการพูดถึงหรือถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการหาข้อมูลทุกๆเรื่องในปัจจุบันสามารถหาได้จากสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ ซึ่งมีทั้งเรื่องหรือข้อมูลที่เป็นจริง และ บางข้อมูล ก็เป็นเรื่องที่ไม่จริง หรือ จริงบ้างไม่จริงบ้าง อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักวิจัย หรือ นักศึกษา ทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ด้านกฎหมาย ย่อมพอมีความรู้พื้นฐานมาบ้าง และสามารถใช้วิจารณญาณได้ว่า ประเด็นที่กำลังสนใจเหล่านั้น เป็นเรื่องที่มีมูล หรือ เป็นข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด และสมควรที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาต่อขยายในการทำวิจัยของเราต่อไปหรือไม่ อย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น ประเด็นร้อนแรงเรื่องที่สังคมถกเถียงกันเรื่องควรมีการเพิ่มโทษให้ผู้กระทำความผิดข้อหาข่มขืนถูกประหารชีวิต ซึ่งมีข้อโต้แย้งจากคนจำนวนมาก กล่าวคือ มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและมีเหตุผลที่สนับสนุนในการไม่เห็นด้วยที่น่ารับฟัง และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาดและมีเหตุผล มีเนื้อหา มีความคิดที่น่ารับฟัง ต่างๆ เหล่านี้เราสามารถนำมาขบคิดและนำมาต่อยอดในการมากำหนดเป็นหัวข้องานวิจัยกฎหมายที่น่าสนใจของเราได้
- การหาหัวข้อวิจัยกฎหมายจากการค้นคว้าหาข้อมูลเบื้องต้นจากสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ
การหาหัวข้อวิจัยกฎหมายจากการค้นคว้า หาข้อมูลเบื้องต้น จากผู้วิจัยสนใจนี้ กล่าวได้ว่า เป็นการทำงานวิจัยกฎหมาย ด้วยความสนใจ และด้วยความเพียรพยายาม ของตัวผู้วิจัยเองเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ พยายามสืบค้น ศึกษารวบรวม เนื้อหา ข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี และตัวบทกฎหมายในประเด็นที่ผู้วิจัยใช้วิจารณญาณด้วยตัวเองว่าประเด็นเหล่านั้น เป็นปัญหาทางกฎหมาย ทั้งเป็นปัญหาที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ หรือมีกฎหมายประกาศเรียบร้อยแล้ว แต่กลับมีปัญหาในทางบังคับใช้ เป็นต้น
ซึ่งสามารถทำวิจัยได้ด้วยกระบวนการสืบค้นแนวคิด และตัวบทกฎหมายจากต่างประเทศ หรือแนวทาง การทำ วิจัย กฎหมาย ด้วยการวิเคราะห์ กฎหมาย เชิงเปรียบเทียบ (Comparative Method) ซึ่งเป็นที่นิยมของ กระบวนการทำ วิจัย กฎหมาย หรือวิจัย ในคณะนิติศาสตร์โดยทั่วไป และโดยความนิยมที่มักพบเห็นทั่วไปคือการเปรียบเทียบกฎหมายจาก 2 ระบบ คือ ระบบกฎหมายแบบ Common Law และ Civil Law
และมีการเปรียบเทียบกฎหมาย และ การบังคับใช้ กฎหมาย จากประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของระบบกฎหมายหรือประเทศที่พัฒนาหรือมีความเจริญแล้ว เช่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา กฎหมายอังกฤษ กฎหมาย ฝรั่งเศส กฎหมาย ออสเตรเลีย กฎหมาย ญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อพิจารณาว่ากฎหมายในประเทศต่างๆเหล่านี้มีวิวัฒนาการและมีการประกาศบังคับใช้อย่างไร และมีปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ กับ กฎหมายของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การเลือกหัวข้อวิจัยกฎหมายจาก วิจัยกฎหมาย วิทยานิพนธ์ กฎหมาย สารนิพนธ์กฎหมาย หรือค้นคว้าอิสระกฎหมาย หรืองานวิจัยของคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วนำมาต่อยอด
ในหัวข้อนี้ แม้ว่าหัวข้อวิจัยด้านกฎหมายนั้นๆจะมีนักวิจัยหรือมีงานวิจัยเล่มอื่นๆ หรือ เล่มก่อนหน้านั้น ได้ทำไปเรียบร้อยแล้ว , อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่างานวิจัยทุกเล่ม รวมทั้งงานวิจัยด้านกฎหมายด้วย จะมีส่วนท้ายของงานวิจัยคือส่วนของข้อเสนอแนะว่าปัญหา ของการทำวิจัยเล่มนั้นเรื่องนั้น ยังขาดความสมบูรณ์ ในเรื่องไหนประเด็นใดบ้าง และนักวิจัยในอนาคต
ซึ่งหมายถึงเราในขณะนี้ สามารถหยิบยกประเด็นดังกล่าว เพื่อมาขยายหรือเอามาทำต่อให้มีความถุกต้องสมบูรณ์มากขึ้นได้มากน้องเพียงใด กล่าวได้ว่า การเลือกหัวข้อวิจัยในเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และถือได้ว่า เป็นการต่อยอดประโยชน์ทางวิชาการของนักวิจัยท่านเดิมที่เห็นว่า ควรมีการศึกษาต่อ ซึ่งจะทำให้เป็นประโยชน์ต่อวิชาการ ด้านกฎหมาย หรือ นิติศาสตร์ ในวงกว้างได้ต่อไป และเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ในประเทศไทย
นอกจากนี้ การทำวิจัย กฎหมาย วิจัย คณะนิติศาสตร์ ย่อมไม่แตกต่างจากกระบวนการและขั้นตอน สำคัญๆ ของการทำวิจัย ในศาสตร์อื่นๆ มากนัก นั่นคือ ท้ายที่สุด เมื่อลงมือค้นคว้าข้อมูลสำคัญเบื้องต้น เพราะนำมาเป็นโครงสร้างการทำวิจัย
นอกจากนี้ ต้องสืบเสาะค้นหาข้อมูล ฐานข้อมูลในระบบ เพื่อตรวจสอบดูว่า วิจัยกฎหมาย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ ปัญหาพิเศษ ค้นคว้าอิสระ เกี่ยวกับกฎหมาย หรือนิติศาสตร์ ในหัวข้อนั้นๆ มีคนทำมาแล้วหรือไม่่ หากต้องการปรับเปลี่ยน หรือทำการศึกษาเพิ่มเติม ต้องชั่งน้ำหนักพิจารณาดูให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ว่ายังคงเป็นเรื่องที่ควรทำวิจัยต่อหรือไม่