การทำ Assignment

เทคนิค การทำAssignment ให้ประสบความสำเร็จ

แนวคิดพื้นฐาน หลักการ การทำAssignment

การทำAssignment มีเทคนิค เช่นเดียวกันกับการทำรายงานวิจัย การทำ coursework เพียงแต่อาจจะมีองค์ประกอบต่างๆ ใน assignment ที่ไม่สมบูรณ์แบบเหมือนกับการทำวิจัย หรือ การทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอแนวทาง ไอเดีย และเทคนิค การทำ assignment ให้ประสบความสำเร็จ ได้ในเวลาที่กำหนด 

การทำassignment รับทำassignment
การทำassignment รับทำassignment

การทำรายงาน Coursework Assignment ให้ประสบความสำเร็จ คือ สามารถส่งรายงานได้ทันเวลาและมีคุณภาพดี A+ ได่ไม่ยาก มีดังนี้

1. ตั้งเป้าหมาย

ตั้งเป้าหมาย และ มุ่งเน้นในเรื่องของความสำเร็จของ Assignment   โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่ได้รับมอบหมายให้ทำรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้ทำรายงานจะต้องบริหารเวลาของการทำรายงานในแต่ละขั้นตอนให้ดี เพื่อให้รายงานสามารถทำได้สำเร็จลุล่วงภายในเวลาที่กำหนด การตั้งเป้าหมายดังกล่าว อาจจะแบ่งตามความสำเร็จของรายงาน เช่น หากรายงานประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วน ผู้ทำรายงานจะต้องพิจารณาเบื้องต้นว่าเนื้อหาในแต่ละส่วนควรจะต้องสำเร็จในระยะเวลาเท่าใด การตั้งเป้าหมายดังกล่าวเพื่อทำให้เรามีเป้าหมาย และมีความกดดันเล็กน้อย ทำให้ตื่นตัว ไม่เฉื่อยฉา หรือ ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และควรดำเนินการตามแผนระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยอาจจะมีความยืดหยุ่นได้บ้าง แต่ไม่ควรล่าช้ามากเกินไปนัก เนื่องจากจะทำให้รายงานอาจไม่เสร็จทันเวลา หรือคุณภาพของรายงานไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น

2. รูปแบบน่าเชื่อถือ

Assignment   ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่หรืออยู่ในการศึกษาระดับใด แต่ก็จัดเป็นผลงานทางวิชาการประเภทหนึ่ง ซึ่งควรให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือ ทั้งความน่าเชื่อถือของเนื้อหาสาระที่ใช้ในการเขียนและเรียบเรียง รวมไปถึงส่วนประกอบสำคัญอื่นๆ ตั้งแต่ปกรายงาน ไปจนถึงการจัดรูปแบบ ขนาดและ Font ของอักษร สิ่งต่างๆเหล่านี้ ควรทำในรูปแบบของงานวิชาการทั่วไป ซึ่งอาจอ้างอิงหรือดูได้จากรายงาน บทความ

ไปจนถึงงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ประเภทต่างๆ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเขียนและการกำหนดรูปแบบต่างๆ ภายในเล่มได้เป็นอย่างดี ควรถือหลักเกณฑ์ที่ว่า เนื้อหาสาระดี รูปแบบการนำเสนอที่น่าเชื่อถือ มีคุณค่ามากกว่าการคิดค้นสิ่งสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น การออกแบบหน้าอกสวยงามหวือวา หรือการเลือก font ตัวอักษรที่วิจิตรบรรจง สิ่งต่างๆ เหล่านี้หากมีมากเกินไปหรือไม่ตรงกับรูปแบบที่สถาบันการศึกษานั้นๆกำหนดนอกจากจะไม่ได้คะแนนเพิ่ม ยังทำให้เราเสียเวลา และถูกอาจหักคะแนนได้ด้วย
3. หัวข้อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ในกรณีที่ต้องทำ Assignment  โดยที่ได้รับมอบหมายให้ทำรายงานโดยไม่ได้ระบุหัวข้อมาด้วย แต่เปิดโอกาสให้ผู้ทำรายงานเป็นผู้คิดชื่อหัวข้อรายงานนั้นๆ เช่น ให้ทำรายงานเกี่ยวกับความขัดแย้งของจีนและสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องมาจากผู้นำระดับสูงของประเทศสหรัฐอเมริกาเดินทางเยือนผู้นำไต้หวันอย่างเป็นทางการ สมมติได้รับมอบหมายให้ทำรายงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้

