การทำวิจัยนิเทศศาสตร์
การทำวิจัยนิเทศศาสตร์ หรืองานวิจัยด้านสื่อสารมวลชน เริ่มกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1920 เป็นต้นมา ซึ่งในอดีตมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ตลอดจนอิทธิพลของสื่อในมิติต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลขนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นพัฒนาการของสื่อตลอดจนอิทธิพลของสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ความสำคัญของ การทำวิจัยนิเทศศาสตร์
เทศศาสตร์ถือได้ว่าเป็นสาขาหนึ่งที่มีการมุ่งเน้นโครงการไปที่กิจกรรมการดำเนินการต่างๆ มากกว่าการดำเนินการวิจัย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแนวทางการดำเนินโครงการจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นการผลิตสื่อภาพยนตร์ โฆษณา วิทยุ หรือการสร้างสรรค์รายการได้มีการนำวิจัยเข้ามาใช้ร่วมกับการผลิตสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา ทำให้แนวทางการทำวิจัยสายนิเทศเป็นมากกว่าการเรียนรู้ผลงานวิจัยแล้วจบไป แต่ทำให้แนวทางในระเบียบวิธีมีความหลากหลายมากขึ้น
หัวข้องานวิจัยด้านนิเทศศาสตร์
- การศึกษาสภาพ/ปัญหา/ความต้องการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ
- การศึกษาการใช้บริการ ระบบสืบค้นสารสนเทศ
- การประเมินการใช้งาน และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การศึกษาการพัฒนาฐานข้อมูลดรรชนี
- การวิเคราะห์เนื้อหาวารสาร/หนังสือ/ละคร
- การวิเคราะห์ระบบ การจัดการสารนิเทศ
- การศึกษา การใช้สารสนเทศสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ส่งผลให้สภาพการแข่งขันของสื่อมวลชนในปัจจุบันมีสูง กลุ่มผู้รับสารมีขนาดใหญ่มากขึ้น ระบบการผลิตสื่อมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อการผลิตเนื้อหา การสร้างสรรค์สื่อ และการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงหรือกลุ่มผู้ผลิตสื่อจึงจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่แม่นยำในการลดความเสี่ยง ในการที่จะตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเรื่องใด ๆ ในองค์กร การวิจัยทางด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จึงมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อองค์กรและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการวิจัยที่เกิดขึ้นย่อมสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยสรุปได้ ดังนี้
1. เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเนื่องจากผลการวิจัยทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ระกอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อการวิเคราะห์กลุ่มผู้รับสาร ข้อมูลที่ค้นพบจากการวิจัยเกี่ยวกับผู้รับสารจะทำให้ผู้ผลิตและสร้างสรรค์รายการนำมาพิจารณา เพื่อนำมากำหนดรูปแบบมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้อง
การของผู้รับสารได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
3. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนากระบวนการทำงาน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบอันเนื่องมาจากสื่อ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสื่อจะนำมาใช้เพื่อพิจารณาการทำตามบทบาทหน้าที่ของสื่อ ซึ่งจะช่วยให้การทำหน้าที่ของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ได้ดียิ่งขึ้น
5. เพื่อวิเคราะห์สภาพการแข่งขันด้านสื่อ ข้อค้นพบจากการวิจัยทางด้านสภาพการการแข่งขันของสื่อจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการนำมาพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยีและการวิเคราะห์แนวโน้มการตลาดของสื่อได้
6. เพื่อพัฒนารูปแบบและเนื้อหาให้ตอบสนองความต้องการแก่กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ข้อค้นพบเกี่ยวกับรูปแบบและเนื้อหารายการจะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนารูปแบบ และเนื้อหารายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มที่มีความเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น และลดช่องว่างในการผลิตรายกาสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ อาจมองประโยชน์ของการวิจัยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในภาพกว้างคือผลการวิจัยในทางนิเทศศาสตร์ในมุมมองอื่น ๆ (จินตนา ตันสุวรรณนนท์, 2551 หน้า 26) ดังนี้
