การทำวิจัยด้านการศึกษา วิทยานิพนธ์ด้านการศึกษา

การทำวิจัยด้านการศึกษา

การทำวิจัยด้านการศึกษา หรือ การทำวิทยานิพนธ์ด้านการศึกษา มีหลักเกณฑ์ หลักการ แนวทาง และองค์ประกอบ เช่นเดียวกับการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป  เป็นการทำงานที่อาศัยหลักการทางวิทยานศาสตร์  นั่นคือ เป็นกระบวนการหาความรู้ หรือ ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัย  อาศัยหลักเหตุผลที่ละเอียดรอบคอบ รัดกุม และมีความน่าเชื่อถือ  และความรู้ความจริงนั้น  สามารถนำไปใช้เป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติ ที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้ และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต ด้วยความสงบสุข หรือ ป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้

กระบวนการการวิจัย
1.       เลือกหัวข้อและกำหนดขอบเขตปัญหาการวิจัย
2.       การทบทวนวรรณกรรม การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.       การออกแบบการวิจัย
4.       การเขียนเค้าโครงการวิจัย
5.       การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
6.       การเก็บรวบรวมข้อมูล
7.       การแปรผลและวิเคราะห์ข้อมูล
8.       การเขียนรายงานการวิจัย

การทำวิจัยด้านการศึกษา การทำวิทยานิพนธ์การศึกษา
การทำวิจัยด้านการศึกษา การทำวิทยานิพนธ์การศึกษา

ความหมาย และ ความสำคัญ การทำวิจัยด้านการศึกษา 

การวิจัยด้านการศึกษา ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดประการหนึ่งของ การพัฒนาการศึกษา โดยพื้นฐานการวิจัย (Research Based Education Development) เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการสำคัญหนึ่งที่นิยมใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการศึกษา โดยเน้นหลักเหตุผลและตรรกวิทยา เป้าหมายหลัก คือ ใช้เป็นกระบวนการในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา (Education Product) การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (R & D) มีความแตกต่างจากการวิจัยการศึกษาประเภทอื่นๆอยู่ 2 ประเภท คือ

1. เป้าประสงค์ / จุดมุ่งหมาย (Goal)

การวิจัยทางการศึกษามุ่งค้นคว้าหาความรู้ใหม่ โดยการวิจัยพื้นฐานหรือมุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ด้วยการวิจัยประยุกต์ แต่การวิจัยและพัฒนาทาง
การศึกษา  จะเป็นการมุ่งพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา แม้ว่าการวิจัยประยุกต์ทางการศึกษาหลายโครงการก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา เช่นการวิจัยประยุกต์ทางการศึกษาสำหรับการสอนแต่ละแบบแต่ละผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ใช้สำหรับการทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยแต่ละครั้งเท่านั้น  ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่การใช้สำหรับสถานศึกษาทั่วไปแต่อย่างใด

2. การนำไปใช้ (Utility)

การวิจัยทางการศึกษา มีช่องว่างระหว่างผลการวิจัยกับการนำไปใช้จริงอย่างกว้างขวาง คือ ผลการวิจัยทางการศึกษาจeนวนมากอยู่ในตู้ไม่ได้รับการพิจารณานำไปใช้ นักการศึกษาและนักวิจัย  ควรจะต้องคิดหาวิธีการเพื่อลดช่องว่างดังกล่าวโดยวิธีที่เรียกว่า “การวิจัยและพัฒนา” อย่างไรก็ตามการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา มิใช่สิ่งที่ทดแทนการวิจัยทางการศึกษา แต่เป็นเทคนิควิธีที่จะเพิ่มศักยภาพของการวิจัยทางการศึกษาให้มีผลต่อการจัดการทางการศึกษา คือ เป็นตัวเชื่อมเพื่อแปลงไปสู่ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในโรงเรียนทั่วไป ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การวิจัย และพัฒนาทางการศึกษาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการศึกษาจึงเป็นการใช้ผลจากการวิจัยทางการศึกษา (ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพื้นฐาน หรือการวิจัยประยุกต์) ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น สามารถสรุปความสัมพันธ์และความแตกต่าง

ขั้นตอนการทำวิจัยด้านการศึกษา

การวิจัยด้านการศึกษาและพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 11 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดผลผลิตทางการศึกษาที่จะทำการพัฒนา

ขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ ผู้วิจัยจะต้องสามารถกำหนดให้ชัดว่าผลผลิตทางการศึกษาที่จะวิจัยและพัฒนาคืออะไร   ด้วยการกำหนดลักษณะทั่วไป รายละเอียดของการใช้วัตถุประสงค์ของการใช้

โดยทั่วไป  เกณฑ์ในการเลือกำหนดผลผลิตการศึกษาที่จะวิจัยและพัฒนา อาจมี 4 ข้อ คือ
1) ตรงกับความต้องการอันจำเป็นหรือไม่
2) ความก้าวหน้าทางวิชาการมีพอเพียงในการที่จะพัฒนา ต่อการวิจัยและพัฒนานั้นหรือไม่
3) บุคลากรที่มีอยู่ ทักษะความรู้และประสบการณ์ที่จ าเป็นต่อการวิจัยและพัฒนานั้นหรือไม่
4) ผลผลิตนั้นจะพัฒนาขึ้นในเวลาอันสมควรได้หรือไม่

