การเขียนโครงร่างวิจัยปริญญาโท
แนวคิด เทคนิค การเขียนโครงร่างวิจัยปริญญาโท
การเขียนโครงร่างวิจัยปริญญาโท การโครงร่างวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ เป็นแผนการทำงานที่นิสิต หรือนักศึกษาเขียนขึ้น เพื่อให้เห็นทิศทางหรือแนวทางการทำงานทางวิชาการของตน ส่วนใหญ่เนื้อหาของโครงการจะให้เหตุผลว่า ทำไมถึงทำวิจัยเรื่องนั้น มีประเด็นปัญหาหรือคำถามอะไรที่ต้องการหาคำตอบ ต้องการบรรลุเป้าหมายอะไร จะใช้วิธีการศึกษาอย่างไร และเมื่อทำสำเร็จแล้ว คาดว่าจะมีประโยชน์ต่อวงวิชาการและต่อสังคมอย่างไร เป็นต้น

ในการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์นั้น ให้เริ่มต้นจากการคิดหาประเด็นปัญหาหรือคำถามที่นิสิตสนใจ (Research Questions) แล้วนำไปปรึกษาอาจารย์ผู้ที่เราอยากให้เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ จากนั้น ให้เขียนยกร่างโครงร่างขึ้นมาให้ที่ปรึกษาอ่าน เมื่อผ่านความเห็นชอบของที่ปรึกษาแล้ว ให้นำโครงร่างไปยื่นคำร้องต่อสถาบันที่ศึกษา เพื่อดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบต่อไป เมื่อถึงเวลาสอบโครงการวิทยานิพนธ์ คณะ กรรมการสอบจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า เหตุผลของเรามีน้ำหนักเพียงพอหรือไม่ ปัญหาการวิจัยลึกซึ้งและน่าสนใจหรือไม่ พอที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้หรือไม่ เป็นต้น
องค์ประกอบสำคัญ การเขียนโครงร่างวิจัย ปริญญาโท

