การทำแบบสอบถาม(Questionnaire) การสร้างแบบสอบถาม
แนวคิด เทคนิค วิธีการ การทำแบบสอบถาม เพื่องานวิจัย วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์
การทำแบบสอบถาม หรือ การสร้างแบบสอบถาม เป็นขั้นตอนสำคัญของการทำวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจ (Survey) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือสำหรับการทำวิจัยประเภทนี้ด้วยแบบสอบถาม การสร้างแบบสอบถามเพื่อการวิจัยรูปแบบนี้จึงมีความสำคัญต่อ คุณภาพของงานวิจัย แบบสอบถาม คือเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ที่ใช้กันทุกสาขา
รวมถึงงานวิจัยทางการแพทย์ สาธารณสุข วิศวกรรมศาสตร์ หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด และ พฤติกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา คุณภาพของแบบสอบถาม จึงเป็นปัจจัยและองค์ประกอบสำคัญของการทำวิจัย ไม่ต่างจากกระบวนการในขั้นตอนอื่นๆ เช่น เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล การทบทวนวรรณกรรม และการสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดงานวิจัย เป็นต้น
แบบสอบถาม เป็นรูปแบบของคำถามเป็นชุดๆที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต แบบสอบถามประกอบด้วยรายการคำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ การใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น การสร้างคำถามเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้วิจัย เพราะว่าผู้วิจัยอาจไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายความหมายต่างๆของข้อคำถามที่ต้องการเก็บรวบรวม
แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก เพราะการเก็บรวมรวมข้อมูลสะดวกและ ามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถท าได้ด้วยการสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง หรือให้ผู้ตอบตอบด้วยตนเอง
หลักการสำคัญของ การทำแบบสอบถาม การสร้างแบบสอบถาม
1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ตอบ
3. ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ
4. แต่ละความถามควรมีนัย เพียงประเด็นเดียว
5. หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อน
6. ไม่ควรใช้คำย่อ
7. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมาก
8. ไม่ชี้นำการตอบให้เป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
9. หลีกเลี่ยงคำถาม ที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ
10. คำตอบที่มีให้เลือกต้องชัดเจน และครอบคลุมคำตอบที่เป็นไปได้
11. หลีกเลี่ยงคำที่สื่อความหมายหลายอย่าง
12. ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนมากเกินไป ไม่ควรให้ผู้ตอบใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามนานเกินไป
13. ข้อคำถาม ควรถามประเด็นที่เฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายของการวิจัย
14. คำถามต้องน่าสนใจ สามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากตอบ
ขั้นตอนการทำแบบสอบถาม
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถาม
2. ระบุเนื้อหาหรือประเด็นหลักที่จะถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน
3. กำหนดประเภทของคำถาม โดยอาจจะเป็นคำถามปลายเปิดหรือปลายปิด
4. ร่างแบบสอบถาม โครงสร้างแบบสอบถามอาจแบ่งเป็น ขั้นตอน หรือ แบ่งเป็นส่วน เช่น
4.1 ข้อมูลเบื้องต้น/ข้อมูลทั่วไป
4.2 ข้อมูลหลักเกี่ยวกับเรื่องที่จะถาม
4.3 ข้อเสนอแนะ
5. ตรวจสอบข้อคำถาม ว่าครอบคลุมเรื่องที่จะวัดตามวัตถุประสงค์หรือไม่
6. ให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหาและภาษาที่ใช้
7. ทดลองใช้แบบสอบถามเพื่อดูความเป็นปรนัย ความเชื่อมั่นและเพื่อประมาณเวลาที่ใช้
8. ปรับปรุงแก้ไข
9. จัดพิมพ์และทำคู่มือ
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ แบบสอบถาม
เมื่อได้สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลแล้วเครื่องมือต้องมีคุณภาพที่ดี เพื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมวิเคราะห์
แล้วน าเสนอข้อมูลมีความน่าเชื่อถือเมื่อน าไปใช้เพื่อการตัดสินใจผิดพลาดน้อยที่สุด คุณภาพของเครื่องมือ
รวบรวมพิจารณาคุณลักษณะ ดังนี้
1. ความเที่ยงตรง (Validity)
2. ความเชื่อมั่น (Reliability)
3. ความยากง่ายและอ านาจจำแนก (Difficulty and Discrimination)