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
คือการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย การสังเกตภาคสนาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ผลผลิตการศึกษาที่กำหนด ถ้ามีความจำเป็นผู้ทำการวิจัยและพัฒนา อาจต้องทำการศึกษาวิจัยขนาดเล็กเพื่อหาคำตอบซึ่งงานวิจัย และทฤษฎีที่มีอยู่ ไม่สามารถตอบได้ก่อนที่จะเริ่มการพัฒนาต่อไป

ขั้นที่ 3 การวางแผนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย
1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ผลผลิต
2) ประมาณการค่าใช้จ่าย กำลังคน และระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้
3) พิจารณาผลสืบเนื่องจากผลผลิต

ขั้นที่ 4 พัฒนารูปแบบขั้นตอนของผลผลิต
ขั้นนี้เป็นขั้นการออกแบบและจัดท าผลผลิตการศึกษาตามที่วางไว้ เช่น เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ก็จะต้องออกแบบหลักสูตร เตรียมวัสดุหลักสูตร คู่มือผู้ฝึกอบรม เอกสารในการฝึกอบรม และเครื่องมือการประเมินผล

ขั้นที่ 5 ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 1
โดยการนำผลผลิตที่ออกแบบและจัดเตรียมไว้ในขั้นที่ 4 ไปทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพขั้นต้นของผลผลิตในโรงเรียนจำนวน 1-3 โรงเรียน ใช้กลุ่มเล็ก 6-12 คน ประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกตและการสัมภาษณ์ แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 1
นำข้อมูลและผลการทดลองใช้จากขั้นตอนที่ 5 มาพิจารณาปรับปรุง

ขั้นที่ 7 ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 2
ขั้นนี้นำผลผลิตที่ปรับปรุงไปทดลอง เพื่อทดสอบคุณภาพผลผลิตตามวัตถุประสงค์โรงเรียนจำนวน5-15 โรงเรียน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 30-100 คน ประเมินผลเชิงปริมาณในลักษณะ Pre-test  นำผลไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ ของการใช้ผลผลิตอาจมีกลุ่มควบคุม กลุ่มการทดลอง ถ้าจำเป็น

ขั้นที่ 8 ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 2

นำข้อมูลและผลจากการทดลองใช้จากขั้นที่ 7 มาพิจารณาปรับปรุง

ขั้นที่ 9 ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 3
ขั้นนี้นำผลผลิตที่ปรับปรุงไปทดลอง เพื่อทดสอบคุณภาพการใช้งานของผลผลิต โดยใช้ตามลำพังในโรงเรียน 10-13 โรงเรียน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 40-200 คน ประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกตและการสัมภาษณ์แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์

ขั้นที่ 10 ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 3

นำขั้นที่ 9 มาพิจารณาปรับปรุงเพื่อผลิตและเผยแพร่ต่อไป

ขั้นที่ 11 เผยแพร่

เป็นการเสนอรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัยและพัฒนาผลผลิต ในที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการหรือวิชาชีพ ส่งไปลงเผยแพร่ไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ หรือติดต่อบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายต่อไป

ตัวอย่าง การกำหนดหัวข้อการทำวิจัยด้านการศึกษา หรือ วิทยานิพนธ์ด้านการศึกษา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่องคำราชาศัพท์ โดยการแสดงลิเกกับการสอนแบบปกติ
    วัตถุประสงค์ :
    ๑. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ
    ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ ระหว่างการเรียนภาษาไทยโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ
  2. การทำวิจัยเรื่อง กิจกรรมการเรียนการสอนในสวนที่ส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่4  ของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง

          วัตถุประสงค์ :
๑. เพื่อศึกษาพัฒนาการการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่4 ของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง
๒. เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเรียนการสอนในสวน และ การเรียนรู้วิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่4 ของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง

ตัวอย่างงานวิจัยด้านการศึกษา และ วิทยานิพนธ์ด้านการศึกษา ระหว่างปี 2562 ถึง 2564

  1. ปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษา สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
  2. ปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ
    สังกัด สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามธัยมศึกษา เขต 6
  3. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบ ผ่านระบบออนไลน์ The Development of Learning Achievement in Mathematics on Powers of Mathayomsueksa 1 Students Through Instructed by the Discovery Teaching Method by Online System
  4. การศึกษา ความสัมพันธ์ของชนิดกีฬา กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน โรงเรียนกีฬาเทศบาล จังหวัดนครปฐม
  5. ผลการจัดการเรียนรู้ เชิงประสบการณ์ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถทางการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

อ้างอิง :

  1. วิจัยทางการศึกษา
  2. การทำวิจัยชั้นเรียน
  3. การทำวิจัยด้านบริหารการศึกษา