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหลักการเขียนโดยสังเขปดังนี้
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
การตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ควรเขียนเป็นคำนามวลี เช่น “วิธีการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า” ไม่ควรเขียนเป็นประโยคสมบูรณ์ที่มีครบทั้งประธาน กริยา และกรรม
เช่น “พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา”ควรใช้ภาษากะทัดรัด ชัดเจน ไม่วกวนคลุมเครือ ที่สำคัญคือ ชื่อเรื่องต้องสะท้อนหรือเล็งถึงประเด็นปัญหาที่ต้องการหาคำตอบด้วย
2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นการให้เหตุผลประกอบว่า ทำไมเรื่องของเราจึงสมควรศึกษาวิจัย ปัญหาที่ต้องการหาคำตอบนั้นสำคัญอย่างไร มีภูมิหลังหรือความเกณฑ์มาตรฐานการตั้งชื่อเรื่อง
๑. ใช้คำกะทัดรัด ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
๒. เขียนเป็นข้อความคำนามวลี
๓. ชื่อเรื่องสะท้อนหรือชี้ถึงประเด็นปัญหาการวิจัย
๔. ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การเขียนที่มาและความสำคัญ ควรเรียบเรียงให้เห็นถึงความเป็นมาอย่างไร ในอดีตที่ผ่านมา มีแนวคิดหรือทฤษฎีที่พยายามตอบปัญหานั้นหรือไม่ อย่างไร ถ้ามีผู้ศึกษาไว้บ้างแล้ว ต้องชี้แจงต่อไปว่า มีประเด็นปัญหาใดบ้างที่ยังค้างคาอยู่หรือตอบแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ อุปมาเหมือนเราเสนอความเห็นในที่ประชุมว่า ให้เอาอย่างนั้น อย่างนี้ ที่ประชุมจะเห็นด้วย กับข้อเสนอเราหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่เราใช้สนับสนุนข้อเสนอนั้นเป็นสำคัญ ทั้งหมดนี้ เพื่อแสดงเหตุผลให้เห็นว่า เรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญและจำเป็นหรือจูงใจมากจนถึงขนาดทำให้ผู้ศึกษาสนใจ และตัดสินใจเลือกศึกษาเรื่องนี้
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การวางเป้าหมายการท างานไว้ล่วงหน้าว่า งานวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของเราจะเดินทางไปสู่จุดหมายใด เหมือนการไปซื้อของในห้างสรรพสินค้า
ถ้าเรามีเป้าหมายล่วงหน้าว่า จะไปซื้อของอะไร ที่ร้านไหน เราก็จะมุ่งไปหาร้านนั้นโดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาเดินหาไปเรื่อยๆ การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยมีประโยชน์มากในแง่ที่ท าให้ผู้วิจัยรู้ล่วงหน้า
ว่า งานวิจัยของตนมุ่งไปสู่เป้าหมายใด เวลาลงมือเขียนจริงๆ ก็จะไม่ต้องเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมายของตนเอง การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยนั้น นิยมเขียนแยกเป็นข้อๆ โดยขึ้นต้นค าว่า “เพื่อ
…” โดยแต่ละข้อต้องสัมพันธ์กันและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ มุ่งไปสู่การตอบปัญหาการวิจัย
เหมือนกัน
4. ปัญหาการวิจัย / คำถามวิจัย
การเขียนปัญหาที่ต้องการทราบหรือต้องการตอบ คือ การเขียนระบุลงไปให้ชัดเจนว่า งานวิจัยเรื่องนั้นต้องการตอบปัญหาอะไร ส่วนใหญ่ปัญหาการวิจัยจะมีอยู่แล้วในความเป็นมาและ
ความสำคัญของปัญหา แต่ที่แยกออกมาเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหาก เพื่อเน้นให้เห็นปัญหาเด่นชัดมากยิ่งขึ้น
5. ขอบเขตการวิจัย (ถ้ามี)
การเขียนขอบเขตการวิจัย คือ การเขียนระบุว่างานวิจัยเรื่องนั้นๆ จะศึกษาภายในขอบเขตกว้างแคบแค่ไหนเพียงไร จะเก็บข้อมูลจากเอกสารหรือจากกลุ่มประชากรกว้างแคบแค่ไหน การระบุ
ขอบเขตการวิจัย มีประโยชน์ในแง่ที่ทำให้เราเก็บข้อมูลได้อย่างครอบคลุมภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ ส่วนข้อมูลนอกนั้น ถือว่าไม่ได้อยู่ในขอบข่ายแห่งการศึกษาของเรา เช่น เราเขียนขอบเขตไว้ว่า จะ
ศึกษาเรื่องกรรมเฉพาะในพระไตรปิฎก เราก็เก็บข้อมูลเรื่องกรรมเท่าที่มีในพระไตรปิฎก 45 เล่ม เท่านั้น ไม่ต้องไปเก็บจากคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น คัมภีร์รุ่นอรรถกถา ฎีกา เป็นต้น อุปมาเหมือนเราขีด
วงกลมบนผืนทรายแล้วเก็บเมล็ดทรายเฉพาะภายในวงกลมที่เราขีดไว้เท่านั้น
ขอบเขตการวิจัย จึงเป็นการก าหนดกรอบหรือระบุขอบเขตของการวิจัยว่า จะท าการศึกษากว้างขวางเพียงใด ครอบคลุมถึงเรื่องอะไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัยไม่ศึกษานอกขอบเขต แต่ให้
ศึกษาเฉพาะหน่วยที่วิจัยเท่านั้น ซึ่งอาจแบ่งขอบเขตที่ศึกษาได้ดังนี้
5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา เขียนแสดงให้เห็นถึงขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องการศึกษาว่า ต้องการก าหนดแค่ไหน อย่างไร ซึ่งถือว่า เป็นข้อตกลงเบื้องต้นของวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นๆ
5.2 ขอบเขตด้านตัวแปร
– งานวิจัยเชิงคุณภาพ ควรระบุตัวแปรที่ศึกษาไว้อย่างกว้างๆ และแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของตัวแปรแต่ละกลุ่ม
– งานวิจัยเชิงปริมาณ ควรระบุตัวแปรที่ศึกษาให้ชัดเจน เช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและ/หรือ ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
– งานวิจัยแบบผสม ควรระบุทั้งตัวแปรเชิงคุณภาพและตัวแปรเชิงปริมาณให้ชัดเจนทั้ง
สองส่วน
– การกำหนดขอบเขตด้านตัวแปร ควรค านึงถึงการทบทวนเอกสารและงานวิจัยด้วยว่า
ตัวแปรแต่ละตัว สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีหรืองานวิจัยของใคร
ขอบคุณข้อมูลดีๆ
- SPSS
- EVIEW
- STATA
- AMOS และ
- LISREL
- รับทำวิทยานิพนธ์
- คู่มือการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์
- How to wrirte a good research proposal

ปรึกษาการทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ โดยทีมวิจัย และ ที่ปรึกษา การทำวิทยานิพนธ์ ที่มีความรับผิดชอบที่สุด ทีมนักวิจัย ที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญการทำวิจัย หลายสาขาระดับปริญญาโทขึ้นไป ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 15 ปี ให้คำปรึกษาตั้งแต่ การกำหนดหัวข้องานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การแก้ปัญหาการคัดลอกงานวิจัย การกำหนดกรอบแนวคิดงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ แบบจำลอง การเขียนผลการศึกษา ไปจนถึงการอภิปรายผล และการตีพิมพ์บทความวิจัย