4. ความเป็นปรนัย (Objectivity)
5. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
6. ความไว (Sensitivity)
7. ความเป็นมิติเดียว (Unidimensionality)
8. ความง่ายในการใช้ (Simplicity)
โครงสร้างที่ควรมีของแบบสอบถาม
1. คำนำ ชี้แจงวัตถุประสงค์ คำนำ หรือการชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยส่วนมากมักจะอยู่ส่วนแรกสุดของแบบสอบถาม จะเป็นการระบุถึงจุดประสงค์ของการทำแบบสอบถามชุดนั้น ๆ การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ อธิบายลักษณะของแบบสอบถามที่จะต้องทำ หรือเป็นการอธิบายขั้นตอนการทำแบบสอบถาม ซึ่งบางแบบสอบถาม จะมีการใส่ข้อความที่ทำให้ผู้ทำแบบสอบถามมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบลงในแบบสอบถาม จะถูกเก็บเป็นความลับและจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ทำแบบสอบถาม เป็นเหมือนการคุ้มครองสิทธิ์ส่วนบุคคล
2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเท่าที่จำเป็น คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเท่าที่จำเป็น คือชุดคำถามแรกสุดในแบบสอบถาม เพื่อทำการรู้ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของผู้ทำแบบสอบถามก่อน เช่น เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น
โดยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวนี้ อาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือในการนำแบบสอบถามมาใช้งาน ซึ่งผู้ออกแบบสอบถามต้องคำนึงถึงตัวแปรที่สนใจจะศึกษานั้นมีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และควรถามเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นในการวิจัยเท่านั้น
3. คำถามเกี่ยวกับสิ่งที่วัดผล เป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามหรือการทำวิจัยของคุณ ซึ่งแนะนำว่าควรมีทั้งการถามคำถามแบบคำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด เพื่อให้ได้ข้อมูลของการวิจัยอย่างครบถ้วน
หลักการสร้างแบบสอบถาม
- ตั้งเป้าหมาย วัดตุประสงค์ที่ชัดเจน – เป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มออกแบบสอบถาม ควรระบุให้ชัดเจนเลยว่าแบบสอบถามนี้ มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ต้องการใช้เพื่อการนำไปทำอะไรต่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความสับสนแก่ผู้ทำแบบสอบถาม
- กำหนดรูปแบบของคำถาม – ต้องการทราบข้อมูลอะไรบ้าง และนำสมมติฐานเหล่านั้นมาสร้างเป็นคำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม และควรกำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนนี้เลยว่าคำถามข้อไหน จะใช้การถามเป็น คำถามปลายเปิด หรือ คำถามปลายปิด
- กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม – ใช้ภาษาที่เป็นทางการ มีความเป็นสากลในการเข้าใจและรับสาร หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อหรือภาษาพูด ที่จะทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเกิดความเข้าใจผิดได้ เพื่อให้ผู้ทำแบบสอบถาม สามารถอ่านคำถามได้อย่างเข้าใจ
- การร่างแบบสอบถาม – การสร้างคำถามให้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการมีคำถามในแบบสอบถามที่นอกประเด็น และควรครอบคลุมเรื่องที่ทำวิจัย โดยมีจำนวนข้อคำถามที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป
- วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม – เป็นการนำแบบสอบถามที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ เพื่อนำ Feedback มาตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม หรือแก้ไขในกรณีที่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก่อนนำไปแจกแบบสอบถามให้กลุ่มเป้าหมายจริงได้ทำ
- ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์ – ตรวจเช็กแบบสอบถามอีกรอบ ปรับปรุงสิ่งที่ยังเป็นข้อผิดพลาดของแบบสอบถามให้หมด เพื่อความชัดเจนของแบบสอบถาม เป็นเหมือนการตรวจเช็กครั้งสุดท้ายก่อนนำแจกจ่ายเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำจริง
- จัดพิมพ์แบบสอบถาม – จัดพิมพ์หรือเผยแพร่แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น แนะนำ QR Code, ส่งอีเมล ให้ผู้ทำสแกนเข้าไปทำแบบสอบถามออนไลน์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองทำแบบสอบถามจริง เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัดการใช้ช่องทางออฟไลน์แบบเดิม
