สารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ แตกต่างกันอย่างไร
วิทยานิพนธ์ หรือ thesis สำหรับการศึกษาปริญญาโท ส่วนดุษฎีนิพนธ์ หรือ Dissertation สำหรับการเรียนในระดับปริญญาเอก อย่างไรก็ตาม เราสามารถเรียกวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แทนคำว่าดุษฎีนิพนธ์ได้เช่นกัน ความแตกต่างของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ มีอยู่ด้วยกันหลายประการ
วิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์ หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่นําเสนออย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานจากการค้นคว้าและวิจัย เป็นข้อกําหนดอย่างหนึ่งในการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รูปแบบของวิทยานิพนธ์เป็นไปตามข้อกําหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า thesis.
ภาคนิพนธ์และสารนิพนธ์ กล่าวโดยรวมหมายถึง งานที่ต้องศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ เพิ่มเติม โดยการใช้หลักและทฤษฎีศึกษา รวมถึงการเขียนในบริบทต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาในวิชานั้น ๆ แล้ว สรุปผลเรียบเรียงเป็นรายงานในวิชาที่เรียนประจําภาคนั้น ตรงกับภาษาอังกฤษว่า term paper.
ภาคนิพนธ์ เป็นคําเรียกรายงานผลการศึกษาค้นคว้าในวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่เขียนเป็นรายงานทางวิชาการ เพื่อฝึกฝนความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ผู้สอนวิชานั้นเป็นที่ปรึกษา ทําให้มีความสามารถในการเขียนงานวิชาการ. ภาคนิพนธ์มักใช้เป็นส่วนประกอบ ในการวัดผลร่วมกับการสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า.
ภาคนิพนธ์ ทําให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนได้ว่ามีความสามารถในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองต่อไปได้หรือไม่และผู้เรียนมีความสามารถในการประมวล
ความรู้วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา รวมทั้งมีความสามารถในการเขียนบรรยายมากน้อยเพียงใดด้วยสารนิพนธ์เป็นคําเรียกรายงานผลการศึกษาค้นคว้าในสาขาวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่ง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เพื่อฝึกฝนให้มีความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา วิชาที่เรียนเรียกว่า Individual Study ในภาษาไทยใช้ว่า การศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ
การศึกษาเอกเทศ. รายงานผลการศึกษานั้นต้องเขียนเป็นเอกสารเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน
สารนิพนธ์เป็นการประมวลความรู้จากผู้อื่น หรือความรู้ที่ได้ใหม่ หรือเป็นผลการศึกษาเฉพาะ ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของวิชา ผลการศึกษาของสารนิพนธ์อาจนําไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ก็ได
วิทยานิพนธ์ หรือ การทำวิทยานิพนธ์ (รวมทั้งวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก) ต้องทำในรูปแบบของการทำวิจัย ส่วน สำหรับสารนิพนธ์ หรือ ค้นคว้าอิสระ (Independent Study : IS) สามารถทำในรูปแบบวิจัยเช่นเดียวกับการทำวิทยานิพนธ์ก็ได้ และสามารถทำในรูปแบบที่แตกต่างจากการทำวิจัยได้ เช่น การศึกษาจากกรณีศึกษาหรือกรณีตัวอย่าง การศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ การสร้างรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือแม้แต่การเรียบเรียงเนื้อหาจากประสบการณ์การฝึกงาน หรือ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สามารถเขียนเป็นสารนิพนธ์ หรือ การค้นคว้าอิสระ ได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือขึ้นอยู่กับรูปแบบที่คณะนั้นๆ กำหนด
ความแตกต่างของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ : รูปเล่มของงาน
โดยทั่วไปการทำวิทยานิพนธ์ซึ่งมีกระบวนการทำเช่นเดียวกับการทำวิจัย ซึ่งมักจะแบ่งออกเป็น 5 บท ได้แก่ บทนำ การทบทวนวรรณกรรม ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ ผลการศึกษา และสรุปผลการศึกษา อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ ส่วนการทำสารนิพนธ์หรือค้นคว้าอิสระ สำหรับการทำสารนิพนธ์หรือค้นคว้าอิสระ สามารถทำในรูปแบบงานวิจัย คือทำ5บทได้เช่นเดียวกัน แต่เนื้อหาห้าบทดังกล่าวจะมีการปรับเปลี่ยนไปได้ตามเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่นตามเรื่องที่ต้องการทำ
นอกจากนี้ สำหรับการทำวิทยานิพนธ์จะต้องมีการขอจริยธรรมการทำวิจัย แต่สำหรับการทำสารนิพนธ์หรือค้นคว้าอิสระ หากทำในรูปแบบของการทำวิจัยต้องยื่นขอจริยธรรมการทำวิจัยเช่นเดียวกัน
กล่าวโดยสรุป ทั้งวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ เป็นงานวิจัยประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างกันตรงที่
1. ประเภทของแผนการเรียน ผู้ใดทำวิทยานิพนธ์ เรียน แผน ก ๑ กับ แผน ก ๒ ผู้ที่เลือกทำสารนิพนธ์เรียนแผน ข
2. เนื้อหา วิทยานิพนธ์ มีเนื้อหาของการวิจัยเข้มข้นกว่าสารนิพนธ์มาก ๆ เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือว่า หากแจกแบบสอบถามความคิดเห็น ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์คุณอาจจะต้องแจกเป็น 100 ใบ แต่สารนิพนธ์แจก 30 ใบก็สามารถสรุปผลได้
3. จำนวนทีมงาน ทุกแห่งบังคับให้วิทยานิพนธ์ทำ 1 คน/ต่องาน แต่สารนิพนธ์บางสถาบันให้ทำเป็นกลุ่มได้
4. โอกาสการเรียนต่อในอนาคต ในระดับปริญญาเอกบางสาขา (เช่น สาขาเภสัช สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์) ไม่รับพิจารณาผู้ที่จบปริญญาโทด้วยสารนิพนธ์ ปริญญาเอกบางสาขายังพอพุดคุยได้ว่าจะรับหรือไม่รับโดยดูเนื้องาน ปริญญาเอกบางสาขาก็รับหมดทุกแบบ
ไม่ว่าจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ หรือ สารนิพนธ์ นักศึกษาสามารถเลือกทำตามความชอบ ความตั้งใจ และความสนใจของตนเอง ซึ่งการที่จะทำงานวิจัยทั้งในรูปแบบของวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ผู้ทำจะต้องอาศัยความรู้ ความพยายาม ความอดทน และต้องให้ความสำคัญกับความคิดเห็นและข้อแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้ที่กำกับดูแลความคืบหน้าในการทำ
โดยปกติแล้ว อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือ สารนิพนธ์ มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ กระตุ้น สนับสนุนและให้กำลังใจในการทำวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษา ความรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อนักศึกษา คุณวุฒิ รวมถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์