ผู้ทำรายงานอาจกำหนดชื่อหัวข้อให้มีความเฉพาะเจาะจงหรือแคบลงไป เพื่อให้การกำหนดขอบเขตของการทำรายงานมีความชัดเจนและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น เช่น อาจตั้งชื่อหัวข้อรายงานให้ดูน่าสนใจและอยากอ่าน การนำเสนอรายงานของเรา เช่น อาจจะกำหนดชื่อหัวข้อรายงานว่า

“ขิงก็ราข่าก็แรง :สหรัฐและจีนกับความขัดแย้งนโยบายจีนเดียวและไต้หวัน”

การตั้งชื่อหัวข้อรายงานเช่นนี้ ย่อมทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่อยากที่จะอ่านเนื้อหา การเรียบเรียง และการสรุปเนื้อหาที่เรานำเสนอในแง่มุมหรือประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ กับเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ตรวจหรือพิจารณารายงานของเรา เช่น อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ที่ปรึกษา อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำเสนอหัวข้อรายงานดังกล่าวนี้กับบุคคลต่างๆ เหล่านี้ในเบื้องต้น เพื่อให้พิจารณาอนุมัติเห็นชอบหรือไม่อย่างไร เพื่อให้สามารถทำรายงานฉบับเต็มต่อไปได้

4. สามารถคาดการณ์หลักเกณฑ์การพิจารณาคะแนนAssignment 

เทคนิคข้อนี้ พูดง่ายๆ คือ ผู้ทำAssignment  จะต้องทราบความชอบหรือความถนัดของผู้ตรวจและให้คะแนนรายงาน นั่นคือ อาจารย์ประจำวิชา รวมไปถึงคณะกรรมการที่เป็นผู้ตรวจรายงานของเราด้วย เช่น รายงานชิ้นนี้ เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ยุโรป อาจต้องทบทวนความจำหรือสืบค้นย้อนหลังไปว่าอาจารย์ หรือคณะกรรมการที่ตรวจรายงานของเรานั้น มีความถนัดหรือเคยเขียนรายงาน บทความวิชาการ หรือบทความวิจารณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุโรป หรือไม่ อย่างไร?

เช่น มีความชำนาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของรัสเซีย หรือประเทศใด และในเรื่องใดเป็นพิเศษ เพื่อทำให้เราสามารถนำเสนอเนื้อหาที่ผู้พิจารณางานมีความรู้และความชำนาญในรายงานชิ้นนั้น ซึ่งนอกจากจะทำให้สามารถได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง เหมาะสม และตรงกับความต้องการของผู้พิจารณาตรวจรายงานของเราแล้ว ยังอาจได้รับคะแนนพิเศษคือทำถูกใจ ถูกกับความชอบและความถนัดของอาจารย์หรือกรรมการที่พิจารณาตรวจรายงานของเราอีกด้วย
5. เนื้อหากระชับ
โดยทั่วไปรายงานจะมีเนื้อหาการนำเสนอที่น้อยกว่าเอกสารและผลงานวิชาการประเภทอื่น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยระดับสูงเต็มรูปแบบ อาทิเช่น ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัยของหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งผลงานวิชาการเหล่านี้จะมีเนื้อหาที่ค่อนข้างละเอียด มีเนื้อหาและความซับซ้อนมากกว่ารายงาน อย่างไรก็ตาม การเขียนรายงานจะต้องมีเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นหรือมิติ องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับหัวข้อรายงานชิ้นนั้น