รูปแบบของคำถาม ของแบบสอบถาม
1. คำถามปลายเปิด คำถามปลายเปิด คือรูปแบบสอบถาม ที่ให้ผู้ทำสามารถเสนอคำตอบได้อย่างอิสระ โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ มากำหนดการตอบคำถาม ซึ่งรูปแบบ คำถามปลายเปิด แม้จะทำให้ได้คำตอบจากผู้ทำแบบสอบถาม ที่เป็นคำตอบจากความคิดของผู้ทำแบบสอบถาม แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ คำตอบที่ได้มักจะไม่ตรงประเด็นสูง ดังนั้นผู้ออกแบบสอบถาม จำเป็นต้องกำหนดตัวคำถามให้มีความเจาะจงเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้คำตอบของผู้ทำมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน เหมาะสำหรับการวิจัยที่ต้องการทราบความต้องการส่วนตัว ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการทราบจากการทำแบบสอบถาม
2. คำถามปลายปิด คำถามปลายปิด คือรูปแบบคำถาม ที่เราสามารถกำหนดคำตอบได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ตอบสามารถเลือกคำตอบได้โดยทันที เป็นคำถามแบบที่มีช้อยส์ให้เลือก เป็นรูปแบบคำถามที่เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมาก เพื่อให้ได้คำตอบส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่หลงประเด็น ได้คำตอบที่สามารถนำมาแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ วิเคราะห์ วัดผลข้อมูลต่อได้ง่าย เหมาะสำหรับการทำวิจัยที่ต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายในเชิงพรรณาหรือข้อมูลด้านสถิติตัวเลข เป็นรูปแบบคำถามที่มักจะใช้ในแบบสอบถามอย่างเป็นสากล
ความสำคัญของการสร้างแบบสอบถาม
- เป็นเครื่องมือในการวิจัยทุกรูปแบบ แบบสอบถาม จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกงานวิจัย ทั้งในเรื่องของการศึกษา และการทำธุรกิจ ช่วยให้คุณสามารถเข้าใจความเป็นมา พฤติกรรม ข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เป็นเหมือนขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด หากคุณต้องทำการวิจัย
- เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ในแง่มุมธุรกิจ แบบสอบถาม ถือว่ามีความสำคัญมากเพราะจะทำให้ธุรกิจของคุณได้เข้าถึงตัวลูกค้า กลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ทำให้ธุรกิจได้ล่วงรู้ความชอบ ความต้องการ สิ่งที่คาดหวัง สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ รวมถึงทุกสิ่งที่ต้องการทราบจากกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลที่ธุรกิจได้จากการทำแบบสอบถาม ก็จะสามารถมาต่อยอดพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ต่อไปในอนาคต
- ช่วยในการทำการตลาดของธุรกิจได้อย่างรอบด้าน สำหรับการทำวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถาม ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นหนึ่งในการเริ่มต้นที่ขาดไม่ได้ เพราะนอกจากจะทำให้ธุรกิจได้รู้ถึงข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งหมด สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง รวมถึงข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่ต้องการให้ธุรกิจของคุณปรับปรุง และช่วยทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
ข้อดีและข้อเสียของแบบสอบถาม
ข้อดีของแบบสอบถาม
– เก็บรวบรวมข้อมูลจากคนจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการทำธุรกิจ ทำวิจัยได้ดี
– ช่วยลดการบันทึกข้อมูลคำตอบที่ผิดพลาดได้ดีกว่าการสัมภาษณ์
– ถ้ามีการทำแบบสอบถามที่ดี จะช่วยประมวลผลได้สะดวก
– ใช้แบบสอบถามออนไลน์ ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แบบสอบถามที่เป็นแบบออฟไลน์
– ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์
ข้อเสียของแบบสอบถาม
– ใช้ระยะเวลาในการร่างคำถามและรอผลลัพธ์
– บางคนมีประสบการณ์เกี่ยวกับแบบสอบถามที่ไม่ดีมาก่อน จึงไม่อยากตอบบางคำถามลงในแบบสอบถาม
– แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะผู้ที่อ่านหนังสือออกเท่านั้น
– ถ้ามีคำถามเยอะ ก็ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และสรุปผลนาน
– ถ้าผู้ทำแบบสอบถามไม่เข้าใจคำถามไม่ตอบคำถามบางข้อ ก็จะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย การสร้างแบบสอบถาม รับเก็บแบบสอบถาม