1. ในทางทฤษฎี ผลที่ได้จากการวิจัยทางด้านนิเทศศาสตร์ในทางทฤษฎีจะช่วยให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสื่อสารอย่างถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้อธิบาย ตีความ ทำความเข้าใจ และทำนาย หรือพยากรณ์ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องการสื่อสารที่มีอยู่ว่าสามารถนำไปใช้อธิบายเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ในสังคมได้อยู่หรือไม่ ผลของการตรวจสอบจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ในการอธิบายและปรากฏการณ์ทางการสื่อสารต่อไป
2. ในทางปฏิบัติผลที่ได้จากการวิจัยนิเทศศาสตร์จะนำไปสู่การวางแผนการสื่อสาร การกำหนดนโยบายยุทธวิธีการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถระบุถึงปัจจัยที่จะก่อให้เกิดคมสำเร็จ หรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสาร อันจะเป็นแนวทางในการหาแนวทางส่งเสริม และป้องกันการเกิดปัญหาในการสื่อสารต่อไป
การออกแบบการวิจัยนิเทศศาสตร์
การออกแบบการวิจัย (research design) เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้วิจัยได้หัวข้อในการทำวิจัยเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ขั้นตอนของการออกแบบการวิจัยเปรียบเสมือนการออกแบบแปลน ซึ่งผู้วิจัยต้องทำการวางแผนกำหนดรูปแบบของการทำวิจัยของตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา กำหนดวิธีการเลือกกลุ่มประชากร การสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม ตลอดจนการเลือกใช้สถิติเพื่อนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
การออกแบบการวิจัยจะเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้วิจัยกำหนดไว้และยังช่วยให้นักวิจัยทวนสอบกระบวนการในการทำงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การทำวิจัยนิเทศศาสตร์โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อ การแสวงหาคำตอบให้ปัญหา หรือแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ การดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วงจึงจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนการทำงานที่มีขั้นตอน กระบวนการที่ชัดเจน ที่สำคัญการออกแบบการวิจัยที่ดีย่อมนำไปสู่ผลการวิจัยที่มีคุณค่าทั้งต่อผู้วิจัยและหน่วยงานที่สนับสนุนหรือแหล่งทุนอีกด้วย
แนวทางของการวิจัยนิเทศทั่วไป
แนวทางการวิจัยนิเทศทั่วไปเป็นรูปแบบของการดำเนินการวิจัยด้วยการตั้งข้อคำถามของปัญหา สมมติฐานงานวิจัย โดยมีหัวข้อเกี่ยวข้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิเทศในส่วนของภาคทฤษฎี
แนวทางของการนำวิจัยมาใช้พัฒนางานหลัก
เป็นแนวทางที่ต่อยอดจากการดำเนินงานการสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องการทราบข้อมูลบางอย่างโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นแนวทางของการสร้างความสมบูรณ์ในการดำเนินโครงการนิเทศ
แนวทางของการนำวิจัยมาต่อยอดผลงาน
เป็นการที่ภายหลังจากโครงการได้ดำเนินการสร้างสรรค์งานรายการวิทยุ โทรทัศน์ โฆษณา หรืองานการนำเสนอทางนิเทศต่างๆ ออกมาแล้วจะนำมาสู่กระบวนการวิจัยเพื่อหาผลตอบรับจากการดำเนินการสร้างสรรค์หรือนำเสนอขึ้นมา
ภาพรวมของแนวทางในการดำเนินงานวิจัย
การนำงานวิจัยมาใช้ในงานนิเทศจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้การวิจัยให้เข้ากับโครงการนิเทศที่ดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันงานวิจัยมีส่วนทำให้โครงการนิเทศมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
เครื่องมือในการวิจัยทางนิเทศศาสตร์
เครื่องมือในการวิจัยทางนิเทศมีความหลากหลายในการใช้งานโดยแต่ละเครื่องมือสามารถประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
1) เครื่องมือแบบสอบถาม
2) เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
อ้างอิง