โดยทั่วไป รายงานที่มีคุณภาพ อาจมีจำนวนหน้า ประมาณ 10 – 20 หน้าโดยไม่รวมบรรณานุกรม เครื่องมือ (เช่น แบบสอบถาม) หรือภาคผนวกอื่นๆ ซึ่งในจำนวนหน้าดังกล่าวนี้ ผู้ทำรายงานจะต้องมีการเรียบเรียงเนื้อหาที่ถูกต้องและมีคุณภาพ กล่าวคือ มีการเขียนเนื้อหาเรียบเรียงที่มา ที่ไป หลักเกณฑ์ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี รวมถึงบริบทของสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อให้สามารถนำไปสู่ผลของการศึกษาในรายงานได้อย่างน่าเชื่อถือ

6. รายการอ้างอิงสำคัญมาก
นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับการเรียบเรียงเนื้อหาที่ถูกต้อง ครบถ้วน กระชับ ได้ใจความแล้ว สิ่งที่ทำให้รายงานเป็นรายงาน หรือเป็นผลงานวิชาการที่น่าสนใจและได้รับการยอมรับ มีความน่าเชื่อถือ นั่นคือ การอ้างอิงแหล่งที่มา หรือ รายการอ้างอิง ที่เชื่อถือได้ สำหรับการใช้ในการเขียนหรือเรียบเรียงเนื้อหาในเล่มรายงานนั่น

ซึ่งโดยทั่วไปการทำรายงานที่ไม่ต้องยึดหลักความสมบูรณ์แบบของเนื้อหาในระดับเดียวกับดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ทำรายงานจะเพิกเฉยหรือไม่ให้ความสำคัญกับการอ้างอิงแหล่งที่มา หรือ รายการอ้างอิง และเป็นไปไม่ได้ที่การทำรายงาน 1 เล่ม จะสามารถเขียนเนื้อหาออกมาได้จนสำเร็จเป็นรูปเล่มได้โดยปราศจากการอ้างอิง เพราะการไม่มีรายการอ้างอิง เท่ากับผู้ทำรายงานชิ้นนั้นเป็นผู้คิดค้นเนื้อหาเหล่านั้นมาด้วยตนเองทั้งหมด ซึ่งเป็นการเกินความสามารถของผู้ทำรายงานไปมาก ทำให้รายงานไม่น่าเชื่อถือ นอกจากจะได้คะแนนไม่ดีแล้ว อาจเลวร้ายถึงขั้นไม่ให้ผ่านได้ด้วย
7. ส่งAssignment  ในเวลาที่กำหนด
องค์ประกอบ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ถึง ขั้นตอนที่ 7 จะกลายเป็นเรื่องสูญเปล่าทันที หากไม่สามารถส่งหรือนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ให้สามารถส่งได้ทันกำหนดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำรายงานได้มีคุณภาพมากแค่ไหนก็ตาม ทำตามองค์ประกอบอย่างถูกต้องสวยงามสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ถึง   7 แต่หากทำส่งไม่ทันเวลา นอกจากจะถูกหักคะแนนมากแล้ว ยังอาจถูกปรับตกไปเลยก็เป็นไปได้ เนื่องจากการส่งงานตามกำหนดเวลา ถือเป็นความรับผิดชอบขั้นพื้นฐาน หรือเงื่อนไขจำเป็นของการทำงานทุกประเภท

อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นหรือมีเหตุให้ต้องส่งรายงานล่าช้า ผู้ทำรายงานควรต้องแจ้งให้อาจารย์ประจำวิชา หรืออาจารย์ผู้สอน ทราบแต่เนิ่นๆ ว่าตนกำลังประสบกับปัญหาอะไร อย่างไรบ้าง และจะต้องใช้เวลาในการแก้ไขมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากมีเหตุผลเพียงพอ อาจไม่ถูกปรับลดคะแนน แต่อย่างไรก็ตาม ควรต้องส่งงานตามกำหนดเวลา ยกเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยจริงๆ เท่านั้น

 

 

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ การทำassignment
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ การทำassignment

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. รับทำวิทยานิพนธ์

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย