การทำวิจัยในชั้นเรียน
เทคนิค การทำวิจัยในชั้นเรียน รับทำวิจัยในชั้นเรียน ปรึกษาการทำวิจัยชั้นเรียน วิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร วิจัยการเรียนการสอนเป็นการทำวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพของทรัพยากรที่สำคัญของประเทศคือ “เด็ก”
การทำวิจัยในชั้นเรียน มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาประเทศมีรากฐานมาจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องเริ่มสร้างตั้งแต่ยังเด็ก การเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยมศึกษา จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการจัดการเรียนการสอน ที่ถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นที่มาของการทำวิจัยชั้นเรียน เป็นเครื่องมือสำคัญของการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งกระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ยิ่งต้องทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์คือเด็ก หรือเด็กนักเรียน นอกจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดทำหลักสูตรปกติแล้ว ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่กระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพของทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน
การทำวิจัยในชั้นเรียน ถือได้ว่าาเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์และสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ถือได้ว่าเครื่องมือที่ครูอาจารย์ผู้สอนสามารถใช้เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน และนำไปสู่การพัฒนาวิธีการเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตลอดจนสามารถเผยแพร่ความรู้เทคนิควิธีการแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยได้คิดค้นและทดลองแล้วนั้นให้กับครูอาจารย์อื่นๆ ได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนได้ตามความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในวงกว้างต่อไป
การทำวิจัยในชั้นเรียน มีความแตกต่างจากการทำวิจัยทั่วไปหรือไม่ อย่างไร?
การวิจัยในชั้นเรียนต้องอาศัยองค์ประกอบและทักษะของการทำวิจัยทั่วไป กล่าวคือ เป็นการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ
- การกำหนดปัญหาการวิจัย
- การแสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา
- การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา
- การบันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา
- การสรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา
อย่างไรก็ตาม การวิจัยในชั้นเรียน จะมีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือขยายองค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วหากครูมีความรู้ความสามารถและความตั้งใจทุ่มเท จะสามารถทำได้ถึงขั้นนี้ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา
ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการทำวิจัยไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนการสอนไม่แยกส่วนออกจากกัน นอกจากนั้นการวิจัยในชั้นเรียนไม่มีรูปแบบการดำเนินงานหรือรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยที่เป็นทางการมากนัก อาจจะทำเป็นวิจัยง่ายๆ 4-5 หน้า หรือจะทำเป็นงานวิจัย 5 บท ก็ได้เช่นกัน
กระบวนการ การทำวิจัยในชั้นเรียน
กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนที่จะนำเสนอนี้หากท่านลองฝึกคิด และทำตามไปทีละขั้นเชื่อมั่นว่าท่านจะได้งานวิจัย
1. เลือกปัญหาการวิจัย ปัญหาที่นำมาใช้ในการวิจัยพิจารณาได้จาก
· ปัญหาที่เกิดกับตัวนักเรียน อาจจะเป็นปัญหาพฤติกรรม หรือ ปัญหาการเรียนรู้ ซึ่งครูสามารถค้นหาปัญหาเหล่านี้จากบันทึกท้ายแผนการสอน บันทึกผลการเรียน พอร์ตโฟลิโอ การสังเกต การพูดคุยกับเพื่อนครู ฯลฯ และ ข้อขัดข้อง ระหว่างการจัดการเรียน การสอน อาจจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม กระบวนการสอนของครู หรือการวัดประเมินผล เป็นต้น รวมถึง ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง จากความต้องการของครูที่จะพัฒนาคุณภาพการสอนให้ดียิ่งขึ้น
ในขั้นนี้ท่านอาจจะพบปัญหาหลายปัญหาซึ่งในการเลือกปัญหามาทำวิจัยนั้นควรเป็นปัญหาที่มีความสำคัญส่งผลต่อการเรียนรู้และความสำเร็จของนักเรียน เป็นปัญหาที่มีความต่อเนื่องคือถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องอื่นๆ ตามมา เป็นปัญหาที่วิธีการเดิมๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือครูสามารถดำเนินการวิจัยได้ด้วยตนเอง
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน
สำหรับปัญหาที่ผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนควรเลือกนำมาศึกษาวิจัย ต้องศึกษาสภาพให้ละเอียดลงไปอีกว่ามีสภาพปัจจุบันของการเรียนการสอนในชั้นเรียเป็นอย่างไร มีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไรบ้าง และ ปัญหาเกิดขึ้นกับเด็กทั้งหมดหรือเกิดขึ้นเฉพาะเด็กบางกลุ่มหรือบางกลุ่ม
3. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
สำหรับในส่วนของการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหานั้น ผู้วิจัยจะต้องทำการพิจารณาให้รอบด้านในทุกมิติ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาหรือทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เช่น สาเหตุอาจมาจากตัวผู้สอนเอง หรือเกิดจากนักเรียน รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพื่อน ผู้ปกครอง สภาพครอบครัว เป็นต้น ซึ่งวิธีการที่จะค้นหาสาเหตุ คือ ใช้การสังเกต พูดคุยกับนักเรียน ดูจากผลงานของนักเรียน ใช้การทดสอบ
การสอบถามพูดคุยกับเพื่อนครู ผู้ปกครอง ฯลฯ จากตัวอย่างในข้อ 2 เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่าสาเหตุอาจมาจากนักเรียนอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ไม่คล่อง นักเรียนได้รับการฝึกฝนไม่เพียงพอหรือการสอนของครูทำให้นักเรียนไม่สนใจการเรียนรู้ เป็นต้น
4. การหาแนวทางแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
เมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการที่แล้ว ครูจะสามารถทราบว่าการทำวิจัยมีเป้าหมายอะไร โดยหากเป็นการวิจัยเพื่อมุ่งพัฒนาการเรียนรู้ ถ้าวิจัยเพื่อมุ่งแก้ปัญหาของนักเรียนบางคน หรือบางกลุ่มจัดเป็นการวิจัยแก้ปัญหา เช่นปัญหาที่เกิดขึ้นคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตกต่ำลง การทำวิจัยอาจมุ่งเน้นเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของชั้นเรียน เนื่องจากมีผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยต่ำ
วิธีการที่ใช้ในแต่ละเป้าหมายอาจจะแตกต่างกัน ในการหาแนวทาง หรือ วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถ ใช้การสังเกต แล้วเชื่อมโยง กับ ปัญหาและสาเหตุของปัญหา เช่น สังเกตว่าเวลาที่นักเรียนไปเรียนนอกห้องเรียนแล้วมีความสุข ครูอาจจะใช้วิธีเรียนคณิตศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้แก้ปัญหานักเรียนไม่สนใจเรียนรู้ เป็นต้น หรืออาจจะหาแนวทางจากการศึกษางานวิจัยของผู้อื่นแล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน
5. การกำหนดชื่อเรื่องวิจัย คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและถูกต้องต่อการดำเนินการวิจัย จึงต้องกำหนดชื่อเรื่องวิจัย คำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย โดยมีหลักการ ดังนี้
5.1 ชื่อเรื่องวิจัย ผู้วิจัยควรระบุให้ชัดถึงเรื่องที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย และ วิธีที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนา เช่น การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ด้านการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่1/1 เป็นต้น
5.2 การตั้งหรือสร้างคำถามวิจัย กำหนดคำถามนำทางเพื่อให้การดำเนินงานสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการคำถามวิจัยกำหนดได้มากกว่า 1 ข้อ เช่น
- การเสริมพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษและทักษะการคำนวณอย่างเป็นระบบทำได้อย่างไร
- นักเรียนมีปฏิกิริยาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะด้านการคำนวณอย่างเป็นระบบนอกเวลาเรียนอย่างไร
- การเสริมพื้นฐานความรู้อย่างเป็นระบบสามารถ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และ ความสนใจในการเรียนรู้ ของนักเรียนมากน้อยเพียงใด และอย่างไร
5.3 วัตถุประสงค์การวิจัย ผู้วิจัยจะต้องสามารถวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการทำวิจัย โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัยว่าต้องการทำวิจัยเพื่ออะไร เช่น เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมพื้นฐานความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์อย่างเป็นระบบ และ เพื่อแก้ปัญหานักเรียน 20 คน ที่ขาดความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และทักษะการคำนวณโดยใช้กระบวนการเสริมพื้นฐานความรู้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น
6. การวางแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
สำหรับในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนของการวางแผน ซึ่งผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน จะต้องเขียนให้สามารถมองเห็นภาพของการดำเนินงาน อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะระบุประเด็นต่อไปนี้
เครื่องสำหรับการวิจัย จะต้องระบุ ทั้งเครื่องมือที่ใช้ใน การแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ เช่น แผนการสอน แผนการแก้ปัญหาโดยการสอน ซ่อมเสริม และ สื่อการเรียนการสอน เป็นต้น และ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ เป็นต้น ซึ่งการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งเป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณจะต้องคำนวณประสิทธิภาพของเครื่องมือ
· การเก็บรวบรวมข้อมูล ให้ระบุว่าจะใช้เครื่องมือใด เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาใด และเก็บอย่างไร
7. ลงมือปฏิบัติตามแผน เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
จากขั้นที่ 1-6 ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงสร้างหรือนโครงร่างของการวิจัย จากนั้นผู้วิจัยจึงดำเนินการตามแผน และเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีสถิติต่างๆ เพื่อเข้ามาคำนวณและทดสอบสมมติฐานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งการวิจัยในชั้นเรียนส่วนใหญ่ใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับค่า t-test ใช้กับการทำวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างแล้วอ้างอิงไปถึงประชากร ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นการกระทำกับประชากรอยู่แล้วจึงไม่ควรนำ t-test มาใช้
8. การสรุปและอภิปรายผลการวิจัย
การสรุปผลการวิจัยจะต้องสรุปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ อาจจะในรูปตาราง แผนภูมิ แผนภาพ หรือเขียนบรรยาย ส่วนการอภิปรายผลเป็นการกล่าวว่าผลจากการวิจัยเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้อื่นทำไว้หรือไม่ หรือผู้วิจัยมีแนวคิดอะไรเพิ่มเติมจากการทำวิจัยในครั้งนี้บ้าง
9. การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน
การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียนไม่มีรูปแบบที่เป็นทางการเหมือนการวิจัยทั่วไป ดังนั้นอาจจะเขียนบรรยายตามหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น หรือจะใช้รูปแบบที่เป็นทางการตามความคุ้นเคยก็ได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการที่ดำเนินงานไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญๆ เหมือนกับการวิจัยทั่วไป แต่ไม่มีรูปแบบที่เป็นทางการ และการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้เพียงสถิติที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ทราบอย่างนี้แล้วคุณครูคงไม่ต้องวิตกกังวลกับการทำวิจัยในชั้นเรียนอีกต่อไป
ตัวอย่าง หัวข้อ การทำวิจัยชั้นเรียน ที่น่าสนใจ
- งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “พัฒนาการทางสังคม ปลูกฝังค่านิยมและความรับผิดชอบ ” <คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
- งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการใช้ภาพเป็นสื่อ ในการกระตุ้นให้นักเรียน เกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนเรื่อง<คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
- งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการวิเคราะห์ การแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์<คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
- งานวิจัยในชั้นเรียนชื่อเรื่องศึกษาและ แก้ปัญหานักเรียน เขียนภาษาไทย ไม่ถูกต้อง<คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
- งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องส่งเสริมการอ่านสะกดคำ ของนักเรียน<คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
- งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการส่งเสริมการท่องคำศัพท์ในวิชา Social Studies ในเรื่องอาชีพและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน<คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดงานวิจัย>
“ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทั่วไป”
การวิจัยเป็นวิธีการศึกษาหาความรู้ที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการวิจัยประเภทใดก็ตามจะมีขั้นตอนสำคัญๆ ไม่แตกต่างกันคือ
ขั้นตอนแรก คือ การกำหนดปัญหาการวิจัย
ตามมาด้วย การแสวงหาสู่ทางแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 3 คือ การใช้วิธีการต่างๆ แก้ปัญหา
สำหรับขั้นตอนที่ 4 คือ การบันทึกและการปฏิบัติการแก้ปัญหา
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การสรุปและนำเสนอผลการแก้ปัญหา
สำหรับการวิจัยในชั้นเรียนมีขั้นตอนการดำเนินงานเช่นเดียวกันกับการวิจัยทั่วไป แต่ต่างกันที่การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือขยายองค์ความรู้ในศาสตร์ของตนเอง (ซึ่งหากครูสามารถทำได้ถึงขั้นนี้นับว่าเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา) ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการทำวิจัยไปพร้อมๆ กับการจัดการเรียนการสอนไม่แยกส่วนออกจากกัน นอกจากนั้นการวิจัยในชั้นเรียนไม่มีรูปแบบการดำเนินงานหรือรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยที่เป็นทางการมากนัก อาจจะทำเป็นวิจัยง่ายๆ 4-5 หน้า หรือจะทำเป็นงานวิจัย 5 บท ก็ได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม